teacher

เด็กอยากสอบโอเน็ต แต่ครูไม่ให้สอบ

เด็กทุกคนควรเข้าสู่ระบบทดสอบ เพื่อให้รู้ผลการเรียนตลอดช่วงชีวิตที่ผ่านมา

ในอนาคต เมื่อเด็ก ๆ ได้เรียนหนังสือไปถึงระดับชั้นหนึ่ง ก็จะได้รับการวัดผลจากหน่วยงานที่เข้าใจการสอบมาตรฐาน และน่าเชื่อถือระดับชาติ ว่าประสิทธิผลการเรียนของแต่ละบุคคลอยู่ในระดับใด สะท้อนถึงประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนในระดับห้องเรียน ชั้นเรียน โรงเรียน และเขตพื้นที่ได้ ดังนั้นเด็กทุกคนจะได้รับสิทธิ์การสอบ เพื่อรู้ผลสอบ เป็นการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จะไม่มีคุณครูใช้สิทธิ์ห้ามเด็ก หรือสิ่งใดที่จะทำให้เด็กไม่ได้สอบอีกต่อไป แล้วการสอบประเมินสมรรถนะทางวิชาการของเด็ก ๆ จะต้องถูกจัดให้กับเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียม มิใช่คนใดคนหนึ่ง ส่วนเด็กที่เรียนแล้วไม่ต้องการรู้ผลสอบ ไม่ต้องการเข้าสอบ ก็เป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐานที่พึงมีของแต่ละคน

นโยบายการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน

http://www.thaiall.com/student/onet.htm

7 ข้อคิดสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัย ว่า เตรียมตัวตกงาน ชอบครับ จึงสรุปใหม่เพื่อนำไปแชร์ต่อ

ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์

อ.อดิศักดิ์ แชร์บทความมาในกลุ่มบุคลากร
เรื่อง “7 ข้อคิดสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ต้องเตรียมตัว-เตรียมใจตกงาน
ใน manager online 2 มกราคม 2560
ผมตามบทความของ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ ที่เพื่อน ๆ แชร์มาให้อ่านเสมอ
ครั้งนี้ท่านเล่าว่ามีเพื่อนอาจารย์ “ลาออก”
แล้วฝากคำแนะนำไว้ 7 ข้อสำหรับ “อาจารย์รุ่นน้อง” ที่อายุน้อยกว่า 40 ปี

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9600000000252https://www.facebook.com/Life101.Co.Ltd/photos/a.163584947075166.25005.163576530409341/986938344739818/

เมื่อผมได้อ่านที่ ดร.อานนท์ เขียนแล้ว
.. ก็สรุปเป็นคำพูดที่จะนำไปพูดคุยกับนักศึกษาต่อไป
หากต้องการรายละเอียดฉบับเต็ม คลิ๊กลิงค์ของ manager ด้านบนได้ครับ

1. ลดอัตตา
อย่าคิดว่าเราเป็นที่สุด ในความจริง ไม่มีใครเหนือใคร
ความรู้ของคนเราเป็นแบบ intersection
คนไม่จบ ดร. ไม่มีตำแหน่ง ผศ. ที่เก่งทั้งทฤษฎี และปฏิบัติก็เยอะ
ควรผูกมิตร และยกย่องเขา ปรับตัวเรา และ make friend และ adapt

2. เปลี่ยนจากศูนย์กลางแห่งความรู้เป็นศูนย์กระจายความรู้
ต้องเปลี่ยนจาก Knowledge Guru เป็น Knowledge Facilitator
หาของใหม่จากภายนอก มาสอนนิสิตนักศึกษา และแชร์ความรู้บ่อย ๆ
พาลูกศิษย์ และตัวเองไปเจอเวทีหรือคนข้างนอกบ้าง
สมัยนี้เวที หรือ idol หรือ group หรือ conference หรือสื่อสังคม มีเยอะ

3. อย่าขาดการติดต่อกับโลกภายนอกมหาวิทยาลัย
มีอะไรอยู่ภายนอกมากมาย โลกพัฒนาไปเร็ว
เราติดตาม ปรับตัว และเปลี่ยนแปลงเท่าทันการเพิ่มขึ้นของความรู้หรือไม่
ได้พยายามรับรู้ และมีส่วนบ้างรึเปล่า
ที่สำคัญอย่าทำตัวเป็นผู้ตามความรู้อย่างเดียว
ถ้าให้ดีต้องเขียนความรู้ เป็น primary มากกว่า secondary อย่างเดียว

4. หมั่นเช็ค Rating ของตัวเอง
สังคมนอกมหาวิทยาลัยยอมรับเราไหม เรารับงานข้างนอกบ้างไหม
ตัวเราสะท้อนถึงลูกศิษย์ ก็เหมือน แม่ปูกับลูกปู
ถ้าเราเองยังไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม แล้วลูกปูจะเดินตรงได้อย่างไร

5. อย่าเจ้ายศเจ้าอย่าง
หัวข้อนี้น่าจะเตือนเรื่องความรู้สึกเหนือคนอื่น และการเอาใจเขามาใส่ใจเรา
ความไม่มีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงาน ไม่แบ่งปันรายได้ที่ได้รับจากสังคม
แต่ไปเบียดบังเพื่อนร่วมงานที่ไม่มีรายได้เหมือนตน
ถ้ามีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงาน แบ่งปัน ความเจ้ายศเจ้าอย่างก็จะลดลง

6. ทำกิจกรรมเพื่อสังคม
ออกบริการสังคมโดยใช้องค์ความรู้ ดังคำว่า “การให้มีความสุขมากกว่าการรับ”
หรือการทำ CSR นั่นเอง ถ้าทำ 5 ข้อแรกได้ ข้อนี้ก็น่าจะหมุนไปเอง
หากเป็นอาจารย์ก็นำงานวิจัยไปช่วยเหลือสังคม

7. ให้ทุนนิสิต
หากทำ 6 ข้อได้ ก็จะมีโอกาสทำข้อ 7 คือ การแสวงหาแหล่งทุน
มาสนับสนุนนิสิต นักศึกษา หรือเพื่อนอาจารย์ และหมุนวนไปทำ 6 ข้อแรกต่อไป

ปี 2559 ให้ทุนผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 3395 ราย มาลุ่นกันว่า ปี 2560 จะได้กี่ราย

คุณครูที่ปรากฎในสื่อ
คุณครูที่ปรากฎในสื่อ

พบข่าวพัฒนาครูท้องถิ่น เป็นโอกาสสำหรับ
นักเรียน นักศึกษา ที่สนใจอยากรับราชการครู ในปีการศึกษา 2560

ตามที่แฟนสาวของผมแนะนำมาว่าให้อ่านเรื่องนี้
อ่านที่ “ครูอัพเดตดอทคอม” แล้ว รู้สึกว่าน่าสนใจดังว่าจริง
http://www.krooupdate.com/news/newid-2450.html

มีเนื้อหาประมาณว่า

เมื่อจันทร์ที่ 9 ม.ค.2560 ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
มอบให้ สพฐ. เป็นผู้รับผิดชอบโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
เพราะ สพฐ. เป็นผู้ใช้ครู จะได้จัดครูได้ตรงกับความต้องการของโรงเรียนในแต่ละพื้นที่
มีระยะเวลา 2559 – 2572 งบทั้งหมดประมาณ 3800 ล้านบาท สำหรับผลิตครู 9264 คน
– ปี 2559 เป็นรุ่นแรก ที่รับผิดชอบหลักโดย สกอ.
– ปี 2560 เป็นรุ่นที่ 2 เปลี่ยนผู้รับผิดชอบหลักเป็น สพฐ.
โครงการเปิดรับนักเรียน นักศึกษาที่เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 และรับประกันการมีงานทำ
มีรายละเอียดใน เดลินิวส์ เรื่องการต่อโครงการโดย สพฐ.
http://www.dailynews.co.th/education/547720

โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 2559
โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 2559

อ้างถึง ข้อมูลโครงการนี้ เมื่อปีพ.ศ.2559
พบ ประกาศ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง รายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ปี พ.ศ.2559
มีผู้ผ่านการคัดเลือก 3,395 ราย
พบว่า โครงการนี้ให้โอกาสรวมถึงนิสิตนักศึกษาครูหลักสูตรระดับปริญญาตรี 5 ปี
ที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 5
แต่หากผลการเรียนสะสมที่กำหนดในเกณฑ์ ต่ำกว่า 3.00
ก็จะถูกตัดสิทธิ์การได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการครู
http://www.niets.or.th/protbyohec/file/announceprocbyohec.pdf
หรือ
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/751047131712774/

โครงการในปี พ.ศ.2559 พบรายละเอียดในประกาศข้างต้น
ว่ากำหนดวันรายงานตัว 16 ตุลาคม 2559
มีสาขาวิชาที่เข้าร่วมโครงการเกือบทุกสาขา
ดังนั้นนักเรียน นักศึกษาที่สนใจเป็นครู คงต้องรอติดตามข่าวสาร
และโอกาสที่จะมีมาสำหรับปีการศึกษา 2560 ต่อไป

ในทางการศึกษา มีอะไรก็ต้องบอกกันไว้ก่อน ว่าจะรับกี่คน มิเช่นนั้นจะไม่ผ่าน

นักเรียนที่โรงเรียนเรือนแพ ใน คิดถึงวิทยา
นักเรียนที่โรงเรียนเรือนแพ ใน คิดถึงวิทยา

แต่ละปี จะมีข่าวการศึกษาที่ใหญ่หลายเรื่อง
อาทิ 31 ค.ค.2555 ก็มีมติยุบมหาวิทยาลัยอีสาน
กลางปี 2559 มีข่าว เปลี่ยนจาก admission เป็น entrance เริ่มปีการศึกษา 2561
แล้วสิ้นปี 2559 ข่าวนี้น่าจะใหญ่มาก คือ ไม่ให้ตั๋วบริหารการศึกษา
บอร์ดคุรุสภาไม่อนุมัติใบอนุญาตผู้บริหาร 4 มหาวิทยาลัย อีก 7 มหาวิทยาลัยให้ผ่านได้

ครูและนักเรียนที่โรงเรียนเรือนแพ ใน คิดถึงวิทยา
ครูและนักเรียนที่โรงเรียนเรือนแพ ใน คิดถึงวิทยา

โดยที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาให้ 7 แห่ง ดังนี้

1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.)
2. มหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก.)
3. มหาวิทยาลัยบูรพา (มบ.)
4. มรภ.บุรีรัมย์
5. มรภ.สุราษฎร์ธานี
6. มรภ.เชียงราย
7. มรภ.ภูเก็ต

ส่วนอีก 4 แห่ง ที่ประชุมมีมติไม่อนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
ให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2557 และปีการศึกษา 2558 ดังนี้

1. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
2. มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
3. วิทยาลัยทองสุข
4. วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

เนื่องจากรับนักศึกษาเกินกว่าที่แจ้งให้ สกอ.
http://www.matichon.co.th/news/342244

ถามศิษย์มาเยอะล่ะ ถามครูบ้างว่า ทำไมครูเค้าออกข้อสอบข้อนี้

คำถามที่ 63 ของ สทศ.
คำถามที่ 63 ของ สทศ.

[เหตุ]
พบโพสต์ของ อ.วิริยะ แชร์ข้อสอบ สทศ.ข้อ 63
ประเด็นต้นเรื่องตามลิงค์ ผมไม่ขอพูดถึง
แต่ที่สนใจ และเกิดคำถามเกิดขึ้นในใจผมเอง
ว่า “ครูคิดว่า ข้อสอบแบบนี้ต้องการอะไรจากเด็ก”
ถามสั้น แต่พาดพิงไปถึงวัตถุประสงค์ กระบวนการ และสิ่งที่คาดหวัง
https://www.facebook.com/ajWiriya/photos/a.109418075746852.10885.109357035752956/1146402255381757/

[ก่อนหน้านี้]
มีบทสนทนา “นิทานศิษย์คอม

ศิษย์ .. ทำไมต้องให้เขียนศัพท์
ครู .. ถามทำไมล่ะ
ศิษย์ .. ไม่อยากเขียนครับ ไม่เห็นประโยชน์
ครู .. เรียนอังกฤษ เรียนคอม เรียนไอที ก็ต้องรู้ศัพท์คอม สิครับ
มีหนังสือ “คู่มือ Cyber Security สำหรับประชาชน
ใคร ๆ เค้าก็อ่านกัน มีศัพท์ท้ายเล่ม บทที่ 9 หน้า 206
มี 28 คำ ไปอ่านนะ น่าสนใจ ดาวน์โหลดได้ด้วย
http://www.ebooksdownloadfree.net/2015/09/cyber-security.html
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
เค้าทำแจกทั่วประเทศ เป็นรูปเล่มที่ผมก็มีนะ ได้รับแจกมา
ศิษย์ .. –!
ครู .. ไปอ่านเถอะ ไม่รู้ศัพท์ แล้วจะคุยกันรู้เรื่องเหรอ
นี่ขนาดข้อสอบ TU Star ความรู้ ม.4 ม.5 เค้ายังถามเลยว่า “Zombie” คอมพิวเตอร์คืออะไร
ศิษย์ .. รู้สิ

zombie คือ การเข้าควบคุมเหยื่อระยะไกล
zombie คือ การเข้าควบคุมเหยื่อระยะไกล

+ http://www.thaiall.com/blog/burin/7206/
+ https://www.facebook.com/gatconnectmaster/photos/a.1717807878436670.1073741840.1516128351937958/1717816878435770/
[สรุป]
ทุกปัญหามักมาจากการคิดต่าง (think different)
การคิดต่างมักต่างกันที่ วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ กระบวนการ ผลที่คาดหวัง

– วิสัยทัศน์ = เราจะเป็นที่หนึ่งในอาเซียน
– กลยุทธ์ = พัฒนานักเรียน และครู
– เป้าหมาย = ระบบการศึกษาไทยจะเป็นที่หนึ่งในอาเซียน
– วัตถุประสงค์ = เพื่อยกระดับการศึกษาของเด็กนักเรียน
– กระบวนการ = ปรับหลักสูตรให้สอดรับกับ PIZA สำหรับปีแรก
– ตัวบ่งชี้ (KPI) = คะแนนเฉลี่ยเด็กสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา สำหรับปีแรก

? การศึกษาไทยเป็นแบบนี้รึเปล่า คือ มองเป็นเส้นเดียวกัน คิดและทำเป็นระบบที่มีกลไกเดียวกัน

[ปัญหาการศึกษาไทย]
อ.วิริยะ บรรยายในแนวที่ว่า
“หวังอย่างหนึ่ง ทำอย่างหนึ่ง แล้วจะได้ผลเป็นอย่างที่หวังได้อย่างไร”
นี่คือปัญหาของระบบ objective -> process -> kpi
อย่างกรณี “ศิษย์คอม”
นั่นก็เป็นปัญหาที่ครู กับศิษย์ เห็นกระบวนการแตกต่างกัน
ที่ อ.วิริยะ พูดถึง “เด็กเรียนอย่างมีความสุข”
ก็ยังเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และน่าติดตามอยู่เสมอ

[ข้อสอบเท่าทันโลก]
พบข้อสอบ TU Star ข้อหนึ่ง
พบว่าเด็กสมัยนี้หลายคนไม่ได้อ่านข่าวสารบ้านเมือง
คำถามถามครู
คือ “ครูคิดว่านักเรียนมัธยมปลาย ต้องติดตามข่าวสารในสื่อรึเปล่า
ข้อสอบถามว่า
โครงการ [ปลูกเลย] ที่โจอี้บอยไปเป็นจิตอาสาปลูกต้นไม้ เกิดขึ้นที่ไหน
คำตอบคือ “น่าน
https://www.facebook.com/gatconnectmaster/photos/a.1717807878436670.1073741840.1516128351937958/1717808038436654/

[TU Star]
TU Star ปีแรก รอบแรก 1/59
Menu: Star 00
มีข้อสอบมาแบ่งปัน ดูแนวข้อสอบได้ที่
https://www.facebook.com/gatconnectmaster/photos/?tab=album&album_id=1717807878436670

[O-NET]
ข้อสอบ O-NET ป.3 และ ป.6
สทศ.เปิดให้ download
http://www.niets.or.th/examdownload/

[gat]
ข้อสอบ GAT
สทศ.เปิดให้ download แล้วมีการนำมาเผยแพร่ต่อมากมาย
http://forum.02dual.com/index.php?topic=1471.0
http://www.trueplookpanya.com/knowledge/detail/30447-042944

อาจารย์ ดอกเตอร์ ม.ราชภัฎพระนคร ยิงกันเสียชีวิต 2 ราย และผู้ลงมือเสียชีวิตในเวลาต่อมา

อาคารเรียนรวมและศูนย์วัฒนธรรม ม.ราชภัฎพระนคร
อาคารเรียนรวมและศูนย์วัฒนธรรม ม.ราชภัฎพระนคร

เหตุเกิดประมาณ 9 โมง วันที่ 18 พ.ค.59 ตามข่าวทราบว่า
ที่ ห้องพุทธวิชชาลัย ชั้น 5 อาคารเรียนรวมและศูนย์วัฒนธรรม ม.ราชภัฎพระนคร
เหตุเกิดในระหว่างสอบภาคนิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท ในห้องมีรวมกัน 5 คน
คือ อาจารย์ 3 ท่าน และนักศึกษา 1 คน กับเพื่อนนักศึกษาอีก 1 ท่าน
ชื่อเดิมคณะคุรุศาสตร์ เปลี่ยนเป็น วิทยาลัยการฝึกหัดครู
อาจารย์ผู้ก่อเหตุมีปัญหากับประธานสอบมาก่อน
เข้ามาแล้วก็ยิงอาจารย์ทั้ง 2 ท่านจนเสียชีวิต
คือ ผศ.ดร.พิชัย ไชยสงคราม อายุ 56 ปี
กศ.บ.(การบริหารการศึกษา), กศ.ม. (การศึกษาผู้ใหญ่), Ph.D.(Development Education)
ประธานสาขาวิชาบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มรภ.พระนคร
และ ดร.ณัฐพล ชุมวรฐายี อายุ 54 ปี
ค.บ. (อุตสาหกรรมศิลป์), พณ.ม. (พัฒนาสังคม), กศ.ด. (การบริหารการศึกษา)
ผอ.สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มรภ.พระนคร

ผศ.ดร.พิชัย ไชยสงคราม และ ดร.ณัฐพล ชุมวรฐายี http://www.matichon.co.th/news/139724
ผศ.ดร.พิชัย ไชยสงคราม และ ดร.ณัฐพล ชุมวรฐายี
http://www.matichon.co.th/news/139724

ตามข่าวทราบว่า ดร.วันชัย ดนัยตโมนุท อายุ 60 ปี
กศ.บ. (ฟิสิกส์), วท.ม. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์), ศษ.ด.(บริหารการศึกษา)
อาจารย์ประจำวิทยาลัยการฝึกหัดครู สาขาบริหารการศึกษา หลักสูตรปริญญาโท มรภ.พระนคร
เป็นผู้ก่อเหตุยิงอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน
แล้วยิงตนเองจนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2559 ที่โรงแรมสุภาพ กทม.
+ http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1463544579
http://www.dailynews.co.th/crime/398329
+ https://www.facebook.com/matichonweekly/photos/a.494435107250507.121360.127655640595124/1300938559933487/
+ http://news.mthai.com/hot-news/general-news/495802.html
http://www.nationtv.tv/main/content/crime/378502109/

ระบบการเสนอข่าวดอกเตอร์เสียชีวิต (itinlife553)

เหตุการณ์ที่อาจารย์ดอกเตอร์ทั้ง 3 เสียชีวิตเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2559 นั้น เหตุเกิดครั้งแรกที่ห้องสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทในสถาบันการศึกษา การนำเสนอข่าวครั้งแรกทำให้มีข้อสงสัยว่าปัญหานั้นเกิดจากการถกเถียงกันระหว่างกรรมการสอบที่ร่วมกันพิจารณาผลงานนักศึกษาในประเด็นที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ วรรณกรรมอ้างอิง กรอบแนวคิด วิธีวิทยา เครื่องมือวิจัย การเก็บข้อมูล ผลการศึกษา หรือการเขียนรายงานสรุปผลหรือไม่ หากเป็นจริงแล้วเหตุการณ์ก็จะเกิดจากความมีอัตตาในบุคลากรทางการศึกษา

หลังตำรวจพบว่าผู้ก่อเหตุและพยายามเจรจาให้จบลงด้วยดี ระหว่างนั้นก็มีการเสนอข่าวด้วยการถ่ายทอดสด ที่มีลักษณะที่เป็นการนำเสนอเนื้อหารายการที่อาจเข้าข่ายมีพฤติกรรมแสดงออกถึงความรุนแรง เป็นการถ่ายทอดสด การฆ่าตัวตาย จนมีหนังสือตักเตือนทั้งด้วยวาจา และหนังสือไปยังสื่อที่ถ่ายทอดสดว่าให้ระมัดระวัง เพราะมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย ในมาตรา 37 หมวด 2 ของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 แต่ระบบและกลไกในระดับสถานีโทรทัศน์ก็ยังเป็นประเด็นคำถามว่าต้องทำอย่างไร จึงจะเหมาะสม

เนื่องจากระบบและกลไกจะถูกใช้ในเหตุการณ์ปกติ แล้วระบบและกลไกของเหตุการณ์นี้ควรเป็นแบบใด ในเมื่อเป็นเรื่องที่สังคมกำลังจับจ้อง สะท้อนความจริงของสังคม วินาทีใดระหว่างรายงานที่ควรตัดจากการถ่ายทอดสดเข้าไปในสตูดิโอ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบทำให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน จุดใดที่ควรหยุดด้วยเหตุและผลเชิงวิชาชีพสื่อสารมวลชนสำหรับแต่ละสถานี มีการวิพากษ์กันมากทั้งการถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ และจากผู้ใช้งานโซเชียลมีเดีย แล้วยังมีกรณีตัวอย่างจากภาพยนตร์เรื่อง เหยี่ยวข่าวคลั่งล่าข่าวโหด หรือ คู่อำมหิตฆ่าออกทีวี หรือกรณีของปอ ทฤษฎี เองก็มีการพูดถึงปัญหาสื่อละเมิดสิทธิ ที่ขัดต่อจรรยาบรรณ ล่าสุด กสทช. ออกหนังสือขอความร่วมมือให้สถานีโทรทัศน์ปฏิบัติตาม เพราะอาจผิดกฎหมาย และมีบทลงโทษตามมา
+ http://news.mthai.com/hot-news/social-news/496117.html

http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9590000050882

http://www.komchadluek.net/detail/20160123/221096.html

http://www.dailynews.co.th/crime/398757

http://www.dailynews.co.th/crime/398673

กรณีความขัดแย้งของน้องก้อยกับโค้ชเช

ขัดแย้ง น้อยก้อย กับ โค้ชเช
ขัดแย้ง น้อยก้อย กับ โค้ชเช
โค้ชทักษ์ ปัดอยู่เบื้องหลังชักใย
โค้ชทักษ์ ปัดอยู่เบื้องหลังชักใย

ติดตามข่าวที่ชาวไทยให้ความสนใจ ความขัดแย้งในกีฬาเทควันโด
เพราะเห็นข่าวมาเป็นตอน แต่ละตอนก็จะมีมุมมองต่างกันไป
ดูตอนเดียวแล้วสรุปไม่ได้ครับ
แต่ละตอนก็เป็นแต่ละมุมของแต่ละคน
เหมือนการตอบโต้ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในไทยช่วงต้นปี 2557
ก่อนความสงบจะเข้ามาแทนที่ความขัดแย้งโดยสิ้นเชิง

คำว่า จริยธรรม = จริย + ธรรม = ความประพฤติ + คุณความดี
ผมว่าเรื่องนี้โยงเป็นกรณีศึกษา จริยธรรม ของ ศิษย์ กับ ครูฝึกได้นะ

ข่าวนี้เกิดในกีฬาเทควันโด (Taekwondo)
ระหว่างลูกศิษย์ น้องก้อย รุ่งระวี ขุระสะ กับครูฝึก โค้ชเช ชเว ยองซอก
เป็นข้อพิพาทว่าครูฝึกสั่งสอนลูกศิษย์เกินกว่าเหตุ
ลองมาตามข่าวกันครับ ก่อนจะแสดงความคิดเห็นก็ต้องมีข้อมูลกันก่อน

1. น้องก้อยถูกกระทำ ตัดสินใจประกาศอำลาทีมชาติ
น้อยก้อยเรียกร้องให้โค้ชเชมารับผิดชอบ
ด้วยการขอโทษต่อหน้าสื่อมวลชน เพราะไม่ใช่ความผิดของก้อย
เช้า 16 ก.ค.57
http://www.youtube.com/watch?v=tTtfUDhl6yk
เช้า 17 ก.ค.57
http://www.youtube.com/watch?v=iGATqqmX9zk

2. โค้ชแม็กซ์ ชัชวาล อัดคลิปยัน น้องก้อย รุ่งระวี ไม่เตรียมตัวก่อนแข่ง
ระบุผู้เข้าแข่งต้องเตรียมความพร้อม และวอล์มร่างกายก่อนแข่ง
เช้า 17 ก.ค.57
http://www.youtube.com/watch?v=8SR4mscMtFI

3. น้องวิว แสดงความเห็นว่า โค้ชน่าจะทำเพราะต้องการกระตุ้น
ให้ดีขึ้นกว่าเดิม ถ้าแข่งแพ้หมายถึงไม่ได้แพ้คนเดียว แต่ประเทศไทยแพ้
เช้า 17 ก.ค.57
http://www.youtube.com/watch?v=HY0ZE2f0qFY

4. นายพิมล ยืนยัน โค้ชเช บอกผ่าน แม็กซ์ ไม่กลับประเทศไทยแล้ว
บอกว่าไม่เอาไอดีการ์ด ไม่เอาถุงมือมา และคำแก้ตัวไม่เป็นความจริง
เช้า 17 ก.ค.57
http://www.youtube.com/watch?v=iL4NqTFYxp8

5. โค้ชทักษ์ ปัดอยู่เบื้องหลังชักใย ก้อย รุ่งระวี แฉ โค้ชเช
http://hilight.kapook.com/view/105194
เช้า 17 ก.ค.57
http://www.youtube.com/watch?v=EooMpdbJA8s

6. เปิดใจ ‘วิว เยาวภา – เล็ก ชนาธิป’ ฮีโร่เหรียญโอลิมปิก
เย็น 17 ก.ค.57
http://www.youtube.com/watch?v=rnkuVi3Ajpo

7. โค้ชเช แจงไม่ได้ต่อยน้องก้อย
“ในขณะที่นักกีฬาฝ่ายตรงข้ามรอที่คอร์ดแล้ว แต่รุ่งระวี
ยังไม่รู้เลยว่า การแข่งขันได้เริ่มขึ้นแล้ว จนเกือบถูกจับตัดสิทธิ์”
ผมได้สั่งสอนต่อหน้านักกีฬาคนอื่น ๆ จริง
แต่จะเรียกว่าต่อยคงไม่ได้
http://www.youtube.com/watch?v=HvriW0jEUXo

ความเห็น เรื่องเห็นต่าง

teacher & student
teacher & student

ปัจจุบันครูไทย .. เลือกปฏิบัติมาได้พักหนึ่งแล้ว
กับนักเรียนแต่ละคนแตกต่างกันแล้ว
นักเรียนก็เลือกเรียนกับครูแตกต่างกันแล้ว เช่นกัน

หมายความ ..
ว่าครูไม่ได้สาดวิชา โดยไม่ดูนักเรียน ดูใกล้ชิดเลย
และนักเรียนก็ไม่ได้รอรับการสาดวิชากับอยู่อย่างเดียว
เพราะถ้าครูไม่สาด หรือสาดน้อยไป เจอเปลี่ยนที่เรียนครับ

มีข้อมูลแลกเปลี่ยน .. ดังนี้
1. นักเรียนมีหลายกลุ่ม
กลุ่มที่เปิดรับวิชาจะเลือกที่เรียนที่สาดวิชา
เช่น โรงเรียนประจำจังหวัด ที่สมัครเป็นพัน แต่รับไม่กี่ร้อย
กลุ่มที่ไม่อยากรับอะไร ก็เลือกที่เรียนที่ไม่สาดวิชา
เช่น โรงเรียนในชุมชน โรงเรียนที่ไม่ต้องสอบแข่ง
2. คุณครูมักไม่เทจนหมดหน้าตักในห้องเรียน
เพราะเงื่อนไขเยอะมาก เวลาสอนน้อยลงเยอะ
ต้องเกลี่ยไปตามกลุ่มสาระ ต้องบูรณาการ ติดงานหลวง
3. ถ้าเด็กอยากเรียนมาก ครูก็เปิดติว
พากลับไปเรียนต่อที่บ้าน จัดคอร์สพิเศษ สำหรับผู้สนใจ
4. ในแต่ละโรงเรียน มีหลายห้องตามถนัด ตามชอบ
แบ่งห้อง king queen math engl
5. โรงเรียนประจำจังหวัด
สอบเข้า ม.1 แล้ว ถ้าไม่พร้อมรับการสาดวิชา
ต้องกรองอีกตอนสอบเข้า ม.4
ถ้าไม่อยากเรียน ก็ไม่ต้องทำข้อสอบ
ไปหาโรงเรียนเบา ๆ เรียนได้ เด็กเลือกได้เสมอ

กลอนโดย กอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
http://teacherkobwit2010.wordpress.com/

เปรียบคนถือสายยางนี้นี่คือครูเปรียบสายน้ำคือความรู้ครูสอนให้
เปรียบศิษย์กับภาชนะต่างกันไป
เปรียบให้เห็นตระหนักไว้ให้คิดกัน
หากเรามุ่งแต่สาดน้ำไปมั่วซั่ว
แม้จะทั่วแต่จะรับได้ไหมนั่น
ภาชนะแต่ละใบแตกต่างกัน
แต่ละอันมีเด่นด้อยต่างกันไป
บ้างเป็นขวดบ้างเป็นแก้วบ้างเป็นอ่าง
บ้างมีรูอยู่ข้างล่างบ้างเล็กใหญ่
บ้างคว่ำอยู่ไม่เปิดรับสิ่งอื่นใด
รับน้ำได้เท่ากันไหมลองคิดดู
เช่นเดียวกับการสอนศิษย์ของครูนั้น
เด็กต่างกันคือสิ่งที่ครูต้องรู้
ปรับการสอนให้เหมาะสมช่วยอุ้มชู
ตามศักยภาพที่มีอยู่ในตัวตน
ครูที่ดีต้องไม่ใช่สาดความรู้
ตริตรองดูสอนอย่างไรให้เห็นผล
คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
พัฒนาจนศิษย์เก่งดีมีสุขเอย

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=808741769153811&set=a.118832161478112.15682.100000539852258
ที่มา: วรภัทร์ ภู่เจริญ. 2543.
การบริหารการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ สสท. หน้า 11

ในภาพยนตร์จำลองเหตุการณ์ในชั้นเรียน
เล่าถึงกระบวนการพิจารณาไล่นักเรียนออกจากโรงเรียน
เห็นว่าปีที่แล้วเชิญนักเรียนที่ไม่พร้อมออกไป 12 คน

ครูพันธุ์ใหม่ ยุคดิจิทัล

ครูพันธุ์ใหม่ ยุคดิจิทัล

! http://bit.ly/19jRb58

โดย อัญญาวีร์ อุนสวัสดิ์อาภา   
สมัยอดีต “การไหว้ครู” เป็นพิธีกรรมที่ศิษย์แสดงถึงความเคารพและยอมรับนับถือครูบาอาจารย์อย่างจริงใจ ว่าเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมความรู้

และศิษย์ในฐานะผู้สืบทอดมรดกทางวิชาการจึงพร้อมใจกันปวารณาตัวเพื่อรับการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้วยความวิริยะอุตสาหะ และสัญลักษณ์ที่มักจะพบในพานไหว้ครูแบบดั้งเดิมมักจะประกอบด้วย “ข้าวตอก” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย “ดอกมะเขือ” เป็นสัญลักษณ์แห่งความอ่อนน้อมถ่อมตนและการมีสัมมาคารวะ “ดอกเข็ม” เป็นสัญลักษณ์ของสติปัญญาที่ฉลาดหลักแหลม และ “หญ้าแพรก” เป็นสัญลักษณ์ของความอดทนและความมีวิริยะอุตสาหะ ซึ่งสัญลักษณ์ดังกล่าว ได้ถูกผลิตซ้ำและสืบทอดคุณค่าและความหมายเกี่ยวกับคุณลักษณะศิษย์ที่พึงประสงค์มาเป็นระยะเวลานาน

แต่ในยุคปัจจุบันสัญลักษณ์พานไหว้ครูได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และในช่วงเปิดเทอมที่ผ่านมา สื่อมวลชนได้นำเสนอข่าวพิธีไหว้ครูของวัยรุ่นในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาบางแห่ง ที่ได้สร้างสรรค์พานไหว้ครูเป็นโลโก้กูเกิล เฟซบุ๊ค และไลน์ โดยให้เหตุผลว่า เพื่อต้องการสื่อว่าโลกทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงและทันสมัยมากขึ้น ทั้งกูเกิล เฟซบุ๊ค และไลน์ถือเป็นสื่อใหม่ (New media) ที่วัยรุ่นได้นำมาใช้ในการติดต่อสื่อสารจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน

เมื่อข่าวดังกล่าวเผยแพร่ไป ปรากฏว่ามีกระแสตอบรับจากสังคมทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการนำสัญลักษณ์สื่อใหม่ (New media) และสื่อสังคม (Social media) มาเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมไหว้ครู โดยวัยรุ่นโดยส่วนใหญ่มองว่า พานไหว้ครูยุคใหม่เป็นการสืบทอดสัญลักษณ์และประเพณีในเชิงสร้างสรรค์ แต่ในทางกลับกันผู้ใหญ่บางคนกลับไม่เห็นด้วยเพราะมองว่าสัญลักษณ์ของพานไหว้ครูดังกล่าว อาจเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือและความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมไหว้ครูแบบดั้งเดิมให้เสื่อมถอยลงไป ซึ่งโดยความคิดเห็นส่วนตัวผู้เขียนไม่ได้นำเสนอปรากฏการณ์ดังกล่าวเพื่อตัดสินใจว่าสิ่งใดถูกหรือสิ่งใดผิด แต่สิ่งที่สนใจก็คือการสื่อสารเชิงสัญญะที่แฝงเร้นอยู่ในพานไหว้ครู สัญลักษณ์สื่อใหม่และสื่อสังคมที่ปรากฏบนพานไว้ครูได้สถาปนาความหมายและสถานภาพของ “ครูพันธุ์ใหม่ในยุคดิจิทัล” ขึ้นในสังคมไทย

อาจกล่าวได้ว่า ในยุคที่เทคโนโลยีการสื่อสารสามารถเข้าถึงผู้รับสารได้สะดวก รวดเร็ว เป็นจำนวนมาก โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ สื่อใหม่ (New media) ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน ไอแพด โน้ตบุ๊ค ได้ถูกสถาปนาให้กลายเป็น “ครูพันธุ์ใหม่” ที่ สามารถแสวงหาคำตอบให้กับคนทุกเพศทุกวัยในทุกเรื่อง ทุกที่ และทุกเวลาโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย และบางครั้งเราก็มักจะได้ยินครูบางท่านสบถในห้องเรียนด้วยความท้อแท้ใจในการสอนเด็กยุคใหม่ที่ก้มหน้าก้มตาดูสมาร์ทโฟน โน้ตบุ๊ค หรือไอแพดโดยไม่สนใจครูผู้สอนว่า “เด็กสมัยนี้เชื่อคอมฯ มากกว่าเชื่อครู”

ข้อมูลจากการสำรวจของเว็บไซต์ alexa.com ผู้ให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าใช้บริการมากกว่า 1 ล้านคนต่อวัน แสดงข้อมูลเชิงสถิติที่น่าสนใจว่า ปัจจุบันเฟซบุ๊ค (Facebook.com) ได้กลายเป็นเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดในโลก รองลงมาคือกูเกิล (google.com) และ ยูทูป (http://www.alexa.com) เป็นที่น่าสังเกตว่า คนรุ่นใหม่ในยุคดิจิทัลไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันโดยปราศจากการติดต่อสื่อสารกับโลกออนไลน์ในทุกช่วงเวลาของชีวิต เช่น ตื่นนอน เดินทาง กินอาหาร เดินทาง พักผ่อน หรือแม้แต่ในยามที่ครูกำลังสอนในชั้นเรียน ผู้ส่งสารในโลกดิจิทัลยังคงสื่อสารและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้รับสารทั้งทางตรงและทางอ้อม

จุดเด่นของสื่อใหม่คือการให้อำนาจกับผู้รับสารในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และความสามารถในการตรวจสอบข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งเปิดช่องทางการติดต่อสื่อสารและการแสดงความคิดเห็นแบบสองทาง (Two-way-communication) โดยไม่ต้องกลัวการทำโทษ หรือกลัวว่าคำตอบนั้นจะถูกหรือผิด จึงกลายเป็นเสน่ห์ดึงดูดผู้สนใจให้เข้ามาใช้บริการในเว็บไซต์มากขึ้น ซึ่งสวนทางกับจำนวนผู้อ่านหนังสือหรือตำราที่นับวันจะมีจำนวนลดลงไปเรื่อยๆ เนื่องจากการสื่อสารแบบทางเดียวไม่สามารถตอบสนองความต้องการของวัยรุ่นในยุคดิจิทัล หรือแม้แต่ครูพันธ์ดังเดิม (บุคคล) หากมุ่งที่เน้นการสอนแบบทางเดียวโดยไม่สร้างการมีปฏิสัมพันธ์แห่งการเรียนรู้ก็อาจไม่ได้รับความสนใจจากศิษย์ในยุคสมัยนี้

อย่างไรก็ดี แม้ครูพันธุ์ใหม่จะได้รับการยอมรับว่าสามารถให้ความรู้ที่รอบด้านอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังมีข้อจำกัด เนื่องจากไม่สามารถสร้างความรู้สึกแห่งความไว้วางใจระหว่างครูกับศิษย์ได้อย่างแท้จริง เนื่องจากผู้ส่งสารในโลกดิจิทัลแม้จะทำหน้าที่ให้ความรู้แต่ก็ไม่มีตัวตนที่สามารถสัมผัสได้ รวมทั้งไม่สามารถให้คำปรึกษาหรือเยียวยาความทุกข์ของศิษย์ได้อย่างเข้าใจ หรือแม้แต่การสร้างทัศนคติและจิตสำนึกที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์ได้อย่างแท้จริง เพราะสื่อออนไลน์เป็นเพียงช่องทาง หรือเครื่องมือในการสื่อสารแต่ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นมนุษย์ หากเป็นเช่นนี้แล้วครูพันธ์ใหม่อาจมีสถานะเป็นเพียง “เปลือก” ในการสร้างความรู้ แต่ไม่ใช่ “แก่น” ที่สร้างคุณค่าแห่งการเรียนรู้ของศิษย์แบบครูสมัยก่อนก็เป็นได้

เพราะฉะนั้นสัญลักษณ์สื่อใหม่ในพานไหว้ครูที่เปลี่ยนไปจึงสะท้อนให้เห็นเพียงรูปแบบการสื่อสารในพิธีกรรม แต่ยังขาดการสถานะครูพันธุ์ใหม่อย่างสมบูรณ์หากยังไม่ทำหน้าที่ในการสร้างจิตสำนึกของศิษย์ให้เข้าถึงความเป็นมนุษย์ (ผู้รู้จักใช้เหตุผล, ผู้มีจิตใจสูง) ได้อย่างสมบูรณ์

! http://bit.ly/19jRb58

Tags : อัญญาวีร์ อุนสวัสดิ์อาภา

สอบ ‘ครูผู้ช่วย’ ฉาวพ่นพิษ ชงเสริมศักดิ์ฟัน 4 บิ๊กสพฐ.

20 พฤษภาคม 2556

2 เขตพื้นที่ฯยังยื้อเพิกถอนบรรจุครูผู้ช่วย ตั้ง กก. สอบข้อเท็จจริงเพิ่ม อ้าง’ดีเอสไอ’ยังไม่ฟันธง แค่ ชี้ส่อไปในทางไม่สุจริต

จากกรณีที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ซึ่งมีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน ได้มีมติให้แจ้งไปยังคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษา 119 เขต และผู้อำนวยการโรงเรียน ให้พิจารณาเพิกถอนการบรรจุแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการครู ในตำแหน่งครูผู้ช่วย ในการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการครู ในตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็น หรือเหตุพิเศษ ว12 ในครั้งที่ผ่านมา จำนวน 334 ราย ตามที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ทำหนังสือแจ้งมายัง ก.ค.ศ.และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ 119 เขต เนื่องจากเห็นว่าบุคคลเหล่านี้กระทำการเข้าข่ายทุจริตในการสอบ ทำข้อสอบผิดในข้อเดียวกัน และมีคะแนนสอบที่สูงผิดปกติ อีกทั้งยังได้แนบเอกสารคำให้การของนายพิษณุ ตุลสุข หัวหน้าผู้ตรวจราชการ ศธ. ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงชุดของ ศธ. ซึ่งได้มีการสรุปเสนอให้ดำเนินการทางวินัยร้ายแรงกับผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) รวม 3 ราย เพราะมีมูลสงสัยว่าเป็นผู้ร่วมกระทำผิดวินัย กรณีละเลยหรือจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งประกอบด้วยนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) นายอนันต์ ระงับทุกข์ รองเลขาธิการ กพฐ. และนายไกร เกษทัน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติกร สพฐ.นั้น

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัด ศธ. ในฐานะประธานคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงการทุจริตสอบครูผู้ช่วย เปิดเผยว่า คณะกรรมการชุดที่ตนเป็นประธานได้ประชุมนัดสุดท้ายเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ที่ผ่านมา มีข้อสรุปให้ตั้งคณะกรรมการสอบ วินัยร้ายแรงผู้บริหาร ศธ. โดยได้เสนอผลสรุปให้นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. รับทราบแล้ว จากนี้ต้องรอว่านายว่าการ ศธ. รับทราบแล้ว จากนี้ต้องรอว่านายเสริมศักดิ์จะดำเนินการตามข้อเสนอของคณะกรรมการ หรือจะสั่งให้สอบสวนประเด็นใดเพิ่มเติมอีกหรือไม่

แหล่งข่าวระดับสูงใน ศธ.กล่าวว่า ผลสรุปการสอบสวนของคณะกรรมการชุดที่นางพนิตา เป็นประธาน ได้เสนอให้ตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรงผู้บริหารระดับสูงของ สพฐ. จำนวน 4 คน ประกอบด้วย นายชินภัทร นายอนันต์ นายไกร และนายสุเทพ ชิตยวงษ์ อดีตผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพิ่งมีมติแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจราชการ ศธ. เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคมที่ผ่านมา ในข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ทำให้ราชการเสียหายร้ายแรง อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการชุดนี้ยังไม่สามารถสรุปหรือชี้ชัดได้ว่า ผู้บริหาร สพฐ.ทั้ง 4 คน เกี่ยวข้องกับการทุจริตสอบครูผู้ช่วย โดยเสนอว่าหากจะให้ชี้ชัดจะต้องมีการสอบสวนข้อเท็จจริงเพิ่มเติมอีก

นายเสริมศักดิ์ กล่าวว่า ได้รับผลสรุปจากคณะกรรมการสืบสวนฯชุดของนางพนิตาแล้ว แต่ยังไม่ได้ดูรายละเอียด คาดว่าในวันที่ 19 พฤษภาคมนี้ จะสามารถบอกได้ว่าแนวทางดำเนินการต่อไปจะเป็นไปในทิศทางใด แต่หากใครที่มีหลักฐานชี้ว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่จริงก็ต้องดำเนินการตามที่คณะกรรมการสืบสวนฯเสนอมา แต่ถ้าใครที่ความผิดยังไม่ชัดเจนก็ต้องสอบสวนเพิ่มเติม

นายศักดิ์สิทธิ์ ถิรทัฬหกุล ประธาน อ.ก.ค.ศ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ขอนแก่น เขต 3 กล่าวว่า ได้รับหนังสือจากดีเอสไอแล้ว ซึ่งส่อว่าทุจริต จำนวน 2 รายชื่อ โดยปรากฏว่ารายชื่อแรกได้รับการบรรจุไปแล้วในลำดับที่ 2 ส่วนอีกรายชื่อยังไม่ได้รับการบรรจุ ซึ่งน่าประหลาดใจว่าผู้ที่สอบได้คะแนนสูงสุดลำดับที่ 1 ที่ได้รับการบรรจุไปแล้ว กลับไม่มีอยู่ในรายชื่อของดีเอสไอ
นายศักดิ์สิทธิ์กล่าวต่อว่า ในวันที่ 22 พฤษภาคมนี้ จะประชุม อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯโดยจะนำเอกสารที่ได้รับจากดีเอสไอมาประกอบการพิจารณา พร้อมทั้งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยระหว่างการตรวจสอบจะรอหนังสือแจ้งมติจาก ก.ค.ศ.ดังกล่าวด้วย ซึ่งยังตอบไม่ได้ว่าผลการพิจารณาของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ จะออกมาอย่างไร เพราะในหนังสือที่ได้รับจากดีเอสไอไม่ได้ระบุว่าให้ “ยกเลิก” ซึ่งโดยหลักการก็ยกเลิกไม่ได้อยู่แล้ว เพราะกระบวนการสอบคัดเลือกผ่านไปแล้ว ส่วน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯจะสามารถออกคำสั่งให้ผู้อำนวยการโรงเรียนสั่งให้ผู้ได้รับการบรรจุออกจากราชการได้หรือไม่นั้น ตนไม่สามารถคาดเดาคำตัดสินของที่ประชุม อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ได้ เนื่องจากดีเอสไอไม่ได้ฟันธงความผิด บอกแค่ว่าเป็นผู้ที่กระทำไปในทางส่อไม่สุจริต ซึ่งคำว่า “ส่อไปในทางไม่สุจริต” อาจจะแปลความว่าสุจริตหรือทุจริตก็ได้

นายโกวิท เพลินจิตร ผู้อำนวยการ สพป.อุบลราชธานี เขต 2 กล่าวว่า ได้รับหนังสือจากดีเอสไอแล้ว โดยแจ้ง 1 รายชื่อว่าส่อในทางไม่สุจริต และในหนังสือไม่ได้ระบุให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯยกเลิกการบรรจุ แต่ระบุว่ามีมูลความผิด ให้เขตพื้นที่ฯดำเนินการตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และว่าดีเอสไอกำลังสืบค้นข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติม ก็แสดงว่ายังไม่ได้ข้อยุติ ดังนั้น อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบ ส่วนที่ ก.ค.ศ.มีมติแจ้งให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯดำเนินการเพิกถอนการบรรจุตามที่ดีเอสไอมีหนังสือแจ้งถึงนั้น ขณะนี้ยังไม่มีหนังสือแจ้งมติดังกล่าวมา

“จริงๆ แล้ว ที่ สพป.อุบลราชธานี เขต 2 มีผู้สอบบรรจุครูผู้ช่วยที่มีคะแนนสูงผิดปกติ 2 ราย แต่ดีเอสไอแจ้งมาแค่ 1 ราย ดังนั้น ในวันที่ 20 พฤษภาคมนี้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯจะตั้งคณะกรรมการสืบข้อเท็จจริง และประมวลภาพรวม ทั้งนี้ ยอมรับว่าโดยภาพรวมมีการทุจริตสอบครูผู้ช่วยจริง แต่เอกสารหลักฐานที่จะเอาผิดยังไม่เพียงพอ อีกทั้งผู้ถูกเพิกถอน การบรรจุอาจฟ้องศาลปกครอง หรือศาลอาญาได้ จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ซึ่งถ้าจะให้สบายใจจริงๆ ก.ค.ศ.ควรฟันธงมาเลยว่า ใครกระทำความผิด และสั่งให้เพิกถอนมาเลย ไม่ใช่แค่ให้เป็นข้อมูลมาประกอบการพิจารณา” นายโกวิทกล่าว

นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ เปิดเผยถึงความคืบหน้าทางคดีการทุจริตสอบครูผู้ช่วยว่า ดีเอสไอกำลังรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อขออนุมัติหมายจับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับขบวนการทุจริต ส่วนผู้สอบครูผู้ช่วยได้คะแนนสูงผิดปกติ 344 ราย ที่ดีเอสไอได้มีหนังสือแจ้งไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 119 เขต ให้ดำเนินการปลดออกจากตำแหน่งครูผู้ช่วย ดีเอสไอกำลังรอการติดต่อจากบุคคลกลุ่มดังกล่าวอยู่ และเตรียมเรียกทุกคนมาให้การกับพนักงานสอบสวน โดยจะเรียกรายชื่อกลุ่มเขตพื้นที่ฯใน จ.นครราชสีมา มาสอบปากคำเป็นลำดับแรก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่พนักงานสอบสวนมีพยานเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่พนักงานสอบสวนมีพยานเอกสารหลักฐานที่ชัดเจนว่า มีการซื้อขายเฉลยคำตอบในการสอบครูผู้ช่วยจากบุคคลใด อีกทั้งใน สพป.พื้นที่ จ.นครราชสีมา มีบุคคลที่เข้าข่ายทุจริตถึง 48 คน

ทั้งนี้ สำหรับหนังสือที่ดีเอสไอส่งไปยังสำนักงานเขตพื้นที่ฯ 119 เขต ให้ดำเนินการปลดออกจากตำแหน่งครูผู้ช่วย รวมจำนวน 344 รายดังกล่าวนั้น ประกอบด้วย สพป.กาญจนบุรี เขต 1 จำนวน 1 ราย, สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1,2 และ 3 จำนวน 4 ราย, สพป.กำแพงเพชร เขต 1 และ 2 จำนวน 4 ราย, สพป.ขอนแก่น เขต 1,2,3,4 และ 5 จำนวน 7 ราย, สพป.จันทบุรี เขต 2 จำนวน 3 ราย, สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 จำนวน 2 ราย, สพป.ชลบุรี เขต 1 และ 2 จำนวน 2 ราย, สพป.ชัยนาท 5 ราย, สพป.ชัยภูมิ เขต 1,2 และ 3 จำนวน 15 ราย, สพป.เชียงใหม่ เขต 5 จำนวน 8 ราย, สพป.ตรัง เขต 2 จำนวน 2 ราย, สพป.ตาก เขต 2 จำนวน 1 ราย

สพป.นครปฐม เขต 1 จำนวน 3 ราย, สพป.นครพนม เขต 1 และ 2 จำนวน 5 ราย, สพป.นครราชสีมา เขต 1,2,3,4,5,6 และ 7 จำนวน 48 คน, สพป.นครศรีธรรมราช เขต 4 จำนวน 1 ราย, สพป.นครสวรรค์ เขต 1 จำนวน 3 ราย, สพป.นราธิวาส เขต 2 และ 3 จำนวน 3 ราย, สพป.น่าน เขต 1 และ 2 จำนวน 8 ราย, สพป.บึงกาฬ เขต 1 จำนวน 9 ราย, สพป.บุรีรัมย์ เขต 1,3 และ 4 จำนวน 8 ราย, สพป.ปทุมธานี เขต 1 และ 2 จำนวน 4 ราย, สพป.ปราจีนบุรี เขต 1 จำนวน 1 ราย, สพป.ปัตตานี เขต 1 จำนวน 1 ราย, สพป.พะเยา เขต 1 จำนวน 1 ราย, สพป.พัทลุง เขต 2 จำนวน 1 ราย, สพป.พิจิตร เขต 2 จำนวน 2 ราย, สพป.พิษณุโลก เขต 2 และ 3 จำนวน 5 ราย, สพป.เพชรบุรี เขต 2 จำนวน 1 ราย, สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 และ 3 จำนวน 6 ราย, สพป.แพร่ เขต 1 และ 2 จำนวน 2 ราย, สพป.มหาสารคาม เขต 1 จำนวน 2 ราย, สพป.มุกดาหาร เขต 1 จำนวน 6 ราย
สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 จำนวน 1 ราย สพป.ยโสธร เขต 2 จำนวน 2 ราย, สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 และ 2 จำนวน 2 ราย, สพป.ระยอง เขต 1 และ 2 จำนวน 5 ราย, สพป.ราชบุรี เขต 1 จำนวน 1 ราย, สพป.ลพบุรี เขต 1 จำนวน 3 ราย, สพป.เลย เขต 1,2 และ 3 จำนวน 18 ราย, สพป.ศรีสะเกษ เขต 1,2 และ 4 จำนวน 7 ราย, สพป.สกลนคร เขต 1,2 และ 3 จำนวน 16 ราย, สพป.สงขลา เขต 2 จำนวน 2 ราย, สพป.สตูล 1 ราย, สงขลา เขต 2 จำนวน 2 ราย, สพป.สตูล 1 ราย, สพป.สระบุรี เขต 1 และ 2 จำนวน 7 ราย, สพป.สิงห์บุรี 2 ราย, สพป.สุรินทร์ เขต 1,2 และ 3 จำนวน 22 ราย, สพป.หนองคาย เขต 2 จำนวน 1 ราย, สพป.หนองบัวลำภู เขต 1 จำนวน 2 ราย, สพป.อำนาจเจริญ 4 ราย, สพป.อุดรธานี เขต 1,2,3 และ 4 จำนวน 9 ราย, สพป.อุทัยธานี เขต 2 จำนวน 4 ราย สพป.อุบลราชธานี 1,2,3 และ 4 จำนวน 10 ราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เขต 2 (กรุงเทพมหานคร) 1 ราย, สพม.เขต 4 (ปทุมธานี-สระบุรี) 2 ราย, สพม.เขต 6 (ฉะเชิงเทรา-สมุทรปราการ) 1 ราย, สพม.เขต 7 (ปราจีนบุรี-นครนายก-สระแก้ว) 1 ราย
สพม.เขต 9 (สุพรรณบุรี-นครปฐม) 1 ราย, สพม.เขต 10 (เพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์สมุทรสงคราม-สมุทรสาคร) 1 ราย, สพม.เขต 18 (ชลบุรี-ระยอง) 2 ราย, สพม.เขต 19 (เลยหนองบัวลำภู) 7 ราย, สพม.เขต 20 (อุดรธานี) 2 ราย, สพม.เขต 21 (หนองคาย) 3 ราย, สพม.เขต 24 (กาฬสินธุ์) 4 ราย, สพม.เขต 25 (ขอนแก่น) 2 ราย, สพม.เขต 27 (ร้อยเอ็ด) 1 ราย, สพม.เขต 29 (อุบลราชธานี-อำนาจเจริญ) 3 ราย, สพม.เขต 30 (ชัยภูมิ) 2 ราย, สพม.เขต 31 (นครราชสีมา) 3 ราย, สพม.เขต 33 (สุรินทร์) 4 ราย, สพม.เขต 40 (เพชรบูรณ์) 3 ราย, สพม.เขต 41 (กำแพงเพชร-พิจิตร) 1 ราย, สพม.เขต 42 (นครสวรรค์-อุทัยธานี) 1 ราย และสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 1 ราย

— มติชน ฉบับวันที่ 20 พ.ค. 2556 (กรอบบ่าย) —

! http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32760&Key=hotnews