student

ถามศิษย์มาเยอะล่ะ ถามครูบ้างว่า ทำไมครูเค้าออกข้อสอบข้อนี้

คำถามที่ 63 ของ สทศ.
คำถามที่ 63 ของ สทศ.

[เหตุ]
พบโพสต์ของ อ.วิริยะ แชร์ข้อสอบ สทศ.ข้อ 63
ประเด็นต้นเรื่องตามลิงค์ ผมไม่ขอพูดถึง
แต่ที่สนใจ และเกิดคำถามเกิดขึ้นในใจผมเอง
ว่า “ครูคิดว่า ข้อสอบแบบนี้ต้องการอะไรจากเด็ก”
ถามสั้น แต่พาดพิงไปถึงวัตถุประสงค์ กระบวนการ และสิ่งที่คาดหวัง
https://www.facebook.com/ajWiriya/photos/a.109418075746852.10885.109357035752956/1146402255381757/

[ก่อนหน้านี้]
มีบทสนทนา “นิทานศิษย์คอม

ศิษย์ .. ทำไมต้องให้เขียนศัพท์
ครู .. ถามทำไมล่ะ
ศิษย์ .. ไม่อยากเขียนครับ ไม่เห็นประโยชน์
ครู .. เรียนอังกฤษ เรียนคอม เรียนไอที ก็ต้องรู้ศัพท์คอม สิครับ
มีหนังสือ “คู่มือ Cyber Security สำหรับประชาชน
ใคร ๆ เค้าก็อ่านกัน มีศัพท์ท้ายเล่ม บทที่ 9 หน้า 206
มี 28 คำ ไปอ่านนะ น่าสนใจ ดาวน์โหลดได้ด้วย
http://www.ebooksdownloadfree.net/2015/09/cyber-security.html
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
เค้าทำแจกทั่วประเทศ เป็นรูปเล่มที่ผมก็มีนะ ได้รับแจกมา
ศิษย์ .. –!
ครู .. ไปอ่านเถอะ ไม่รู้ศัพท์ แล้วจะคุยกันรู้เรื่องเหรอ
นี่ขนาดข้อสอบ TU Star ความรู้ ม.4 ม.5 เค้ายังถามเลยว่า “Zombie” คอมพิวเตอร์คืออะไร
ศิษย์ .. รู้สิ

zombie คือ การเข้าควบคุมเหยื่อระยะไกล
zombie คือ การเข้าควบคุมเหยื่อระยะไกล

+ http://www.thaiall.com/blog/burin/7206/
+ https://www.facebook.com/gatconnectmaster/photos/a.1717807878436670.1073741840.1516128351937958/1717816878435770/
[สรุป]
ทุกปัญหามักมาจากการคิดต่าง (think different)
การคิดต่างมักต่างกันที่ วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ กระบวนการ ผลที่คาดหวัง

– วิสัยทัศน์ = เราจะเป็นที่หนึ่งในอาเซียน
– กลยุทธ์ = พัฒนานักเรียน และครู
– เป้าหมาย = ระบบการศึกษาไทยจะเป็นที่หนึ่งในอาเซียน
– วัตถุประสงค์ = เพื่อยกระดับการศึกษาของเด็กนักเรียน
– กระบวนการ = ปรับหลักสูตรให้สอดรับกับ PIZA สำหรับปีแรก
– ตัวบ่งชี้ (KPI) = คะแนนเฉลี่ยเด็กสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา สำหรับปีแรก

? การศึกษาไทยเป็นแบบนี้รึเปล่า คือ มองเป็นเส้นเดียวกัน คิดและทำเป็นระบบที่มีกลไกเดียวกัน

[ปัญหาการศึกษาไทย]
อ.วิริยะ บรรยายในแนวที่ว่า
“หวังอย่างหนึ่ง ทำอย่างหนึ่ง แล้วจะได้ผลเป็นอย่างที่หวังได้อย่างไร”
นี่คือปัญหาของระบบ objective -> process -> kpi
อย่างกรณี “ศิษย์คอม”
นั่นก็เป็นปัญหาที่ครู กับศิษย์ เห็นกระบวนการแตกต่างกัน
ที่ อ.วิริยะ พูดถึง “เด็กเรียนอย่างมีความสุข”
ก็ยังเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และน่าติดตามอยู่เสมอ

[ข้อสอบเท่าทันโลก]
พบข้อสอบ TU Star ข้อหนึ่ง
พบว่าเด็กสมัยนี้หลายคนไม่ได้อ่านข่าวสารบ้านเมือง
คำถามถามครู
คือ “ครูคิดว่านักเรียนมัธยมปลาย ต้องติดตามข่าวสารในสื่อรึเปล่า
ข้อสอบถามว่า
โครงการ [ปลูกเลย] ที่โจอี้บอยไปเป็นจิตอาสาปลูกต้นไม้ เกิดขึ้นที่ไหน
คำตอบคือ “น่าน
https://www.facebook.com/gatconnectmaster/photos/a.1717807878436670.1073741840.1516128351937958/1717808038436654/

[TU Star]
TU Star ปีแรก รอบแรก 1/59
Menu: Star 00
มีข้อสอบมาแบ่งปัน ดูแนวข้อสอบได้ที่
https://www.facebook.com/gatconnectmaster/photos/?tab=album&album_id=1717807878436670

[O-NET]
ข้อสอบ O-NET ป.3 และ ป.6
สทศ.เปิดให้ download
http://www.niets.or.th/examdownload/

[gat]
ข้อสอบ GAT
สทศ.เปิดให้ download แล้วมีการนำมาเผยแพร่ต่อมากมาย
http://forum.02dual.com/index.php?topic=1471.0
http://www.trueplookpanya.com/knowledge/detail/30447-042944

เรื่องซึ้ง เกี่ยวกับการเลือกเดินรถของภาครัฐ สำหรับนักเรียนคนหนึ่ง

นักเรียนคนหนึ่ง
นักเรียนคนหนึ่ง

อ่านเรื่อง รถไฟบนเกาะฮอกไกโดแล้วซึ้ง
อ่านเรื่อง รถ BRT ช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ แล้วน่าคิดตาม
อ่านเรื่อง ควบรวมโรงเรียนใน 4 รูปแบบ แล้วน่าคิดตาม

ความตรงต่อเวลา
เป็นสิ่งที่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องรักษา
เป็นอย่างดี


19 มิ.ย.59 อ่านเรื่อง “กทม.​ เตรียมปิดฉาก BRT สายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์”
รายละเอียดส่วนหนึ่ง คือ “จากข้อมูลของกทม. BRT มีผู้โดยสารเฉลี่ย 23,000 คน/วัน
พลาดจากเป้าที่วางไว้ 30,000 คน/วัน ทำให้ขาดทุนถึง 1,000 ลบ.
เนื่องจาก กทม. ต้องควักเนื้อ งบประมาณอุดหนุนโครงการ ปีล่ะ 200 กว่าลบ.
เพื่อจ่ายค่าติดตั้งระบบ-เดินรถให้ BTSC-บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ เป็นระยะเวลา 7 ปี
ซึ่งสัญญาจะสิ้นสุด เม.ย.2560″ แต่เตรียมหาระบบอื่นทดแทน อยู่ระหว่างศึกษา
บทความโดย : Yuii ที่มาข่าว: ประชาชาติ
http://goo.gl/wvjuax

7 มิ.ย.59 อ่านเรื่อง “สพฐ. ยันไม่ยุบโรงเรียนขนาดเล็ก”
รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้ สพฐ.
ไปดำเนินการว่าจะมีการบริหารจัดการอย่างไร โดยเบื้องต้น สพฐ.ได้ดำเนินการใน 4 รูปแบบ
1. ควบรวมทั้งโรงเรียน
2. ควบรวมแบบสลับชั้นเรียน
3. ควบรวมแบบสลับชั้นเรียนบางช่วงชั้น
4. ควบรวมแบบคละชั้น
โดยเป้าหมายหลัก คือ ต้องให้โรงเรียนมีครูครบชั้น และมีนักเรียนที่เหมาะสมกับห้องเรียน
ซึ่งก็หมายความว่าทั้ง 2 โรงเรียน ต้องมาบริหารโรงเรียนร่วมกัน
โดยวิธีการควบรวม แต่ไม่ใช่การยุบเลิกโรงเรียน เว้นแต่โรงเรียนที่มีที่ตั้งสภาพทางภูมิศาสตร์
ที่เป็นข้อจำกัด คือ อยู่ห่างไกล พื้นที่สูง อยู่บนเกาะ เป็นต้น
http://www.kruwandee.com/news-id31815.html

อ่านเรื่องควบรวมโรงเรียนแล้ว คิดถึงภาพยนตร์เรื่อง “คิดถึงวิทยา
มีชื่อภาษาอังกฤษว่า The Teacher’s Diary
https://www.youtube.com/watch?v=269Mit_Ip80

15 ม.ค.59
ซึ้ง! รถไฟญี่ปุ่นยอมเดินรถรับ-ส่งนักเรียนหญิงคนเดียวจนจบการศึกษา เป็นเวลา 3 ปี
http://manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9590000004840

14 ม.ค.59
การรถไฟญี่ปุ่นบนเกาะฮอกไกโดจะทำการยกเลิกรถไฟเที่ยวสถานี “คายุ ชิราตากิ”
https://www.facebook.com/prince.alessandro.92/posts/10153879626451057

31 มี.ค.59
ปิดตัวแล้ว สถานีรถไฟญี่ปุ่นรับ-ส่งนร.หญิงคนเดียวจนจบการศึกษา (ชมคลิป)
http://www.manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9590000032991

12 ม.ค.59
Japan is keeping an entire train station open for just one passenger.
Kana Harada lives in Shirataki, a neighborhood with just 36 people.
She takes the train every day to the closest high school, 35 minutes away.
And She’s the only one who gets on.
“I got on and off this train for the last three years.”
“.. and this station’s presence has become something..”
“.. I have taken for granted.”
“I do feel sad to think it will disappear.”
Local residents build the station in 1955 to get kids to school.
When Harada graduates in March, the station will shut down.
“I remember getting on the train..”
“.. at an important time in my development.”
“I get very emotional about it.”
“I am glad we had this station here.”
Harada is proud to be the train’s last passenger.
[INSIDER]
https://www.youtube.com/watch?v=4BhiGKFtUA4

สาขาวิชาที่เป็นความต้องการ

ความแตกต่างของ กยศ และกรอ
ความแตกต่างของ กยศ และกรอ

http://images.slideplayer.in.th/8/2048740/slides/slide_5.jpg

ในระดับประเทศ เขามีข้อมูลว่าสาขาวิชาไหนเรียนแล้ว
น่าจะมีตังไปใช้หนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา
มีให้เลือกเพียบเลย มีเยอะเป็นหางว่าว จำนวน 36 หน้า
พบเรื่องนี้จากการค้นคำว่า “สาขาวิชาที่เป็นความต้องการ”
สำหรับประกาศปีการศึกษา ๒๕๕๗
http://www.studentloan.or.th/kcfinder/upload/files/20140625151525_6E64BD05-D7F8-950F-EF77-F38A8C55D223.pdf

และพบว่า มีประกาศเรื่องคุณสมบัติ ของผู้ขอทุนกรอ.
ข้อ ๔ วงเล็บ ๒ ระบุว่าต้องเป็นสาขาวิชาที่อยู่ในประกาศแนบท้าย
http://www.studentloan.or.th/kcfinder/upload/files/20140625151009_9A89F51B-6E3D-6219-0D79-4C5871566548.pdf
พบเรื่องนี้จากการค้นคำว่า “สาขาวิชาขาดแคลน กรอ.”

รายการ Weekly C3 . เผยเคล็ดลับ ได้ o-net เต็ม 100 3 วิชา จากหลาย ๆ คน

o-net ใช้วัดว่าเรียนได้ O หรือไม่ O

มาดูเคล็ดลับของเด็กที่ได้ 100 เต็ม 3 วิชา .. เรียนกันอย่างไร
ใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการเรียนการสอน
เช่น การเข้าไปใน true ปลูกปัญญา ดูวีดีโอ หรือคลังข้อสอบ
ถ้าเป็นภาษาอังกฤษก็ใช้ google แปลภาษา
ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของนายกฯ หนุนให้ใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน
เมื่อศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2558
http://thainame.net/edu/?p=3911

คลิ๊ปสัมภาษณ์นักเรียนเต็มร้อย 3 วิชา



เว็บ True ปลูกปัญญา
http://www.trueplookpanya.com/examination

trueplookpanya ทรูปลูกปัญญา
trueplookpanya ทรูปลูกปัญญา

จุดเปลี่ยนการศึกษาไทยครั้งสำคัญ อีกครั้ง

อยากเรียนต้องได้เรียน ไม่อยากเรียนก็ไม่ได้เรียน
อยากเรียนต้องได้เรียน ไม่อยากเรียนก็ไม่ได้เรียน

อันที่จริงก็คงมีจุดเปลี่ยนทางการศึกษาในหลาย ๆ ครั้ง
แต่ครั้งนี้เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ และไม่เคยเปลี่ยนแบบนี้มาก่อน
ถ้า กยศ. ไม่อนุโลมกู้ยืมต้อง 2.00 จริง ๆ นะครับ
ที่ผ่านมาหลายสิบปี ในระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษา
มีข้อมูลที่ทราบกันดี ดังนี้
1. การจบปริญญาตรี มีเกณฑ์ขั้นต่ำ คือ ต้องเกรดเฉลี่ยสะสม 2.00 จึงจะขอจบได้
2. จากนักเรียนมาเป็นนักศึกษา ทำให้นักศึกษาจำนวนมากปรับตัวไม่ทันในชั้นปีที่ 1
ทำให้มีเกรดเฉลี่ยสะสมในปีที่ 1 ต่ำกว่าชั้นปีอื่น
และเมื่อเลื่อนชั้นปีก็จะปรับตัวจนกระทั่งได้เกรดดีขึ้น

http://www.komchadluek.net/detail/20150312/202882.html

จุดเปลี่ยนที่สำคัญคือ
1. ผู้กู้ยืม กยศ. ทั้งรายเก่าและรายใหม่ ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00
เริ่มใช้เกณฑ์ในปีการศึกษา 2558
ซึ่งเชื่อว่ามีผลให้นักศึกษาที่ปรับตัวในระดับอุดมศึกษาไม่ทัน หมดสิทธิกู้ยืม
2. มีความเชื่อว่า ถ้าใช้เกณฑ์นี้จริง สถาบันการศึกษาจะมีมาตรการในหลายรูปแบบ
ช่วยเหลือไม่ให้นักศึกษาในสถาบันหมดสิทธิกู้ยืมต่อเนื่อง
ซึ่งบางรูปแบบอาจไปลดทอนคุณภาพการศึกษาก็ได้

หลักเกณฑ์การคัดกรองและแนวปฏิบัติในการคัดกรองสถานศึกษาและผู้กู้ยืม
ปีการศึกษา 2558

http://www.studentloan.or.th/detail.php?ctid=643

หากทำความเข้าใจที่มาที่ไป พบว่าจากความเชื่อที่ว่า
เด็กที่ไม่ถึง 2.00 แสดงว่าไม่ตั้งใจเรียน ไม่มีวินัย และความรับผิดชอบ
เมื่อเกรดต่ำ จบออกไปก็มักไม่ถูกคัดเลือกเข้าทำงาน
เมื่อไม่มีงาน ก็ไม่มีเงินมาชำระหนี้ กยศ.
เมื่อไม่มาชำระหนี้ กยศ.ก็ไม่มีเงินปล่อยกู้ให้รุ่นน้อง
เมื่อรุ่นน้องที่อยากเรียน กยศ.ไม่มีตัง เขาก็ไม่ได้เรียน

ดังนั้น นักศึกษาที่กู้ยืม กยศ. และกำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ของปี 2557
จะต้องมุ่งมั่น ทุ่มเท และตั้งใจเรียนให้เต็มที่มากกว่าครั้งใด ๆ
มิเช่นนั้น ก็อาจจะไม่ได้กู้ยืม กยศ. และเป็นผลให้ไม่มีตังที่เคยได้จากการกู้ยืม
เข้ามาจุนเจือทางการศึกษา สำหรับการศึกษาในปีการศึกษา 2558
ซึ่งหลายคนก็อาจต้องหยุดเรียน หรือ drop เรียนไปอย่างน่าเสียดาย

สำหรับท่านใดที่เขียนอาชีพใน facebook.com ว่า
พ่อแม่จ้างมาเรียน ก็คงไม่ได้รับผลกระทบ
แต่คนที่เขากู้ยืมเงินจาก กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
http://www.studentloan.or.th/index.php
จะได้รับผลกระทบเต็ม ๆ แบบเปลี่ยนชีวิตกันเลยทีเดียว

การสอดส่องดูแลนิสิตนักศึกษา .. เต้นโชว์

วันนี้เห็นหนังสือฉบับหนึ่ง ส่งถึงอธิการบดีในสถาบันต่าง ๆ และแทงเรื่องให้อาจารย์
ได้ช่วยกันสอดส่องดูแล เป็นประเด็นน่าสนใจครับ จึงไปค้นดูในเน็ตพบเยอะเลย
ถ้าอาจารย์เห็นว่าหน้าตาคุ้น ๆ ก็ไปสอบถาม ตักเตือน และชี้แนวทางที่ถูกต้องด้วยนะครับ
นักศึกษาอาจรู้เท่าไม่ถึงการ ก็เป็นได้ ถ้ารู้ว่าไม่ดี อีกหน่อยก็จะไม่ทำซ้ำ

ข้อความในหนังสือจาก สกอ. มีใจความดังนี้ จากกรณีสื่อสังคมออนไลน์กำลังวิพากษ์วิจารณ์คลิ๊ปวีดีโอเกี่ยวกับพฤติกรรมของหญิงสาว กลุ่มหนึ่งซึ่งสวมเครื่องแบบคล้ายนักศึกษา เต้นยั่วยวนในลักษณะอนาจารต่อหน้ากล้องภายในห้องน้ำแห่งหนึ่ง ภายหลังจากคลิ๊ปวีดีโอดังกล่าวถูกเผยแพร่ไปบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก ต่างเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณือย่างหนักนั้น

ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาพิจารณาแล้ว เห็นว่า การแสดงออกดังกล่าว ของหญิงสาวกลุ่มนี้ ไม่ได้คำนึงถึงผลเสียที่จะตามมา เพราะไม่มีการปิดบังใบหน้าและใช้ห้องน้ำสาธารณะในการ แสดงพฤติกรรม ซึ่งบุคคลอื่นอาจมาพบเห็นได้ พฤติกรรมดังกล่าวน่าจะเป็นเพราะความคึกคะนอง ถือว่าเป็นการ แสดงออกในทางที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น เพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ในทำนองเดียวกันกับกรณีดังกล่าว สำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา จึงขอให้ท่านช่วยสอดส่องดูแลนักศึกษาของสถาบัน มิให้แสดงออกในลักษณะ ที่ไม่เหมาะสม โดยอาจกำหนดแนวทาง มาตรการ และระบบการดูแลนักศึกษาที่ดี
http://beta.soccersuck.com/boards/topic/1081592
http://news.mthai.com/hot-news/363276.html
http://www.thairath.co.th/content/434714

กรณีความขัดแย้งของน้องก้อยกับโค้ชเช

ขัดแย้ง น้อยก้อย กับ โค้ชเช
ขัดแย้ง น้อยก้อย กับ โค้ชเช
โค้ชทักษ์ ปัดอยู่เบื้องหลังชักใย
โค้ชทักษ์ ปัดอยู่เบื้องหลังชักใย

ติดตามข่าวที่ชาวไทยให้ความสนใจ ความขัดแย้งในกีฬาเทควันโด
เพราะเห็นข่าวมาเป็นตอน แต่ละตอนก็จะมีมุมมองต่างกันไป
ดูตอนเดียวแล้วสรุปไม่ได้ครับ
แต่ละตอนก็เป็นแต่ละมุมของแต่ละคน
เหมือนการตอบโต้ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในไทยช่วงต้นปี 2557
ก่อนความสงบจะเข้ามาแทนที่ความขัดแย้งโดยสิ้นเชิง

คำว่า จริยธรรม = จริย + ธรรม = ความประพฤติ + คุณความดี
ผมว่าเรื่องนี้โยงเป็นกรณีศึกษา จริยธรรม ของ ศิษย์ กับ ครูฝึกได้นะ

ข่าวนี้เกิดในกีฬาเทควันโด (Taekwondo)
ระหว่างลูกศิษย์ น้องก้อย รุ่งระวี ขุระสะ กับครูฝึก โค้ชเช ชเว ยองซอก
เป็นข้อพิพาทว่าครูฝึกสั่งสอนลูกศิษย์เกินกว่าเหตุ
ลองมาตามข่าวกันครับ ก่อนจะแสดงความคิดเห็นก็ต้องมีข้อมูลกันก่อน

1. น้องก้อยถูกกระทำ ตัดสินใจประกาศอำลาทีมชาติ
น้อยก้อยเรียกร้องให้โค้ชเชมารับผิดชอบ
ด้วยการขอโทษต่อหน้าสื่อมวลชน เพราะไม่ใช่ความผิดของก้อย
เช้า 16 ก.ค.57
http://www.youtube.com/watch?v=tTtfUDhl6yk
เช้า 17 ก.ค.57
http://www.youtube.com/watch?v=iGATqqmX9zk

2. โค้ชแม็กซ์ ชัชวาล อัดคลิปยัน น้องก้อย รุ่งระวี ไม่เตรียมตัวก่อนแข่ง
ระบุผู้เข้าแข่งต้องเตรียมความพร้อม และวอล์มร่างกายก่อนแข่ง
เช้า 17 ก.ค.57
http://www.youtube.com/watch?v=8SR4mscMtFI

3. น้องวิว แสดงความเห็นว่า โค้ชน่าจะทำเพราะต้องการกระตุ้น
ให้ดีขึ้นกว่าเดิม ถ้าแข่งแพ้หมายถึงไม่ได้แพ้คนเดียว แต่ประเทศไทยแพ้
เช้า 17 ก.ค.57
http://www.youtube.com/watch?v=HY0ZE2f0qFY

4. นายพิมล ยืนยัน โค้ชเช บอกผ่าน แม็กซ์ ไม่กลับประเทศไทยแล้ว
บอกว่าไม่เอาไอดีการ์ด ไม่เอาถุงมือมา และคำแก้ตัวไม่เป็นความจริง
เช้า 17 ก.ค.57
http://www.youtube.com/watch?v=iL4NqTFYxp8

5. โค้ชทักษ์ ปัดอยู่เบื้องหลังชักใย ก้อย รุ่งระวี แฉ โค้ชเช
http://hilight.kapook.com/view/105194
เช้า 17 ก.ค.57
http://www.youtube.com/watch?v=EooMpdbJA8s

6. เปิดใจ ‘วิว เยาวภา – เล็ก ชนาธิป’ ฮีโร่เหรียญโอลิมปิก
เย็น 17 ก.ค.57
http://www.youtube.com/watch?v=rnkuVi3Ajpo

7. โค้ชเช แจงไม่ได้ต่อยน้องก้อย
“ในขณะที่นักกีฬาฝ่ายตรงข้ามรอที่คอร์ดแล้ว แต่รุ่งระวี
ยังไม่รู้เลยว่า การแข่งขันได้เริ่มขึ้นแล้ว จนเกือบถูกจับตัดสิทธิ์”
ผมได้สั่งสอนต่อหน้านักกีฬาคนอื่น ๆ จริง
แต่จะเรียกว่าต่อยคงไม่ได้
http://www.youtube.com/watch?v=HvriW0jEUXo

ความเห็น เรื่องเห็นต่าง

teacher & student
teacher & student

ปัจจุบันครูไทย .. เลือกปฏิบัติมาได้พักหนึ่งแล้ว
กับนักเรียนแต่ละคนแตกต่างกันแล้ว
นักเรียนก็เลือกเรียนกับครูแตกต่างกันแล้ว เช่นกัน

หมายความ ..
ว่าครูไม่ได้สาดวิชา โดยไม่ดูนักเรียน ดูใกล้ชิดเลย
และนักเรียนก็ไม่ได้รอรับการสาดวิชากับอยู่อย่างเดียว
เพราะถ้าครูไม่สาด หรือสาดน้อยไป เจอเปลี่ยนที่เรียนครับ

มีข้อมูลแลกเปลี่ยน .. ดังนี้
1. นักเรียนมีหลายกลุ่ม
กลุ่มที่เปิดรับวิชาจะเลือกที่เรียนที่สาดวิชา
เช่น โรงเรียนประจำจังหวัด ที่สมัครเป็นพัน แต่รับไม่กี่ร้อย
กลุ่มที่ไม่อยากรับอะไร ก็เลือกที่เรียนที่ไม่สาดวิชา
เช่น โรงเรียนในชุมชน โรงเรียนที่ไม่ต้องสอบแข่ง
2. คุณครูมักไม่เทจนหมดหน้าตักในห้องเรียน
เพราะเงื่อนไขเยอะมาก เวลาสอนน้อยลงเยอะ
ต้องเกลี่ยไปตามกลุ่มสาระ ต้องบูรณาการ ติดงานหลวง
3. ถ้าเด็กอยากเรียนมาก ครูก็เปิดติว
พากลับไปเรียนต่อที่บ้าน จัดคอร์สพิเศษ สำหรับผู้สนใจ
4. ในแต่ละโรงเรียน มีหลายห้องตามถนัด ตามชอบ
แบ่งห้อง king queen math engl
5. โรงเรียนประจำจังหวัด
สอบเข้า ม.1 แล้ว ถ้าไม่พร้อมรับการสาดวิชา
ต้องกรองอีกตอนสอบเข้า ม.4
ถ้าไม่อยากเรียน ก็ไม่ต้องทำข้อสอบ
ไปหาโรงเรียนเบา ๆ เรียนได้ เด็กเลือกได้เสมอ

กลอนโดย กอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
http://teacherkobwit2010.wordpress.com/

เปรียบคนถือสายยางนี้นี่คือครูเปรียบสายน้ำคือความรู้ครูสอนให้
เปรียบศิษย์กับภาชนะต่างกันไป
เปรียบให้เห็นตระหนักไว้ให้คิดกัน
หากเรามุ่งแต่สาดน้ำไปมั่วซั่ว
แม้จะทั่วแต่จะรับได้ไหมนั่น
ภาชนะแต่ละใบแตกต่างกัน
แต่ละอันมีเด่นด้อยต่างกันไป
บ้างเป็นขวดบ้างเป็นแก้วบ้างเป็นอ่าง
บ้างมีรูอยู่ข้างล่างบ้างเล็กใหญ่
บ้างคว่ำอยู่ไม่เปิดรับสิ่งอื่นใด
รับน้ำได้เท่ากันไหมลองคิดดู
เช่นเดียวกับการสอนศิษย์ของครูนั้น
เด็กต่างกันคือสิ่งที่ครูต้องรู้
ปรับการสอนให้เหมาะสมช่วยอุ้มชู
ตามศักยภาพที่มีอยู่ในตัวตน
ครูที่ดีต้องไม่ใช่สาดความรู้
ตริตรองดูสอนอย่างไรให้เห็นผล
คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
พัฒนาจนศิษย์เก่งดีมีสุขเอย

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=808741769153811&set=a.118832161478112.15682.100000539852258
ที่มา: วรภัทร์ ภู่เจริญ. 2543.
การบริหารการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ สสท. หน้า 11

ในภาพยนตร์จำลองเหตุการณ์ในชั้นเรียน
เล่าถึงกระบวนการพิจารณาไล่นักเรียนออกจากโรงเรียน
เห็นว่าปีที่แล้วเชิญนักเรียนที่ไม่พร้อมออกไป 12 คน

รับน้องใหม่…ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

รับน้องใหม่…ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ .. ! http://bit.ly/12KoMUr

รับน้อง รักน้อง .. ต้องจัดเต็ม
นึกถึงบรรยากาศรับน้องเข้าฐาน .. 18 ด่านมนุษย์ทองคำ
แต่ละฐานก็ช่างคิดกันจริง .. โชคดีมีรุ่นพี่ช่วยหาม
ยาลม ยาดม ยาหม่องพร้อม เป็นอีกภาพสะท้อน
จากงานเขียน อ.อัญ พบในกรุงเทพธุรกิจ

จะเป็นไปได้หรือไม่ที่ “รุ่นพี่ยุคใหม่” จะพัฒนาระบบโซตัสใหม่ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์และดูแลรุ่นน้องเสมือนครอบครัวภายใต้รั้วสถาบันเดียวกัน

อัญญาวีร์ อุนสวัสดิ์อาภา
อัญญาวีร์ อุนสวัสดิ์อาภา

คุมเข้ม! อาชีวะรับน้อง“ พงศ์เทพ ” สั่ง สอศ.กำชับวิทยาลัยทุกแห่งจัดกิจกรรมตามมาตรการ ส่วนตามสถาบันอุดมศึกษาสั่งห้ามรับน้องนอกสถานที่ ห้ามมีของมึนเมา ห้ามละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและทางเพศ เน้นกิจกรรมสร้างสรรค์ ย้ำผู้บริหารและครูดูแลใกล้ชิด พร้อมเปิดสายด่วน 1156 ให้แจ้งเหตุตลอด 24 ชม.
ข้อความที่ปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์ออนไลน์ในช่วงเดือนพฤษภาคมได้สะท้อนถึงนโยบายและการเตรียมความพร้อมในเทศกาลรับน้องที่กำลังจะมาถึง โดยกระทรวงศึกษาธิการ (สธ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีคำสั่งยังสถานศึกษาทุกระดับ ทุกสังกัดทั่วประเทศโดยมีใจความสำคัญว่า ห้ามรุ่นพี่และสถาบันการศึกษาจัดกิจกรรมรับน้องนอกสถานศึกษาโดยเด็ดขาด หากมีการจัดกิจกรรมรับน้องจะต้องอยู่ในการดูแลรับผิดชอบร่วมกันของผู้บริหารและครู นอกจากนี้การรับน้องควรมีลักษณะสร้างสรรค์ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมและไม่ขัดต่อระเบียบของสถาบันการศึกษาและประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคม รวมทั้งเคารพเสรีภาพส่วนบุคคลและห้ามล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทั้งทางร่างกายและจิตใจ

รับน้อง รักน้อง ต้องเต็มที่กันหน่อย
รับน้อง รักน้อง ต้องเต็มที่กันหน่อย

เป็นที่น่าสังเกตว่า มาตรการการคุมเข้มเกี่ยวกับการรับน้องดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่มีความพยายามที่จะควบคุมและกำกับดูแลการรับน้องให้อยู่ภายใต้กฎระเบียบมาเป็นระยะเวลายาวนาน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจาก “รุ่นพี่” ในหลายสถาบันการศึกษายังคงจัดกิจกรรมการรับน้องทั้งในและนอกสถานที่อย่างต่อเนื่อง และเมื่อใดก็ตามที่เกิดเหตุการณ์ “น้องใหม่” ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตระหว่างเข้าร่วมกิจกรรมการรับน้องรุ่นพี่ก็จะกลายสภาพเป็น “ผู้ร้าย” หรือ “พี่ว๊ากจอมโหด” ผ่านสื่อมวลชนทุกแขนง บ่อยครั้งที่กระแสวิพากษ์วิจารณ์ได้ขยายวงกว้างจนกลายเป็น “ความขัดแย้ง” หรือ “ความรุนแรง” เนื่องจากความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยเฉพาะประเด็นการรับน้องด้วยระบบโซตัส (SOTUS) ที่มักพูดถึงบ่อยครั้งในช่วงเทศกาลการรับน้อง
จากการศึกษาที่มาของระบบโซตัส (SOTUS) หรือ ระบบว๊าก ในประเทศไทยพบว่า การรับน้องด้วยระบบโซตัสเริ่มเผยแผ่เข้ามาในสังคมไทยครั้งแรกที่โรงเรียนป่าไม้ภาคเหนือ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ หรือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน ในช่วงปี 2486 ระบบโซตัสถูกนำไปใช้ในการรับน้องมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งกลุ่มคนที่นำเข้าแนวคิดการรับน้องระบบโซตัสมาใช้ในประเทศไทยยุคแรก คือ อาจารย์ที่จบจากวิทยาลัยเกษตรกรรมลอสบานยอส (Los Banos) แห่งฟิลิปปินส์ มหาวิทยาลัยออริกอนสเตต (Oregon State University) และมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell University) แห่งสหรัฐอเมริกา โดยมีเป้าหมายเพื่อละลายพฤติกรรมและลดทอนความต่างของฐานะ รวมทั้งให้นิสิตใหม่รู้สึกเท่าเทียมและมีความรักสามัคคี ผ่านการกดดันกลั่นแกล้ง เช่น การปีนเสา การคลุกโคลน เป็นต้น ซึ่งระบบโซตัสดังกล่าวได้ถูกผลิตซ้ำและสืบทอดในสังคมไทยเป็นระยะยาวนานกว่า 60 ปี

  • Seniority – การเคารพผู้อาวุโส
  • Order – การปฏิบัติตามระเบียบวินัย
  • Tradition – การปฏิบัติตามธรรมเนียมประเพณี
  • Unity – การเป็นหนึ่งเดียว
  • Spirit – การมีน้ำใจ

อย่างไรก็ดี ระบบโซตัสที่ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นการรับน้องที่มีลักษณะที่ใช้ความรุนแรงและแปลกพิสดาร เช่น การตะโกนด่าทอรุ่นน้องด้วยถ้อยคำหยาบคาย การบังคับให้กลั้นหายใจใต้น้ำตามเวลาที่กำหนด การให้รุ่นน้องนอนกลิ้งไปบนพื้นหินกรวดกลางแดด การสั่งให้โชว์หรือจับอวัยวะเพศของกันและกัน การบังคับให้กินของแปลก หรือดื่มสุราจนขาดสติ เป็นต้น หากรุ่นน้องคนใดไม่ปฏิบัติตามรุ่นพี่ก็จะใช้อำนาจในการ “ควบคุม” “ข่มขู่” หรือ “ลงโทษ” เพื่อให้รุ่นน้องเกิดความเกรงกลัว หรืออับอายขายหน้า ซึ่งการกระทำของรุ่นพี่ดังกล่าว หากพิจารณาจากมุมมองด้านสิทธิมนุษยชน อาจถือได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้าน “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” (Right to Human Dignity) และกฎหมายรัฐธรรมนูญ ปี 2540 และ ปี 2550 มาตรา 4 ได้บัญญัติไว้ว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง
การรับน้องในปีนี้ แม้ว่ารุ่นพี่หลายคนยังศรัทธาระบบโซตัสก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ หากกิจกรรมดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานการเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และมีเป้าหมายที่จะทำให้น้องใหม่เกิดความ “ประทับใจ” มากกว่า “ความสะใจ” ของรุ่นพี่ เพราะปัญหาที่ผ่านมาของการรับน้องในระบบโซตัสโดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการสืบทอดและผลิตซ้ำ “อำนาจและความรุนแรง” ในสังคม มากกว่าเป้าหมายในเชิงคุณค่าทางจิตใจ เช่น การสร้างความรักและความสามัคคีระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง

จะเป็นไปได้หรือไม่ที่ “รุ่นพี่ยุคใหม่” จะพัฒนาระบบโซตัสใหม่ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์และดูแลรุ่นน้องเสมือนครอบครัวภายใต้รั้วสถาบันเดียวกัน ไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจจะได้เห็นนวัตกรรมใหม่ในการรับน้องเช่น พี่ว๊ากที่ทำหน้ารักษากฎระเบียบโดยไม่ใช้ความรุนแรง หรือ รุ่นพี่ที่ทำโทษรุ่นน้องด้วยวิธีการที่สนุก สร้างสรรค์ และสร้างความสัมพันธ์อันดี หากเป็นเช่นนี้มาตรการคุมเข้มของกระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็คงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป

โดย : อัญญาวีร์ อุนสวัสดิ์อาภา ในกรุงเทพธุรกิจ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2682

ข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา

ข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา
ข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา

ประเทศไทยได้จัดทำข้อมูลให้เป็นมาตรฐานมาหลายปีแล้ว แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ข้อมูลด้านนักศึกษา ข้อมูลด้านบุคลากร และข้อมูลด้านหลักสูตร ซึ่งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทุกแห่งต้องส่ง .. ในเวลาต่อมาก็เพิ่มข้อมูลการมีงานทำของบัณฑิต และการเงินอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา  และปีนี้จะนำไปใช้ร่วมกับข้อมูลกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

 

 

 

สกอ. จึงจัดประชุมชี้แจง
เรื่อง “การจัดทำข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๖
วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2556 เวลา 9.30 – 15.00น. ณ ห้องคอนแวนชั่น A-B ชั้น 1
โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพฯ

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

เมื่อสกอ. ได้ข้อมูล ก็จะนำไปเผยแพร่สู่สาธารณะ
โดยข้อมูลต้องมีการแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่เขากำหนดก่อน
ที่เผยแพร่คือ http://www.info.mua.go.th/information/

ตารางมาตรฐานต่าง ๆ ที่
http://interapp.mua.go.th/NewreferenceTable/