Blog.NTU

บันทึก หรือเรื่องราวจาก blog ของมหาวิทยาลัยเนชั่น ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาที่น่าสนใจ

ชวนคิดเปลี่ยนห้องสมุดเป็นบ้านหลังที่สาม

อ่านหนังสือที่บ้าน
อ่านหนังสือที่บ้าน
ภาพประกอบจาก http://www.thaiall.com/readbookt
ติดตามข้อมูลข่าวสารเชิงพัฒนาในต่างประเทศ
ประทับใจแนวคิดเชิงนวัตกรรมมากมายที่ปรากฏในสื่อ
บางแนวคิดก็ได้แต่มอง บ้างก็ไม่เห็นด้วย
บุรินทร์ รุจจนพันธุ์
บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

บ้าง ก็อยากนำมาใช้ เช่น การทำให้ห้องสมุดเป็นบ้านหลังที่สาม หากตีความว่าการใช้เวลาในชีวิตอยู่ที่ใดมาก ก็จะเรียกว่าบ้าน ดังนั้น นอกจากบ้านที่ใช้หลับนอนจะเป็นบ้านหลังแรก คงปฏิเสธไม่ได้ว่าบ้านหลังที่สองคือโรงเรียน เพราะตั้งแต่ประถมถึงมหาวิทยาลัย เราใช้ชีวิตไปมากกว่า 16 ปีตั้งแต่เริ่มจำความได้

ตามที่ปรากฏในสื่อของสิงคโปร์ และมีการนำมาแบ่งปันในไทย มีพาดหัวว่า The library : Your third home พบว่า สถิติการเข้าห้องสมุดจำนวน 21 ห้องสมุดในปี 2544 มีผู้เข้าไปใช้ถึง 28 ล้านครั้ง ในปี 2546 มีผู้เข้าใช้ 31.2 ล้านครั้ง ปี 2554 มีผู้เข้าใช้ 37.5 ล้านครั้งในเครือข่าย 25 ห้องสมุด ซึ่งพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จำนวนประชากรจะมีเพียง 5 ล้านคน และกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรเป็นสมาชิกห้องสมุดโดยการดูแลของคณะกรรมการห้องสมุดแห่งชาติ (NLB = National Library Board) ที่สนับสนุนโดยภาครัฐอย่างจริงจัง

แม้จำนวนการเข้าใช้บริการ และยืมหนังสือจะเพิ่มขึ้น แต่ด้วยเทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification) และเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ห้องสมุดไม่จำเป็นต้องเพิ่มเจ้าหน้าที่ห้องสมุดตามจำนวนการใช้งาน ด้วยการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ปัจจุบันจะพบการเข้าแถวรอรับบริการมีน้อยมากด้วยระบบการจัดการห้องสมุด (EliMS = Electronic Library Management System) ที่ จะช่วยตอบคำถามตามความต้องการของผู้ใช้บริการ ทำให้จำนวนผู้เข้าแถวรอรับบริการที่เคาน์เตอร์ลดลง เวลาส่วนใหญ่ก็จะใช้ไปกับการจัดหนังสือเข้าชั้น ห้องสมุดมีจุดคืนหนังสืออัตโนมัติ 24 ชั่วโมง และไม่ต้องกลับไปคืนหนังสือที่ห้องสมุดเดิม แต่สามารถคืนที่ใดก็ได้ที่เป็นจุดรับคืนหนังสือ และที่ตั้งห้องสมุดก็จะไปอยู่ในสถานที่ต่างๆ ที่สะดวกในการใช้บริการทั่วประเทศ การปรับปรุง และออกแบบให้ห้องสมุดเป็นสถานที่น่าเข้าไปใช้บริการก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำ ให้ห้องสมุดมีผู้เข้าไปใช้บริการเป็นจำนวนมาก

มองย้อนกลับมาที่ประเทศไทย พบว่า สถิติการอ่านของคนไทยอยู่ในระดับต่ำ สืบเนื่องจากการไม่รักการอ่านหนังสือ หรือหนังสือที่มีอยู่ไม่น่าอ่าน หรือสถานที่อ่านหนังสือไม่น่าเข้าไปใช้บริการ ก็ล้วนรวมกันแล้วส่งผลให้ร้านหนังสือจำนวนไม่น้อยพบวิกฤติทางเศรษฐกิจ และปิดตัวเองไป สำนักพิมพ์ที่จัดทำหนังสือหรือนิตยสารก็ต้องแข่งขันกันสูง เป็นผลให้ปัจจุบันแผงจำหน่ายนิตยสารจะมีแต่ภาพหญิงสาวที่แต่งกายด้วยเสื้อ ผ้าน้อยชิ้นเป็นที่ชินตาเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ผ่านไปมาให้เลือกซื้อ หนังสือโดยพิจารณาจากหน้าปก

ส่วนนโยบายการยุบโรงเรียนขนาดเล็กของรัฐบาลก็มีการให้เหตุผลว่า งบประมาณของภาครัฐมีจำกัดการจะให้งบประมาณสนับสนุนโรงเรียนที่มีนักเรียนไม่ ถึง 60 คน เท่ากับโรงเรียนที่มีนักเรียนหลายพันคน แต่มีคุณภาพของหนังสือและห้องสมุดเท่ากันคงไม่เหมาะสม หากยุบโรงเรียนเล็กหลายโรงเรียนเป็นโรงเรียนเดียว แล้วทุ่มงบประมาณลงไปก็จะทำให้ได้ห้องสมุดที่มีคุณภาพและเป็นแหล่งเรียนรู้ หลักของโรงเรียน แต่นโยบายการยุบโรงเรียนมีประเด็นละเอียดอ่อนอยู่ไม่น้อย ก็เชื่อว่าจะมีการพิจารณาในประเด็นต่างๆ รอบด้านก่อนตัดสินใจ

แต่นโยบายของภาครัฐที่จะพัฒนาห้องสมุดประชาชนในประเทศไทยยังต้องรอดูกันต่อไป เพราะยังเห็นรูปธรรมไม่ชัด เมื่อเดินเข้าไปในห้องสมุดประจำอำเภอ หรือประจำจังหวัดก็ต้องเข้าใจว่างบประมาณน้อย และกลายเป็นสถานที่ที่ไม่น่าเข้าไปใช้บริการด้วยข้อจำกัดเรื่องจำนวน และคุณภาพของหนังสือในห้องสมุด รวมถึงความสะดวกในการใช้บริการ หากจะให้คนไทยมองว่าห้องสมุดคือบ้านหลังที่สามคงต้องพัฒนาอย่างจริงจัง และใช้เวลาอีกนาน

ค่านิยมเรื่องการอ่านของคนไทยที่หวังว่าจะเพิ่มสถิติการอ่านให้สูงขึ้น เริ่มมีอุปสรรคชัดเจนตั้งแต่เริ่มมีความเชื่อว่าทุกอย่างค้นหาได้จาก google.com ทำให้ความสนใจที่จะซื้อหนังสือจากร้านหนังสือลดลง เนื่องจากทุกอย่างหาอ่านได้ในอินเทอร์เน็ต ประกอบกับค่านิยมที่มีต่อเครือข่ายสังคมจนหลายคนอาจมองว่าบ้านหลังที่สามคือ โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social network) ที่มี facebook.com เป็นที่มั่นสำคัญหลังการเชื่อมต่อออนไลน์ทุกครั้ง ค่าสถิติ เมื่อต้นปี 2556 พบว่า เมืองหลวงของประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่งของโลกที่มีสมาชิกเฟซบุ๊คสูงที่สุด มีบัญชีผู้ใช้สูงถึง 12.8 ล้าน ในภาพรวมของประเทศมี 18.3 ล้านบัญชี คิดเป็นร้อยละ 27 ของจำนวนประชากรที่ใช้เฟซบุ๊ค และค่าสถิติการใช้เฟซบุ๊คย่อมหมายถึงการดึงความสนใจของคนไทยออกจากการอ่าน หนังสือ เนื่องจากต้องให้เวลากับเฟซบุ๊คมาก ทำให้มีเวลากับการอ่านหนังสือลดลง

แล้วอนาคตของห้องสมุดไทยจะเดินไปทางใดก็ต้องฝากไว้กับรัฐบาลไทยที่จะผลัก ดันให้ห้องสมุดไทยอยู่ในใจคนไทย ด้วยการพัฒนาระบบการศึกษาให้คนไทยรู้ว่าการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีความสำคัญกับ การดำรงชีวิตเพียงใด ถ้าจำนวนผู้เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ตลอด ชีวิตมีเพิ่มขึ้น สถิติการอ่านหนังสือก็จะเพิ่มขึ้น จำนวนห้องสมุดที่ดี และมีชีวิตชีวาก็จะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ก็หวังว่าวันนั้นจะมาถึงในเร็ววัน

แหล่งอ้างอิง
! http://news.voicetv.co.th/global/75568.html
! http://newspapers.nl.sg/Digitised/Page/today20030306-1.1.3.aspx
! http://fbguide.kapook.com/view55860.html

โดย : ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ กรุงเทพธุรกิจ

! http://bit.ly/17e934p
! http://blog.nation.ac.th/?p=2808

ปอกเปลือกทีวีดิจิทัล (TV digital peel)

ปอกเปลือกทีวีดิจิทัล (TV digital peel)
ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ เจ้าของวิทยานิพนธ์ Digital TV in Thailand
ที่มา: เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

! http://mediamonitor.in.th/archives/3708
! http://www.sikares.com/
! http://www.nstda.or.th/news/12133-nstda

ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ Digital TV
ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ Digital TV

หากถามถึงการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับ ระบบโทรทัศน์ใหม่ที่กำลังจะเกิดในประเทศไทยอย่าง ‘ระบบดิจิทัล’ หรือที่เราเรียกกันสั้นว่า ‘ทีวีดิจิทัล’ นั้น คนไทยส่วนมากก็พอจะรับทราบกันในระดับหนึ่ง และเป็นช่วงระยะเวลามาช่วงหนึ่งพอสมควร

ที่สำคัญ ล่าสุด ซึ่งคงถือว่าเป็นข่าวดีสำหรับคนไทยคือ มีการยืนยันจาก พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) แล้วว่า คนไทยจะได้ชมภาพและฟังเสียงจาก ‘ทีวีดิจิทัล’ เป็นครั้งแรกในวันที่ 5 ธันวาคม 2556 นี้อย่างแน่นอน

โดยในการประมูลช่องทีวีดิจิทัลทั้ง 30 ช่อง ในช่วงปี 2556 นี้ จะแบ่งเป็นช่องธุรกิจ 24 ช่อง และช่องสาธารณะ 6 ช่อง จากทั้งหมดที่จัดสรร 12 ช่องในกลุ่มสาธารณะ ส่วนช่องอื่นๆ ที่เหลือรวมทั้งทีวีดิจิทัล ประเภทชุมชน จะมีการจัดสรรใบอนุญาตให้ในปีหน้าฟ้าใหม่ต่อไป รวมเป็น 48 ช่อง

อย่างไรก็ดี ยังมีแง่มุมของความห่วงใยจากนักวิชาการ ที่ต้องเรียกว่า เชี่ยวชาญด้านทีวีดิจิทัลเลยก็ว่าได้ นั่นคือ ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ ผู้เป็นเจ้าของวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก หัวข้อ Digital TV in Thailand ผู้ที่ได้ดีกรีดอกเตอร์ PhD in International Communication Macquarie University Sydney Australia

โดยระหว่างที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) คงกำลังคร่ำเคร่งให้การประมูลครั้งที่จะเกิดขึ้นผ่านไปด้วยดี นั้น ค่าที่ได้ศึกษาบทเรียนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในแต่ละประเทศอย่างลึกซึ้ง เนชั่นสุดสัปดาห์จึงได้โอกาสเข้าสัมภาษณ์ เพื่อเก็บเกี่ยวความรู้ แนวคิด ความคิดเห็น ในเชิงเปรียบเทียบว่า ในการเปลี่ยนผ่านจากโทรทัศน์ระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิทัลทีวี หรือเรียกว่า ‘อนาล็อคสวิทช์ออฟ ดิจิทัลสวิชท์โอเวอร์’ ที่กำลังจะเกิดในประเทศไทย แตกต่างหรือเหมือนหรือมีแนวโน้มที่จะเดินตามรอยทีวีดิจิทัลในต่างประเทศอย่างไร

เบื้องต้นต้องบอกว่า สิ่งที่ได้จาก ดร.สิขเรศ ในฐานะนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญไม่แค่เรื่องทีวีดิจิทัล แต่ยังรวมไปถึงนิวมีเดีย และองค์ความรู้ทางสื่อสารมวลชนในด้านต่างๆ คือการฉายภาพให้เข้าใจกันง่ายๆ พร้อมตั้งคำถามหลายๆ คำถามไปพร้อมๆ กัน เกี่ยวกับภาพของอนาคตทีวีดิจิทัลไทย แบบเป็น Scenario Thinking หรือ กระบวนการคิดและคาดการณ์เกี่ยวกับอนาคต เนื่องจากได้ศึกษาทีวีดิจิทัลมาแล้วด้วยตัวเองถึงโมเดลของประเทศต่างๆ อีกหลายประเทศ

อนึ่ง ปัจจุบัน ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ มีตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการ หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ‘การบริหารจัดการสื่อใหม่’ (Master of Communication Arts Program in New Media Management : NMM) ที่มหาวิทยาลัยเนชั่น อันเป็นหลักสูตรแรกในประเทศไทย ที่ใช้กรณีศึกษาจากที่เกิดขึ้นจริงในโลกนิวมีเดียสมัยใหม่มาให้นักศึกษาระดับปริญญาโทได้เรียนรู้การบริหารจัดการให้พัฒนาและอยู่รอด ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสื่อยุคใหม่ที่รวดเร็ว

ยังมีสาระข้อมูลอีกมากเกี่ยวกับนิวมีเดีย และกระบวนทัศน์ต่างๆ ทางสื่อสารมวลชน และเทคโนโลยีสื่อฯ ที่ ดร.สิขเรศ นำเสนอไว้อย่างน่าสนใจ ติดตามได้ที่ http://www.sikares-digitalmedia.blogspot.com, https://twitter.com/sikares และ https://www.facebook.com/drsikares อาจารย์ทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง Digital TV in Thailand ทำไมสนใจเรื่องนี้

ครับ ผมทำทีสิส (Thesis) เล่มนี้ในช่วงปี 2004-2007 โดยประมาณ แล้วด้วยความที่ผมทำงานด้านโปรดักชั่นมาก่อน จนถึงโปรดิวเซอร์ สิ่งที่สนใจอย่างน้อยๆ มันก็ต้องแบ็คกราวด์ของตัวเราเอง แบ็คกราวด์ของเราก็อยู่ในแวดวงโทรทัศน์ ภาพยนตร์มาก่อน เพราะฉะนั้นเลยเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และช่วงนั้นเป็นช่วงรอยต่อการเปลี่ยนผ่านจากอนาล็อคไปสู่ดิจิทัลพอดี ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา อังกฤษ หรือออสเตรเลีย เหมือนบ้านเราตอนนี้ เขาเริ่มมีกระบวนทัศน์ตรงนี้เกิดขึ้นแล้ว แต่ทีนี้ เข้าเนื้อหาก็คือว่า กระบวนทัศน์ในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลบ้านเรา จริงๆ แล้วมีมาตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1990 ก็คือช่วง 1998-99 ตอนนั้นเป็นช่วงที่เป็นการแข่งกันของเจ้าพ่อเทคโนโลยีของโลก เช่น ยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เพราะฉะนั้นตอนนั้นเป็นเรื่องของการชิงธงความเป็นเจ้าพ่อทางด้านเทคโนโลยีบรอดคาสติ้ง จากยุคอนาล็อคมาสู่ยุคดิจิทัล

เป็นเจ้าพ่อเพื่ออะไร

ก็คือตอนนั้นใครที่จะสามารถโน้มน้าวใจ พูดง่ายๆว่า พวกนี้คือสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ทั้งหมด คำว่าเทคโนโลยีที่จริงก็คือสินค้านั่นเอง คือกระบวนการทุนนิยมนั่นเอง เพราะฉะนั้นถ้าเราจะลองตีความนัยทางเศรษฐศาสตร์การเมืองก็ได้ จะเห็นว่ามันเป็นกระบวนการที่เราจะผ่องถ่ายเทคโนโลยีตรงนี้มาอย่างไร ในที่สุดก็รบกันซักพักหนึ่ง แต่ละประเทศก็ใช้ระบบและวิธีคิดของตัวเอง จนมีการเปลี่ยนผ่านจริงๆ ก็ในช่วงปลายปี 1990-2000 เริ่มมีการก่อตัวของนโยบายสาธารณะ เริ่มมีการพูดคุยกันในรัฐสภาของแต่ละที่ เริ่มมีการวางแผนของเรกกูเลเตอร์ หรือว่าองค์กรกำกับดูแลของแต่ละที่

มาสู่ความสนใจเรื่องทีวีดิจิทัลของบ้านเรา

จากงานของผมจะเห็นว่า แต่ละประเทศมีประสบการณ์ในการเปลี่ยนผ่านมา มีทั้งประสบการณ์ความสำเร็จ ประสบการณ์ความล้มเหลว นี่จึงเป็นแรงจูงใจของผม ที่ผมคิดว่า เรื่อง อนาล็อคสวิทช์ออฟ ดิจิทัลสวิทช์โอเวอร์ หรือว่าการเปลี่ยนผ่านมาสู่ระบบดิจิทัลมันน่าสนใจนะ มันสนุกและมันจะเห็นความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

อาจารย์ตั้งหัวข้อในเชิงเปรียบเทียบ จากช่วงเวลาแล้ว ตอนนั้นบ้านเรายังไม่มีทีวีดิจิทัลให้เปรียบเทียบหรือเปล่า

บ้านเราหลายคนเข้าใจผิดว่า โทรทัศน์ดิจิทัลมันเพิ่งเกิด และมันกำลังจะเกิด ไม่ใช่นะครับ(ยิ้ม) ประเด็นของเราถ้าพูดถึงคำว่าโทรทัศน์ดิจิทัล ผมอยากจะให้นิยามแก่คนอ่านให้ถูกต้องก่อนนิดหนึ่งก็คือว่า อันที่หนึ่งคำว่าโทรทัศน์ดิจิทัล ถ้าจะแบ่งตามแพลตฟอร์มหรือหมายถึงการแบ่งตามวิธีการส่งสัญญาณ ผมคิดว่าเราต้องมาบอกก่อนว่าโทรทัศน์ มันมีการส่งอยู่ 3-4 ลักษณะ หนึ่งส่งผ่านคลื่นความถี่ทางภาคพื้นดิน หรือ Terrestrial Television หรือโทรทัศน์ภาคพื้นดินนั่นเอง สองคือผ่านดาวเทียม หรือ Satellite Television อันที่สามก็คือผ่านสายเคเบิล หรือเคเบิลทีวีนั่นเอง และมันยังมีรูปแบบอื่นๆ อีกนะ เช่น ไอพีทีวี หรือ Internet Protocal Television ก็คือโทรทัศน์ที่ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต แล้วยังมีเรื่องเกี่ยวกับ Second screen เพิ่มเติมเข้ามาอีก นี่คือระบบนิเวศของโทรทัศน์ มันเป็นอย่างนี้ แต่ถ้าจะแบ่งอย่างง่ายๆ 1.แบบใช้คลื่นความถี่ และ 2.แบบไม่ใช้คลื่นความถี่นั่นเอง

สิ่งที่เรากำลังพูดถึง คือ โทรทัศน์ดิจิทัลภาคพื้นดิน

ใช่ ถามว่า ทีวีดิจิทัลภาคพื้นดิน เพิ่งเริ่มมีการขยับเขยื้อนมีการปรับเปลี่ยน มีการทำตรงนี้ใช่หรือไม่ ไม่ใช่ หลายคนรู้ ผู้ใหญ่ในวงการโทรทัศน์เรารู้ดี หลักฐานหนังสือช่วงปี 2543 มีการทดลอง ส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัลเกิดขึ้น กี่ปีมาแล้วครับ ปีนี้ กสทช. บอกว่าจะทำการส่งสัญญาณทีวีดิจิทัล คือ 5 ธันวาคม 2556 ก็นับมาได้เมื่อ 13 ปีที่แล้ว เรามีแล้วทีวีดิจิทัล เป็นโมเดลคล้ายกัน การทดลองออกอากาศเหมือนกัน ผู้ประกอบการผู้บริหารสถานีใหญ่ๆ ทั้งหมดทุกท่านทราบอยู่แล้ว จะเข้าร่วมโครงการตรงนี้อยู่แล้ว ถามว่า โทรทัศน์ดิจิทัล ภาคพื้นดินเพิ่งมีในประเทศไทยหรือเปล่า ผมตอบเลยไม่ใช่นะ มีการรับทราบ มีการอิมพลีเมนเตชั่นมาเมื่อ 13 ปีที่แล้ว เราเป็นประเทศในกลุ่มแรกๆ เสียด้วยซ้ำไป ที่ได้เริ่มสัมผัสกับเทคโนโลยีโทรทัศน์ดิจิทัลภาคพื้นดิน

ความพร้อมของผู้ประกอบการในช่วงนั้นเป็นอย่างไร

ตอนนั้นผมทำวิทยานิพนธ์ปี 2004 -2007 โดยประมาณ ผมได้มีโอกาสไปสถานีโทรทัศน์ไทยเกือบทั้งหมด ได้มีโอกาสไปดูไปสังเกตการณ์ และได้คุยกับผู้บริหาร ซึ่งต้องขอขอบคุณ ถามว่าพร้อมไหม พร้อมนะครับ มันเหมือนกับการสับสวิทช์นะครับ ยกตัวอย่าง ช่วงนั้นเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างเทคโนโลยีการผลิตของโทรทัศน์อนาล็อคไปสู่ดิจิทัล ช่วงนั้นสวิทเชอร์ทั้งหมดรออยู่แล้ว เป็นระบบดิจิทัลทั้งหมดแล้ว คือจะบอกว่าเป็นเชนที่ตลก คือสมัยนั้นเราทำงานทั้งหมดเลยด้วยเครื่องตัดต่อ ด้วยคอมพิวเตอร์กราฟฟิก ด้วยเวอร์ชวลสตูดิโอ อะไรทุกอย่าง แต่เวลาเราเอาท์พุท เราต้องเอาท์พุทด้วยเทปเบต้าแคมคืออนาล็อค ต้องไปใส่เทปเพลย์เยอร์แล้วส่งสัญญาณออกอากาศอีกทีหนึ่ง ซึ่งในการส่งสัญญาณออกอากาศบางทีเราส่งขึ้นดาวเทียมเสียด้วยซ้ำไป ซึ่งดาวเทียมสมัยนั้น ไทยคมก็เป็นดิจิทัลเรียบร้อยแล้วเหมือนกัน

แต่บ้านเราไม่เกิดเพราะอะไรคงต้องย้ำกันอีกที

ครับ เพราะเป็นช่วงสุญญากาศของ กสทช. เรามีเต็มที่คือ กทค. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม) ก็ไม่สามารถจะทำ บทบาทอะไรบางอย่างของ กสทช.ได้ เพราะการเปลี่ยนผ่านมันต้องใช้กลไกทางกฎหมาย มันต้องใช้กลไกทางการบังคับบัญชา มันต้องใช้กลไกลทางรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ไม่ใช่อยู่ดีๆ เราจะมาบอก เอ้าช่อง 3 ส่งเลยนะดิจิทัล ไม่ได้ เพราะฉะนั้นในงานวิจัยของผมจึงบอกว่าถึงสิ่งเหล่านี้ว่า ที่เราไม่สามารถมีทีวีดิจิทัลได้เพราะเราไม่มีเรกกูเลเตอร์ หรือ กสทช. ที่มีอำนาจเปลี่ยนผ่านเด็ดขาด สิ่งเหล่านั้นคืออุปสรรค

ในต่างประเทศการเปลี่ยนผ่านของเขาติดปัญหาทำนองนี้ไหม

ร้อยแปดเหมือนกัน ยกตัวอย่างในอเมริกา แบบเขามีอีโก้ของตนเองมากในการเปลี่ยนผ่าน ช่วงปี 2002 เขาอยากจะทำ แต่ก็ทำไม่ได้ จนเลื่อนมาเรื่อยๆ จนปี 2009 คิดดูว่าเขาเริ่มพูดกันช่วงต้นปี 1999 กี่ปี ทศวรรษหนึ่งเลยนะ กว่าอเมริกาจะสวิทช์ออฟระบบอนาล็อคได้ เขามีเงินขนาดไหนเขายังใช้เวลา 10 ปีโดยประมาณ เพราะอะไร พูดเลยว่าเป็นแค่จุดเล็กๆ หลายเรื่องที่เราคิดไม่ถึง เช่น เพราะเขาไม่สามารถบริหารจัดการในการแจกคูปองสนับสนุนโทรทัศน์ดิจิทัลได้ และเซตท็อปบ๊อกซ์หรือกล่องรับสัญญาณ ไม่สามารถนำส่ง หรือไม่สามารถแจกจ่ายให้กับประชาชนได้ คือปัญหานี้ ต้องบอกเลยว่ามันคิดได้ไง (หัวเราะ)

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการยอมรับนวัตกรรม มันมีหลายระดับนะ สิ่งที่จูงใจของคนนะ อันที่ 1 ถ้ากลไกราคา ไม่เป็นที่พึงพอใจสำหรับผู้บริโภค เขาก็ปฏิเสธ เพราะฉะนั้นอเมริกาก็พยายามคิดเรื่องแจกคูปอง อันที่ 2 ถ้าคุณลักษณะหรือคุณภาพของมันเปรียบเทียบไม่แตกต่าง ประชาชนก็ยอมรับนวัตกรรมตรงนี้ไม่ได้ แล้วเราอย่าลืมว่าในเส้นเคิฟของนวัตกรรม มันมีกลุ่มคน 4-5 กลุ่ม จากคนที่รับนวัตกรรมได้เลย จนถึงคนที่ไม่เอาเลย เพราะฉะนั้นที่อเมริกา ปลายปี 2009 ตอนแรกต้องสวิทช์ออฟกุมภาฯ 2009 เลื่อนไปเป็นมิถุนายน 2009 โอบาม่าคนเซ็นกุมขมับเลย เลื่อนเพราะอะไร เพราะในช่วงสุดท้ายเขาทำการสำรวจ มีประชากรอเมริกาประมาณร้อยละเกือบ 15 เปอร์เซ็นต์ ไม่สนใจการเปลี่ยนตรงนี้ ถือว่าเยอะนะครับ เพราะอเมริกาประเทศใหญ่ ผลคือบางบ้านเขายังพอใจระบบเดิมอยู่ แล้วก็เรื่องคูปองที่ตกสำรวจอะไรก็แล้วแต่ นี่แค่ประเทศเดียวนะ ทางญี่ปุ่นเขาก็เลื่อนๆ เหมือนกัน (หัวเราะ)

บ้านเราถ้าเอาเรื่องการยอมรับนวัตกรรม

บ้านเรายังไม่มีการสำรวจตัวเลขที่แท้จริงเรื่องการยอมรับนวัตกรรมตรงนี้ ว่าคนยอมรับเทคโนโลยีตรงนี้ขนาดไหน อย่างไร แต่เรามีนะ ยังมีคนที่ไม่ยอมรับ คนไม่สนใจเลย เพราะฉะนั้น ถ้าถามถึงโทรทัศน์ดิจิทัล ถ้ามองง่ายๆ ก็บอกว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องเปลี่ยนผ่าน แค่สับสวิทช์ แต่ถ้ามองยากก็คือว่า เราอย่าลืมว่าเรายังมีคนไม่พร้อม ยอมรับนวัตกรรม อย่างอเมริกาคนที่เขาคอนเซอร์เวทีฟก็เยอะและคนที่เขาไม่มีความจำเป็นก็มี เอาง่ายๆ ร้านผัดข้าวข้างตึกเรา ป้าเขาขอเปิดแค่ฟังเสียงล่ะ เพราะฉะนั้นเราต้องยอมนับว่าเรามีประชาชนที่คิดแบบนี้ แล้วเราถูกหล่อหลอมมาด้วยโทรทัศน์ 3 5 7 9 มา 50-60 ปีแล้ว เราก็คิดว่าไม่จำเป็นไม่เป็นไร

ก็ไม่แปลกถ้าบ้านเราจะมีอุปสรรครออยู่

แน่นอน เหมือนกัน อย่างตอนนี้บ้านเราจะพูดคำว่า ‘สงครามแพลตฟอร์ม’ กันพร่ำเพรื่อ ผมจะบอกว่า ถ้าเราไม่เรกกูเลเตอร์ ภาคอุตสาหกรรมให้ร่วมมือกัน ทั้งภาคอุตสาหกรรมโทรทัศน์ อุตสาหกรรมผู้ผลิต ผมคิดว่าการเปลี่ยนผ่านจะมีอุปสรรค เพราะทุกวันนี้ดู มีวาทกรรม มีแนวโน้ม หรือมีอะไรก็แล้วแต่ มีการขีดเส้นระหว่างโทรทัศน์ดาวเทียม โทรทัศน์เคเบิล และโทรทัศน์ภาคพื้นดิน อันนี้จะเป็นจุดวิกฤติที่เป็นอุปสรรค เลิกพูดเลยคำว่าสงครามแพลตฟอร์ม เลิกพูดได้แล้ว เราคิดว่าเรายิ่งใหญ่จนต้องมาขีดเส้นกันขนาดนั้นเลยเหรอ เพราะอะไร อังกฤษมีประสบการณ์นี้มาแล้วพยายามจะเตะคนออกไปจากวงโคจร คือสมัยที่เขาทำโทรทัศน์ดิจิทัลใหม่ๆ เขาล้มเลย ไอทีวียูเค คือถ้าเราเตะคนออกจากวงการ ลองคิดดูนะ เคเบิลกับแซทเทลไลท์จะเป็นตัวเล่นโทรทัศน์ภาคพื้นดินอย่างมาก เพราะตอนนี้ตัวเลขอยู่ 52 ความเป็นจริงไม่รู้เท่าไหร่ กลุ่มนี้มีพลังนะ ถึงแม้ว่าเราจะวิจารณ์เนื้อหาเขาว่าไร้สาระอะไรก็แล้วแต่ โทรทัศน์ป้าเช็งนะ โทรทัศน์โอนามิ อย่าไปดูถูกลีน่าจังนะ เพราะฉะนั้นเราจะมีวิธีไหนไหม ในการสมานพวกนี้เข้ามาด้วยกัน เพราะในที่สุดแล้วมันคือคอนเวอร์เจนซ์มันต้องรวมกันหมด ไอแพด สมาร์ทโฟนเป็นตัวอย่าง มันคอนเวอร์เจนท์กันหมดเรียบร้อยแล้ว ถ้าพูดคำว่าสงครามแพลตฟอร์ม มันคือแบ่งแยก เราต้องนิยามใหม่ แล้วมาคิดกันว่าเราจะไดรฟ์กันอย่างไรในอีก 15 ปีข้างหน้า ตามระยะเวลาของไลเซนส์ของทีวีจิทัลที่จะประมูลได้กัน

เรามีโอกาสเดินพลาดเหมือนประเทศต่างๆ ที่เล่ามานี้

การศึกษาเปรียบเทียบในสาขาที่ผมเรียนมาหรือว่าอินเตอร์เนชั่นแนลคอมมิวนิเคชั่น มันให้ข้อดีกับผมคือเราเรียนรู้ร่วมกัน คือตอนนี้สังคมไทยวิพากษ์อย่างเดียว ไม่เสนอทางออก ผมก็อยากจะนำเสนอทางออกในส่วนของคนเล็กๆ มุมเล็กๆ เป็นลูกชาวบ้านนี่แหละ ถามว่าผมสนับสนุนไหมทีวีดิจิทัล เต็มที่เลย แต่ผมไม่อยากให้ หนึ่ง-เราเสียเงินเปล่าโดยใช่เหตุ คิดดูนะครับ ราคาประมูลตั้งต้น 20,000 กว่าล้านมันมาจากไหน นอกจากนี้ยังมีค่ามัลติเพล็กซ์ คือค่าเช่าโครงข่ายส่งสัญญาณ ซึ่งยังไม่เปิดเผยข้อมูลที่มันเป็นทางการ ซึ่งถ้ามันราคาตามที่เราได้ยิน ผมว่าผู้ประกอบการตาย อันที่ 3 ค่าประกอบการ สามขา ไม่ว่าจะภาคไหน แต่ผมเนี่ย รักภาคประชาชนมากๆ แต่ถ้าใครบอกว่า ภาคพาณิชย์ ไม่ต้องพูดถึง ไม่ใช่นะ ภาคพาณิชย์ก็หมายถึงภาคประชาชนด้วย เพราะอะไร คือถ้าเขาเจ๊ง คนเป็นร้อยตกงานไหม

เพราะฉะนั้นง่ายๆ เลย ผมถาม สูตร หรือฟอร์มูล่าในการประมูล เคยเปิดเผยก่อนที่จะประกาศไหม เมืองนอกไม่มีหรอกครับ จะโกรธผมก็ได้นะ เมืองนอกไม่มีหรอกนะที่จะจ้างที่เดียวให้ทำ เขาต้องมีจัดสาธารณะ หมายถึง เรื่องเกี่ยวกับงานวิจัย การตั้งราคาประมูล มันเหมือนกับ 3 จี ผมอ่านงานวิจัยสิบกว่าหน้า ผมเชื่อเลยว่า คณาจารย์ทั้งหมด หวังดีกับประเทศ และมีการนำเสนอออพชั่น มีการนำเสนอข้อมูลอย่างดี แต่อาจมีการหยิบยกแค่พารากราฟเดียว หน้าเดียว เอาไปใช้

ซึ่งโทรทัศน์ดิจิทัลยิ่งกว่าอีก คือผมไม่เคยเห็นเลย ถามว่ามันถึงจุดหนึ่ง มันก็ต้องมีการวิพากษ์กันทั้งนั้น ผมว่ามันทุกฝ่ายด้วยนะ ผู้ประกอบการจะได้ดีเฟนด์ได้ อุ๊ยราคาถูกไป ราคาสูงไป โอเคคุณจะเอาเศรษฐศาสตร์แบบไหนมาจับ ผมเชื่อว่าคนประเทศนี้เก่งเศรษฐศาสตร์และวิศวะที่คำนวณตรงนี้ได้เยอะมาก ซึ่งผมอาจจะแค่ปลายแถว แต่ผมถามว่าราคาตรงนี้มาจากไหน และกลไกอื่นๆ อีก

อาจารย์ศึกษาความล้มเหลวของต่างประเทศมา เห็นอะไรของบ้านเรา

สามส่วนนี้ คุณต้องมองซีนารีโออีก 15 ปี ของประเทศนี้ ถามว่ามันจะล้มไหม ผู้ประกอบการ กิจการ ผมเชื่อว่ามันจะมีล้ม มีลุกไหม มี ถามว่าอาจารย์ไปยุ่งอะไรกับเขา อาจารย์มาเข้าข้างเชิงพาณิชย์ไปไหม ผมก็คิดว่าโอย ถ้าอย่างนั้นไม่ถูกแล้ว ผมเป็นคนเดียวด้วยซ้ำไปในเวลานี้ ที่ขออนุญาตเลยนะ โทรทัศน์ชุมชน โทรทัศน์ภาคประชาชน ยังไม่มีใครพูดถึงเลย อย่างช่องสาธารณะที่ทำอยู่ มันก็ลับลวงพรางกันอยู่หรือเปล่า เพราะกำลังเงี้ยวๆๆ อยู่ แต่อีก 12 ช่องของประชาชนไม่มีใครพูดถึงเลย เหมือนกับประชาชนถูดเตะออกหมด เรามัวแต่เถียงกันเรื่องช่องสาธารณะ ช่องพาณิชย์ แต่ช่องบริการชุมชนล่ะ ผมกราบเรียน วิงวอนเถอะใครก็ได้ช่วยพูดเรื่องนี้ที ช่วยนำมาเป็นประเด็นสาธารณะในสังคมที
คำถาม คือ มันจะล้มได้ไหม อังกฤษล้มมาแล้ว สเปนล้มมาแล้ว เพราะเชื่อมั่นในตัวเองตัดสินใจผิด ฝรั่งเศสไปดูงานวิจัยของไทยพาณิชย์ 5-6 ปี กว่าผู้ประกอบการจะลืมตาอ้าปากขึ้นมาได้ เหมือนกัน มันจะเป็นเคิฟเหวเลยครับ กว่าจะขึ้นมา บางประเทศเป็นรูปตัววี บางประเทศเป็นรูปตัวยู เพราะฉะนั้นอันนี้ไม่ได้มาพูดเพื่อไซโค ถามว่าสิขเรศ คุณแหม ไม่ใช่ครับ ผมกำลังถามว่าพวกเรามาย้อนคิดกันอีกทีไหม ในส่วนที่เรายังไม่ได้กำหนดหรือประกาศอะไรก็แล้วแต่ มาช่วยกัน ได้ไหม

แต่ทุกอย่างไม่ได้มาฟรีๆ

ใช่ แต่ถามว่า 20,000 ล้านราคาตั้งต้น มาจากไหน หรือจะเอามาช่วยเรื่องเซตท็อปบ๊อกซ์ ถามว่ามันเป็นโมเดลอย่างนั้นใช่ไหม ถามประชาชนหรือยังว่าเขาอยากได้เซตท็อปบ็อกซ์หรือเปล่า มันมีวิธีอื่นไหมในการรับสัญญาณ โมเดลการแจกจ่ายทำไมถึงใช้โมเดลอเมริกา ยังมีโมเดลอังกฤษอีกนะ มันไม่มีเวทีสาธารณะให้นักวิชาการ หรือคนที่มีประสบการณ์อยู่ที่ประเทศนั้น หรือที่เขาผ่านประสบการณ์มาได้รู้ ว่ามันมีข้อดี-ข้อเสียอะไร ผมไม่เคยได้ยิน มีแต่มติออกมา มติออก มติออก ง่ายๆ เลยประชาพิจารณ์ ผมไปมาหลายที่ ตอนเช้าจบ ตอนบ่ายจบ มีคนพรีเซ้นต์ เปเปอร์ มีเวที เปิดไมค์แป๊บหนึ่ง ครึ่งวัน หรือเกือบวัน ผมว่าอันนี้ไม่ใช่ประชาพิจารณ์ ไม่ใช่การรับฟัง

สรุปง่ายๆ คนไทยยังไม่รู้อะไรอีกเยอะ ที่ควรรับรู้ นอกเหนือจากฉันจะมีทีวีดูชัดขึ้น จะได้กล่องแจกฟรี

เอาภาพกว้างนะ ต่างประเทศที่ผมศึกษามา เขาจะเน้นเลยว่า กระบวนการเปลี่ยนผ่านที่ประสบความสำเร็จคืออะไร สิ่งหนึ่งเลยคือ การรณรงค์โครงการสื่อสารให้ภาคประชาชนได้รับทราบ ที่ไม่ใช่งานเปิดผ้าคลุมป้ายอย่างเดียว หรืองานตัดริบบิ้น หรืองานจัดโชว์ที่ศูนย์การประชุมใหญ่ๆ อย่างเดียว มันต้องมีกลยุทธ์ในเชิงรุก ที่ กสทช. บางทีรับงานอะไรจนล้นภาระจนเกินไป ตัวเองน่าจะทำเรื่องการวางกรอบนโยบายให้ดีและมีเหตุผลที่สุด เป็นผู้คุมกฎที่ดีที่สุด เมืองนอกทุกที่ครับ เขาใช้หน่วยงานภาคเอกชน เขาให้เอกชนเป็นตัวไดรฟ์ เรื่องเกี่ยวกับกระบวนการการรณรงค์ รัฐก็เปิดทางไฟเขียว แล้วก็ดึงภาคอุตสาหกรรมมา เช่น ผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์ กับผู้ประกอบการของภาคอุตสาหกรรมเครื่องรับโทรทัศน์ ตั้งเป็นกลุ่มขับเคลื่อนโทรทัศน์ดิจิทัล และมีหน่วยงานที่คุ้มครองสิทธิประชาชน คุ้มครองผู้บริโภค แล้วจัดตั้งหน่วยงานแบบ ดิจิทัลยูเค คือเขามีกันแล้วทุกประเทศ ออสเตรเลียก็มี อเมริกาก็มี เป็นหน่วยงานที่ขับเคลื่อนพลวัตของโทรทัศน์ดิจิทัลภาคประชาชน เพื่อทำแคมเปญ เดินสาย โรดโชว์ ให้ข้อมูล คอลเซ็นเตอร์ วิทยากร ทุกอย่าง

ยังมีเรื่องเซตท็อปบ๊อกซ์ เพราะตอนนี้ มีหากกล่องหลากสีมาก เซตท็อปบ๊อกซ์มาจากไหน เสิ่นเจิ้นอินดัสตรีไหม มันคืออะไร มันคือเงินทองรั่วไหลไป ผมไม่เชื่อหรอกว่าประเทศไทยผลิตไม่ได้ ทำไมภาครัฐไม่เริ่มตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมเรา การที่เราอยู่ดีๆ ให้ล็อตใหญ่ บิ๊กล็อต สั่งมาจากเมืองจีน อันนี้ผมคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญนะครับ สิทธิของนักวิชาการ สามารถพูดได้ไม่ต้องมาฟ้องนะครับ คืออะไร เราพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเราสิ เรารู้อยู่แล้ว แต่เรามีวิธีไหนไหมที่เราจะเอาเงินมาผ่องถ่ายตรงนี้ สัก 30% เป็นค่าแรงงานของคนในประเทศ 30% ของหมื่นล้านได้เท่าไหร่

ยังมีอะไรจะฝากถึง กสทช. อีกไหม

ที่จะฝากนะ กสทช. ไปเอาโมเดลของอเมริกาที่สิบปีที่แล้ว ซึ่งมันไม่เข้ากับสังคม ตอนนี้ถ้าจะมองซีนาริโอแบบหยาบๆ นะ โมเดลมันมีอยู่ 4 กลุ่มเรียบร้อยแล้ว (ทีวีภาคพื้นดิน ทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี ไอพีทีวี ) แล้วยังมีจอที่สองอีก ถ้าคุณจะเอาโมเดล 48 ช่อง แบบสมัยโบราณ ยกตัวอย่าง ‘ฮอร์โมนส์’ผมถามเด็กที่ผมสอนเลยว่าดูยังไง เขาบอกแนวมาก เขาบอกว่ารีโมทหาไม่เจอแล้ว แต่ดูย้อนหลังผ่านยูทูบ ถามว่าดูบนไหน ดูบนจอที่สอง คือ แทบเล็ต สมาร์ทโฟน เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจกันใหม่เรื่อง ภูมิสถาปัตย์ หรือระบบนิเวศของสื่อมันเปลี่ยนไปแล้ว ผมยังไม่รู้เลยว่า ประมูลมาเพื่ออะไร แต่ถามผมว่าทีวีดิจิทัล ดีไหม ผมสนับสนุนทำเลย แต่ทำยังไงล่ะที่บอก ทำให้ดี ถ้าสถานีโทรทัศน์เราล้มรายหนึ่ง เกิดอะไรขึ้น เอาง่ายๆ ของเนชั่น พนักงานกี่คน เป็นพันไหม (ยิ้ม) ส่งเงินให้พ่อ-แม่กี่คน เลี้ยงลูกกี่คน แล้วมันไม่ใช่แต่สถานีอย่างเดียว ยังมี เอเยนซี โปรดักชั่นเฮาส์ ทั้งหมดนี้ แค่ไม่จ่ายเงินเดือนๆ เดียว พังทั้งระบบ นี่ล่อไป 48 ช่อง ตัวอย่างมันมีอยู่แล้ว ไอทีวีของอังกฤษล้ม เป็นหมื่นๆ ล้านเลยเงินตรงนี้

อีกกลุ่มคือ โทรทัศน์ภาคประชาชน หรือชุมชนที่อาจารย์บอกก็ห่วง กสทช. จะทำยังไง

ผมคิดว่าคนที่จะต้องเข้ามาช่วยจริงๆ เลยนะ ผมแหย่จริงๆ เลยนะ คือแทนที่ กสทช.สุภิญญา จะมาแง้ว ๆ ๆ อยู่ตลอดเวลานะ ถ้าเป็นผม ผมจะเดินเกมตรงนี้ให้ชัด เพราะตอนนี้ถ้าดูแล้ว กสทช. สุภิญญา กับ หมอประวิทย์นะ (สุภิญญากลางณรงค์ กรรมการกสทช และนพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค) แพ้ทุกรูป โหวต ก็ 8 ต่อ 2 หรือ 4 ต่อ 1 หรือ 3 ต่อ 2 ยังไงคุณก็แพ้ ถ้าเอาประเด็นเรื่องทีวีดิจิทัล ขอกลับมาตั้งหลัก ผมส่งสัญญาณเลยนะ รีบกลับมาตั้งหลักเลย มาช่วยกันดูโทรทัศน์บริการชุมชนซะตั้งแต่วันนี้เลย ช่วยโพรเทค ช่วยมาสร้างระบบอย่างที่บอก มันต้องมีเฟรมมิ่งก่อนนะ มันต้องมีการพัฒนาก่อน

แต่ยังไงเสียเดือนธันวาคมนี้เราจะได้เห็นทีวีดิจิทัล แน่ๆ ใช่ไหม

ผมเชื่อว่าในความหมายของ กสทช. ที่เขาอยากจะให้เกิด มันเกิดได้ มันแพร่ภาพได้แน่นอน ในเชิงเทคนิค ดีเดย์วันนั้นก็น่าจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ฝากง่ายๆ เลย ว่า ผมยังไม่เคยเห็น สวิทช์โอเวอร์โพลิซี หรือแผนการเปลี่ยนผ่าน จริงๆ ผมยังไม่เห็นเลยว่าเฟสต่างๆ ที่ทำมันเป็นยังไง มีอะไรบ้าง ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ผมอยากจะเห็นโรดแมพจริงๆ กลวิธี มันมีเยอะหลายโมเดลในการสวิทช์ออฟอนาล็อค คุณช่วยนำเสนอสู่สาธารณะนิดหนึ่งสิ เอาโมเดลของคุณแหละ และตีโจทย์อื่นๆ เช่น เซตท็อปบอกซ์ ทำไมเอาโมเดลอเมริกา คุณถอดองค์ความรู้ของโมเดลอเมริกามามากน้อยขนาดไหน ยังมีเรื่องอื่นอีกนะที่ไม่ได้พูด ถามว่าธันวานี้ไปได้ไหม ไปได้ แต่ไปได้อย่างประเทศได้ประโยชน์หรือเปล่า ผมไม่ค่อยแน่ใจ สุดท้ายขีดเส้นใต้ ผมสนับสนุนทีวีดิจิทัลร้อยเปอร์เซ็นต์ ผมเข้าใจทุกซีนาริโอว่าทำไมมันต้องเปลี่ยน แต่ไส้กลางที่ต้องนำมาวิพากษ์กันสู่สาธารณะ คือประโยชน์ของชาติ

ปอกเปลือกทีวีดิจิทัล โดย ดร.สิขเรศ ศิรากานต์
ปอกเปลือกทีวีดิจิทัล โดย ดร.สิขเรศ ศิรากานต์

ลือ..คณะแพทย์ห้าม นักศึกษาแพทย์โฆษณาชวนเชื่อ

อ่านเรื่องนี้แล้ว นึกไปถึงหัวข้อคุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพ
ว่าทุกสาขา ทุกหลักสูตร ในทุกสถาบันการศึกษาก็มีกัน
ข้อห้ามเหล่านี้ ถ้าหยิบนำมาพิจารณา อาจทำให้สังคมสงบขึ้น
อาทิ เป็นนักศึกษาไทยต้องทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ใครทำผิดวัฒนธรรมไทย .. มีความผิด พ้นสภาพการเป็นนักศึกษา
อะไรทำนองนี้

 

เมื่อฝ่าฝันสอบคัดเลือกเข้ามาเป็น นศพ. เต็มตัวแล้ว
จะทำสิ่งใด.. ต้องรับผิดชอบต่อสังคม

นักศึกษาแพทย์
นักศึกษาแพทย์

HOT สุดในบอร์ดแอดมิชชั่นเว็บเด็กดีตอนนี้ คงหนีไม่พ้นกระทู้ “ใครจะสอบหมออ่านด่วน ไม่สนใจมีสิทธิ์โดนไล่ออกก่อนได้เรียน” ที่ภายในกระทู้มีเนื้อหาอธิบายว่า ขณะนี้อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น จุฬาฯ ศิริราช รามาฯ ม.เชียงใหม่ ม.ขอนแก่น ต่างออกมาแสดงจุดยืน ห้ามนิสิตนักศึกษาแพทย์ ไปรับเป็นพรีเซนเตอร์โฆษณาให้กับเครื่องดื่ม หรือสินค้าที่โฆษณาเกินจริง หลังจากล่าสุดมีผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มยี่ห้อหนึ่งที่สื่อความหมายในภาพยนตร์โฆษณาว่า “ดื่มแล้วสามารถสอบติดคณะแพทยศาสตร์ได้” ซึ่งอาจจะก่อให้สังคมเกิดความเข้าใจผิดตามมา

16 ก.ค. 56 พี่ลาเต้ ได้นำประเด็นดังกล่าวสอบถามไปยังแหล่งข่าววงในซึ่งเป็นอาจารย์ท่านหนึ่งของ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการเปิดเผยว่า “ทางคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เรียกนิสิตแพทย์รายหนึ่งมาทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวจริง ซึ่งไม่ใช่เป็นการตำหนิหรือลงโทษ เพียงแต่เป็นการพูดคุยชี้แจงให้นิสิตได้ทราบว่า เมื่อฝ่าฝันสอบคัดเลือกเข้ามาเป็น นศพ.เต็มตัวแล้ว จะทำสิ่งใดต้องรับผิดชอบต่อสังคม เช่นกรณีการไปเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับเครื่องดื่มบำรุงสมองรายหนึ่งที่อ้างว่า ดื่มแล้วสามารถสอบติดคณะแพทยศาสตร์ได้ อาจทำให้รุ่นน้องที่ยึดเป็นไอดอล หรือสังคมเกิดความเข้าใจผิดตามมา เพราะโฆษณาดังกล่าวมีการสร้างความเชื่อที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ และมีดึงชื่อของคณะแพทยศาสตร์ไปเกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ทางคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้แจงเพิ่มเติมว่า “ทางคณะไม่มีการออกกฎระเบียบหรือคำสั่งห้ามนิสิตรับเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ แต่ได้ย้ำเตือนกับนิสิตทุกคนให้ใช้วิจารณญาณ โดยยึดมั่นในการทำงานรับใช้สังคมตามหลักปฎิบัติของนิสิตแพทย์

ทางด้าน รศ.พญ.นันทนา ศิริทรัพย์ รองกรรมการอนุกรรมการสอบคัดเลือก กสพท. (หน่วยงานที่ดูแลการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อคณะแพทยศาสตร์ทั่วประเทศ) ได้แสดงความเห็นผ่านทางทีมข่าวการศึกษาเว็บไซต์เด็กดีดอทคอมว่า “ในโฆษณาดังกล่าวที่สื่อความหมายว่า ดื่มแล้วจะสอบติดคณะแพทยศาสตร์ได้นั้น ไม่เห็นด้วยอย่างมาก เพราะมองว่าการสอบติดคณะแพทยศาสตร์ กับการดื่มเครื่องดื่มนั้นไม่มีความสัมพันธ์กัน การที่นักเรียนจะสอบติดคณะแพทยศาสตร์ได้ อยู่ที่การฝึกฝน และพยายามของแต่ละบุคคล จึงอยากให้สังคม และนักเรียนที่อยากสอบเข้าคณะแพทยศาสตร์โปรดใช้วิจารณญาณต่อภาพยนตร์โฆษณาชุดดังกล่าว และทำความเข้าใจใหม่ในความเชื่อที่ผิด

ตอบข้อซักถามที่ว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะร่วมกัน ออกกฏห้าม นศพ.ไปเป็นพรีเซนเตอร์ผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าโฆษณาเกินจริงหรือไม่? ทาง รศ.พญ.นันทนา ได้เปิดเผยต่อว่า “ในอนาคตทางกลุ่มของคณะแพทยศาสตร์เห็นพ้องร่วมกันว่า เตรียมที่จะมีนโยบายให้คณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ทุกสถาบัน ทำความเข้าใจกับ นศพ.ชั้นปีที่ 1 ในงานปฐมนิเทศก่อนเข้ารับการศึกษา โดยยึดหลักจรรยาบรรณของวิชาชีพแพทย์ ที่จะต้องรับใช้และมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยจากข้อมูลที่ได้มาของปี 2556 พบว่า นศพ.ปี 1 จะถูกผลิตภัณฑ์สินค้าดังกล่าว นัดให้ไปถ่ายเป็นพรีเซนเตอร์ในช่วงก่อนกำหนดรายงานตัวเข้าศึกษา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหนือการควบคุมของคณะแพทยศาสตร์นั้นเอง

ทั้งหมดนี้เป็นบทสัมภาษณ์ที่ทางพี่ ๆ ทีมข่าวการศึกษา เว็บไซต์เด็กดีดอทคอมไปสัมภาษณ์มานะครับ คงจะสยบข่าวลือได้ในระดับนึง แต่จะว่าไปแล้วทั้งหมดก็เป็นเรื่องภายในของคณะแพทยศาสตร์ ที่มองว่าการกระทำดังกล่าวนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร แต่ในฐานะคนนอกอย่างพวกเราก็ต้องอย่าลืมว่า ให้ใช้วิจารณญาณในการรับข่าวสารด้วยเช่นกันครับ พี่ลาเต้ เชื่อว่าเด็กไทยไม่มีใครสามารถมาหลอกได้ง่ายๆ จริงไหมครับ ?

http://www.dek-d.com/content/admissions/32393/

Air Asia : Low Cost Airline, High Efficiency

Air Asia : Low Cost Airline, High Efficiency
โดย : ดรรชกร ศรีไพศาล

airasia
airasia

ปี 2546 ธุรกิจสายการบินในประเทศไทยเริ่มรู้จักกับชื่อสายการบิน Air Asia ซึ่งมาพร้อมกับ Know How และประสบการณ์ในธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำจากประเทศมาเลเซีย โดยเปิดตัวเป็นทางเลือกในการเดินทางด้วยเครื่องบินที่มีค่าโดยสารถูกกว่าสายการบินปกติ และนำมาซึ่งการรู้จักกับคำว่า “สายการบินต้นทุนต่ำ (Low Cost Airline)” แก่นักเดินทางในประเทศไทย พร้อมกับกระแสที่กระตุ้นความรู้สึก Everyone Can Fly หรือ “ใครๆ ก็บินได้” ให้เกิดการตื่นตัวไปทั่วประเทศ เพราะหมายถึง ทุกคนในสังคมไทย สามารถเลือกวิธีการเดินทางด้วยเครื่องบินไป ณ ที่แห่งใดในประเทศไทย ด้วยราคาที่ถูก สะดวกและรวดเร็วได้

ใคร ๆ ก็บินได้
ใคร ๆ ก็บินได้

หลังจากนั้นไม่นาน การบินไทย ได้เปิดตัวสายการบินต้นทุนต่ำขึ้นมา เพื่อเป็น Fighting Brand คือ Nok Air หรือนกแอร์ เด่นที่สีสันฉูดฉาด กับมาตรฐานการบินเทียบเท่ากับสายการบินไทย ยังมีเอกลักษณ์ น่าสนุก ของ CEO พาที สารสิน จึงเป็นที่คาดหมายว่า การแข่งขันในธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย จะระอุ และดุเดือด ไม่น้อยกว่าการแข่งขันของผู้ประกอบการในธุรกิจอื่นๆ ที่มีคู่แข่งขันน้อยราย เช่น น้ำอัดลม หรือผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้ Air Asia จึงเร่งเครื่องหนีคู่แข่งเช่น Nok Air ภายใต้ภาวะวิกฤติทางการเมือง ในปี 2549 ด้วยการขยายเส้นทางการบินให้ครอบคลุมความต้องการการเดินทางภายในประเทศมากขึ้น และยังขยายไปสู่การบินข้ามประเทศ ด้วยกลยุทธ์ต่างๆ โดยเฉพาะการดำเนินกิจกรรมทางการตลาด ในการขยายฐานผู้โดยสารของสายการบินไปยังกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดใหม่ๆ ภายใต้แนวคิด หรือคำขวัญ “ใครๆ ก็บินได้ หรือ Everyone Can Fly” อย่างต่อเนื่อง

เมื่อ Nok Air ซึ่งในเบื้องต้นได้ถูกจัดวางให้เป็น Fighting Brand ของการบินไทย แต่ในภายหลังได้ปรับบทบาท สถานะ และตำแหน่งทางการตลาด หรือ Position ของ Nok Air ให้อยู่เหนือกว่าการเป็นสายการบินต้นทุนต่ำ เช่น Air Asia หรืออื่นๆ แต่จะไม่สูงกว่าสายการบินปกติ หรือการบินไทย ดังนั้น ในวันนี้ จึงปรากฏชื่อผู้นำในธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ ที่โดดเด่นอยู่ในประเทศไทย คือ Air Asia

การเป็นสายการบินต้นทุนต่ำ ย่อมต้องบริหารต้นทุนการดำเนินงานในทุกๆ มิติของธุรกิจสายการบินให้ต่ำกว่าการดำเนินงานของสายการบินปกติ และ Air Asia สามารถที่จะดำเนินการ หรือ Execution ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในปัจจัยสำคัญๆ ของธุรกิจการบิน เช่น การเลือกใช้เครื่องบินเพียงรุ่นเดียว คือ Air Bus A320 เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในฝึกอบรมนักบิน และการบำรุงรักษาเครื่องบิน หรือการใช้ช่องทางการจัดจำหน่ายบัตรโดยสาร ผ่านช่องทาง Electronics ต่างๆ เช่น Internet หรือ Application บน Smart Phone แทนการใช้ตัวแทนจำหน่ายบัตรโดยสาร เช่นสายการบินปกติต่างๆ หรือแม้แต่การออกแบบและตกแต่งภายในตัวเครื่องบิน เพื่อลดภาระ และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา หรือทำความสะอาด โดยไม่ลดทอนความน่าใช้บริการลงไป เช่น การใช้หนังสัตว์หุ้มเบาะที่นั่งโดยสาร แทนการใช้วัสดุอื่นๆ ที่มีความยุ่งยากในการบำรุงรักษามากกว่า เป็นต้น

โดยมีการประเมินถึงประสิทธิภาพการลดต้นทุนของ Air Asia ทั้งต้นทุนคงที่ และผันแปรต่างๆ ที่ Air Asia สามารถลดได้เฉลี่ยถึง 1 ใน 3 ของสายการบินปกติ ซึ่งส่วนต่างของต้นทุนนี้ คือ ความได้เปรียบในการแข่งขันในธุรกิจสายการบิน ที่ Air Asia ใช้เป็นเครื่องมือหลักในการก้าวสู่ความเป็นผู้นำในธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำในประเทศไทย ด้วยกลยุทธ์และแผนการตลาดที่น่าสนใจ และเป็นที่รอคอยของนักเดินทางชาวไทยในทุกๆ วาระ

ด้วยเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (Flight Attendants) โดยเฉพาะ Air Hostess ในชุดแดง ที่นอกจากจะให้บริการเช่นเดียวกับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของสายการบินต่างๆ แล้ว ยังมีอีกหนึ่งหน้าที่ คือ การเป็น Entertainer แก่ผู้โดยสาร ในทุกๆ เที่ยวบิน กระทั่ง เป็นที่ได้รับการยอมรับในกลุ่มผู้โดยสารและสังคมไทยอย่างกว้างขวาง และเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการตัดสินใจเลือกเดินทางโดยสายการบิน Air Asia ของผู้โดยสารไทยจำนวนหนึ่ง

ด้วยความสามารถ ทัศนคติที่ดี ความพร้อมให้บริการแก่ผู้โดยสารด้วยความจริงใจ ทั้งในสถานะของพนักงานต้อนรับ และการเป็น Entertainer บนเครื่องบิน ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของ Air Asia ปัจจุบันจึงมักได้พบ Air Hostess ในชุดแดง ของ Air Asia ปรากฏตัวเป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่สำคัญของ Air Asia ในทุกๆ สื่อ เสมือนเป็น Brand Ambassadors ของ Air Asia

นอกจากความได้เปรียบด้านต้นทุน และทัศนคติเชิงบวกของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน และบุคลากรส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกปัจจัยสำคัญในแรงขับเคลื่อนของ Air Asia คือ กลยุทธ์การตลาดที่น่าตื่นเต้น และน่าสนใจ สำหรับนักเดินทางรุ่นใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่ม Generation Y ที่กำลังมีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ และสังคมไทยในปัจจุบัน

กลยุทธ์การตลาดของ Air Asia ที่น่าสนใจ คือ การสร้าง Brand ให้เป็นรับรู้ และยอมรับของตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการสร้าง และขยายฐานผู้ใช้บริการการเดินทางด้วยเครื่องบินให้เพิ่มขึ้น ภายใต้คำขวัญ “ใครๆ ก็บินได้ หรือ Everyone Can Fly” ที่ส่งผลสะเทือนไปถึงคู่แข่งขันในธุรกิจสายการบิน และคู่แข่งขันทางอ้อม ในธุรกิจการขนส่งและโดยสาร ทั้งทางถนน และระบบราง โดยอาศัยจุดแข็งด้านการบริหารต้นทุนในธุรกิจที่ต่ำกว่าคู่แข่งขัน จึงสามารถสร้างสรรค์ “ลูกเล่น” การ Promotion มาส่งเสริมการตลาดได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ค่าโดยสาร 0 บาท

ทั้งหมดนี้ ต้องยอมรับถึงความสามารถด้านการ Execution ของคณะผู้บริหาร Air Asia ทั้งการจัดการ เพื่อลดต้นทุนของ Air Asia อย่างมีประสิทธิภาพ และความสามารถในชั้นเชิงการบริหารด้านบุคลากรให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ โดยเฉพาะด้านการให้บริการ และ Entertain แก่ผู้โดยสาร ที่ได้ช่วยสร้างภาพลักษณ์อันดีแก่ Air Asia ในธุรกิจสายการบิน รวมถึง ความสามารถสร้างสรรค์รูปแบบการตลาด และการบริการใหม่ต่างๆ ที่น่าตื่นเต้น สอดรับกับพฤติกรรมของผู้โดยสารรุ่นใหม่ในตลาด

Air Asia คือ ตัวอย่างของการบริหารธุรกิจที่สามารถนำมาเป็นแบบอย่าง ที่ผู้บริหารรุ่นใหม่ในปัจจุบัน จะสามารถเสาะหาข้อมูล เพื่อการศึกษา เรียนรู้ เกี่ยวกับความสามารถด้านการ Execution กลยุทธ์ และแผนการดำเนินงานขององค์กรให้ประสบความสำเร็จได้

โดย ดรรชกร ศรีไพศาล ในกรุงเทพธุรกิจ
! http://bit.ly/11Igo5M
! http://blog.nation.ac.th/?p=2708

ฐานข้อมูลคุณวุฒิที่ได้รับการรับรอง

ระบบรับรองคุณวุฒิ

ฐานข้อมูลคุณวุฒิ
ฐานข้อมูลคุณวุฒิ

! http://203.21.42.34/acc/index.html
ได้ค้นคำว่า ระบบรับรองคุณวุฒิ
พบว่ารัฐบาลไทยทำรายการให้คนไทยสืบค้นหลักสูตรว่าหลักสูตรใดได้มาตรฐาน
ดูแลโดย สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
ซึ่งมีคุณวุฒิทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
ตัวอย่างนี้เป็นหลักสูตรหนึ่งในทั้งหมด 90 หลักสูตร
ของ มหาวิทยาลัยเนชั่น (เดิมมหาวิทยาลัยโยนก)

! http://goo.gl/FONkf

อาชีวะพร้อมเปิดสอน ป.ตรี 24 สาขา

อาชีวะพร้อมเปิดสอน ป.ตรี จัดทำหลักสูตรสายปฏิบัติการ 24 สาขา

          นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้จัดทำหลักสูตรปริญญาตรี 24 สาขาวิชา เพื่อใช้ในการเรียนการสอนในสถาบันการอาชีวศึกษา 19 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวจะครอบคลุมทุกสาขาอาชีพ ได้แก่ หลักสูตรด้านอุตสาหกรรม 5 สาขาวิชา (เทคโนโลยีไฟฟ้า เทคโนโลยีเครื่องกล เทคโนโลยีแม่พิมพ์ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยียางและพอลิเมอร์) ด้านบริหารธุรกิจ 5 สาขาวิชา (การบัญชี การจัดการ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ การจัดการโลจิสติกส์ การตลาด) ด้านศิลปกรรม 4 สาขาวิชา (ออกแบบผลิตภัณฑ์ ช่างทองหลวง คอมพิวเตอร์กราฟฟิก ออกแบบอัญมณี) ด้านคหกรรม 3 สาขาวิชา (เทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ เทคโนโลยีออกแบบแฟชั่น การจัดการงานคหกรรม) ด้านเกษตรกรรม 2 สาขาวิชา (เทคโนโลยีการผลิตพืช เทคโนโลยีการผลิตสัตว์) ด้านประมง 2 สาขาวิชา (เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เทคโนโลยีแปรรูปสัตว์น้ำ) ด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 2 สาขาวิชา (การท่องเที่ยว การโรงแรม) และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 1 สาขาวิชา (เทคโนโลยีสารสนเทศ)
จุดเด่นของหลักสูตร นั้นเป็นหลักสูตรปริญญาตรีสายปฏิบัติการ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถทำงานในสถานประกอบการ และประกอบอาชีพอิสระเป็นผู้ประกอบการ โดยการพัฒนาหลักสูตรจะนำความต้องการของสถานประกอบการ และความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการ มากำหนดเป็นหลักสูตรรายวิชา และที่สำคัญคือมีการจัดการเรียนการสอนร่วมกับสถานประกอบการ และการบ่มเพาะให้เป็นผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของอาจารย์ผู้สอนนั้นจะส่งเสริมพัฒนาโดยให้ทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาเอก รวมทั้งจะพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้สามารถจัดการสอนในระดับปริญญาตรีควบคู่ กันไปด้วย เลขาธิการ กอศ. กล่าว

หลักสูตรสายปฏิบัติการ 24 สาขา

หลักสูตรด้านอุตสาหกรรม 5 สาขาวิชา

– เทคโนโลยีไฟฟ้า

– เทคโนโลยีเครื่องกล

– เทคโนโลยีแม่พิมพ์

– เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์

– เทคโนโลยียางและพอลิเมอร์

หลักสูตรด้านบริหารธุรกิจ 5 สาขาวิชา

– การบัญชี

– การจัดการ

– คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

– การจัดการโลจิสติกส์

– การตลาด

หลักสูตรด้านศิลปกรรม 4 สาขาวิชา

– ออกแบบผลิตภัณฑ์

– ช่างทองหลวง

– คอมพิวเตอร์กราฟฟิก

– ออกแบบอัญมณี

หลักสูตรด้านคหกรรม 3 สาขาวิชา

– เทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ

– เทคโนโลยีออกแบบแฟชั่น

– การจัดการงานคหกรรม

หลักสูตรด้านเกษตรกรรม 2 สาขาวิชา

– เทคโนโลยีการผลิตพืช

– เทคโนโลยีการผลิตสัตว์

หลักสูตรด้านประมง 2 สาขาวิชา

– เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

– เทคโนโลยีแปรรูปสัตว์น้ำ

หลักสูตรด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 2 สาขาวิชา

– การท่องเที่ยว

– การโรงแรม

หลักสูตรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 1 สาขาวิชา

– เทคโนโลยีสารสนเทศ

          ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง

! http://www.phontong.ac.th/newseducation/18216.html

อาชีวะศึกษา
อาชีวะศึกษา

สอศ.เปิดหลักสูตรปริญญาตรีสายปฏิบัติการเป็น “ปฐมฤกษ์”
10 มิ.ย.2556 ที่วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร        

10 มิ.ย.56 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เปิดทำการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ เป็นปฐมฤกษ์ใน 9 สถาบัน 43 วิทยาลัย จำนวน 16 สาขาวิชา พร้อมจัดนิทรรศการโชว์ศักยภาพในงาน “อาชีวะสร้างคน สร้างงาน สร้างชาติ” และเปิดเวทีเสวนาในหัวข้อ“ทิศทางการผลิตและพัฒนากำลังคนสนองความต้องการในการยกระดับการแข่งขันของประเทศ ณ วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร ในวันที่ 10 มิถุนายน 2556 โดยมี นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยประธานสภาอุตสาหกรรม ประธานสภาหอการค้าไทย ประธานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการนี้ ถือเป็นมิติใหม่ของหลักสูตรอาชีวศึกษาที่สถาบันการอาชีวศึกษาและสถานประกอบการจะจัดการศึกษาร่วมกันอย่างเข้มแข็งและเป็นรูปธรรม ซึ่งนักศึกษาจะได้รับความรู้และประสบการณ์ตรงจากการทำงานจริงในฐานะที่เป็นพนักงานฝึกหัด ซึ่งผู้ปกครองจะมีความเชื่อมั่นว่าลูกหลานจะมีอนาคตที่ดี ส่วนภาคอุตสาหกรรมนั้นก็จะได้คนที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการอย่างแท้จริง และในวันที่ 10 มิถุนายน 2556 นี้ จะเป็นการเปิดการเรียนการสอนปฐมฤกษ์ทั่วประเทศ  ทั้งนี้ตนเชื่อว่าการที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสายปฏิบัติการจะช่วยพัฒนากำลังคนที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศได้เป็นอย่างดี

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ผ่านมาสถาบันการอาชีวศึกษาได้ทำการพัฒนาหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานหลักสูตร และกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ โดยมีครู ผู้เชี่ยวชาญ สถานประกอบการ ตลอดจนผู้มีประสบการณ์สายวิชาชีพต่าง ๆ เข้ามาร่วมในการดำเนินการ โดยหลักสูตรดังกล่าวมุ่งเน้นการจัดอาชีวศึกษาในระบบทวิภาคี ซึ่งนักศึกษาจะต้องเป็นพนักงานฝึกหัดในสถานประกอบการ ไม่น้อยกว่า 1 ปี เพื่อให้ได้รับความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ตรงจากการทำงานจริงในสถานประกอบการ ถือเป็นรูปแบบการจัดอาชีวศึกษาที่เน้นคุณภาพด้านสมรรถนะผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นเชื่อมั่นว่านักศึกษาที่จบมาจะมีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างแน่นอน

ส่วน ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีการศึกษา 2556 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเปิดสอนหลักสูตรการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ ใน 9 สถาบัน จำนวน 43 วิทยาลัย โดยเปิดสอน 16 สาขาวิชา มีแผนรับนักศึกษา 46 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 20 คน รวมทั้งสิ้น 920 คน สำหรับสาขาที่เปิดสอนมีดังนี้ สาขาวิชาช่างทองหลวง สาขาวิชาเทคโนโลยียาง สาขาวิชาการโรงแรม สาขาวิชาการท่องเที่ยว สาขาวิชาเทคโนโลยีแม่พิมพ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และสาขาวิชาการบัญชี

ในโอกาสเดียวกันนี้ได้มีการจัดเสวนาเรื่องทิศทางการผลิตกำลังคนสนองความต้องการในการยกระดับการแข่งขันของประเทศโดย นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล ประธานกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า ขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวค่อนข้างสูง แต่กลับประสบกับภาวะขาดแคลนแรงงานฝีมือในอุตสาหกรรมทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่สำคัญในอนาคตอันใกล้นี้ประเทศไทยยังต้องการแรงงานฝีมือในทุก ๆ ด้านเพื่อรองรับการเตรียมความพร้อมเป็นฐานการลงทุนของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย ดังนั้นแนวโน้มการขาดแคลนแรงงานฝีมือจึงมีทีท่าว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

การเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการนี้จึงเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพ มีคุณวุฒิที่สูงขึ้น มีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานอย่างถ่องแท้ สามารถทำงานได้เต็มที่ในอุตสาหกรรมที่กำลังเข้าสู่ภาวะการแข่งขัน ตรงตามความต้องการของตลาด ซึ่งทางภาคอุตสาหกรรมจะมีการส่งเสริมอย่างเต็มที่โดยการให้ความร่วมมือให้นักศึกษาเข้ามาศึกษากับสถานประกอบการ และหากทำงานได้ดีก็จะรับเข้าทำงานทันทีหลังสำเร็จการศึกษา

ด้าน นายพงษ์เดช ศรีวชิรประดิษฐ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 กล่าวอีกว่า การเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือปฏิบัติการนี้นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องความขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือทางด้านอุตสาหกรรม และสร้างความสมดุลระหว่างแรงงานสายปฏิบัติการและสายบริหาร ทำให้ภาคอุตสาหกรรมมีแรงงานตรงตามความต้องการของตลาดครบทั้งสองด้านแล้ว ยังเป็นเส้นทางที่จะช่วยให้ผู้เรียนสายอาชีวะมีความเจริญก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพ และยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสังคมให้แก่สถาบันอาชีวศึกษาอีกด้วย

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการ ‘อาชีวะสร้างคน สร้างงาน สร้างชาติ’  ซึ่งแสดงให้เห็นสภาพจริงของการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีสายปฏิบัติการใน 11 สาขาวิชาซึ่งอยู่ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการและสถาบันการอาชีวศึกษา ได้แก่

1. สาขาวิชาช่างทองหลวง
2. เทคโนโลยียาง
3. วิชาการโรงแรม
4. การท่องเที่ยว
5. เทคโนโลยีสถาปัตยกรรม
6. เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
7. เทคโนโลยียานยนต์
8. เทคโนโลยีไฟฟ้า
9. เทคโนโลยีการผลิตพืช
10.การตลาด
11.คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

รวมไปถึงสาขาวิชาใหม่ที่จะมีโครงการเปิดสอนซึ่งแตกต่างจากสถาบันอื่นๆ ได้แก่ สาขาวิชามาตรวิทยา สาขาวิชาเครื่องกลเรือ และสาขาวิชาหุ่นยนต์อีกด้วย

ปีการศึกษา 2556 เปิดสอน 16 สาขาวิชา ได้แก่
1. สาขาวิชาช่างทองหลวง
2. สาขาวิชาเทคโนโลยียาง
3. สาขาวิชาการโรงแรม
4. สาขาวิชาการท่องเที่ยว
5. สาขาวิชาเทคโนโลยีแม่พิมพ์
6. สาขาวิชาเทคโนโลยีการก่อสร้าง
7. สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม
8. สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
9. สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์
10.สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า
11.สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
12.สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
13.สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน
14.สาขาวิชาการตลาด
15.สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
16.สาขาวิชาการบัญชี

http://www.vec.go.th/portals/0/tabid/103/ArticleId/1390/1390.aspx

อาชีวะสร้างคน สร้างงาน สร้างชาติ

10 มิ.ย.2556 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จัดงานอาชีวะสร้างคน สร้างงาน สร้างชาติ เพื่อเปิดปฐมฤกษ์การจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฎิบัติการรุ่นที่ 1 ในวันที่ 10 มิถุนายน 2556 ณ หอประชุมใหญ่วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร โดยได้รับเกียรติจากท่านนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์. ชินวัตร. เป็นประธานพิธีเปิดและปาฐกฐาพิเศษ เวลา 13.00 น. ในงานมีสถาบันการอาชีวศึกษามาร่วมจัดนิทรรศการ จำนวน  9 สถาบัน 11 สาขาวิชา ได้แก่ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยียาง  สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์  สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า  สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 2 สาาวิชาการตลาด สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขาวิชาช่างทองหลวง นอกจากนี้ ยังมีการเสวนาเรื่อง ทิศทางการผลิตและพัฒนากำลังคนสนองความต้องการในการยกระดับการแข่งขันของประเทศ โดยท่านรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา,  ท่านพงษ์เดช ศรีวัชรประดิษฐ์ ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และท่าน. ดร อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล. ประธานกรรมการอาชีวศึกษา.
! http://www.vei19.com/index.php?option=com_content&view=article&id=105:2013-06-09-07-51-42&catid=1:latest-news&Itemid=50

“พงศ์เทพ” กดปุ่มเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี 9 สถาบันอาชีวะ

16 สาขาวิชาที่เปิดสอนป.ตรี ในอาชีวะ
16 สาขาวิชาที่เปิดสอนป.ตรี ในอาชีวะ

10 มิ.ย.2556 ที่วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ ประจำปีการศึกษา 2556 พร้อมกันครั้งแรก 9 สถาบันการอาชีวศึกษา ใน 43 วิทยาลัย โดยมี นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน

นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า สอศ.ได้ทำพิธีเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยี หรือสายปฏิบัติการ เป็นครั้งแรกในปีการศึกษา 2556 โดยเปิดสอนทั้งหมด 16 สาขาวิชา ใน 9 สถาบัน 43 วิทยาลัย รับนักศึกษาไว้ทั้งหมด 667 คน

เพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนภายในประเทศ ปัจจุบันกำลังคนภายในประเทศ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก  ได้แก่ กลุ่มแรก เป็นแรงงานระดับฝีมือ คือผู้จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) กลุ่มที่ 2 เป็นแรงงานระดับเทคนิค คือ ผู้จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และประเภทที่ 3 คือ ผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งในตลาดแรงงานปัจจุบันมีแต่ปริญญาตรีสายวิชาการ แต่ภาคอุตสาหกรรม ต้องการแรงงานปริญญาตรีสายปฏิบัติการ เพราะฉะนั้น จึงเป็นภารกิจที่อาชีวศึกษาต้องผลิตกำลังคนระดับปริญญาตรีสายปฏิบัติการตอบสนองกับตลาดแรงงานภายในประเทศ

อย่างไรก็ตาม การเปิดปริญญาตรีของอาชีวศึกษานั้น สอศ.ได้ให้วิทยาลัยรวมกลุ่มเข้ามาเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาเพื่อให้มีการแชร์ทรัพยากรทางวิชาการ ความร่วมมือร่วมกันและให้สถาบันเป็นผู้เปิดรับปริญญาตรี ปัจจุบันวิทยาลัยอาชีวศึกษาที่มีความพร้อม 160 วิทยาลัยได้รวมกันเป็นสถาบันการอาชีวศึกษาทั้งหมด 19 สถาบัน โดยใช้การรวมกลุ่มตามกลุ่มจังหวัด และมีการรวมกลุ่มวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี เป็นสถาบันการอาชีวเกษตรอีก 4 สถาบัน

ทั้งนี้ สอศ.ไม่ประกันโอกาสการเรียนปริญญาตรีให้กับทุกคน เพราะยังมีข้อจำกัดในการรับอยู่ แต่ประกันว่าทุกหลักสูตรที่เปิดนั้น เป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพโดยหลักสูตรปริญญาตรีส่วนใหญ่จะเป็นหลักสูตรเจาะลึกเฉพาะทางและเป็นหลักสูตรอิงสมรรถนะ ซึ่งประกันได้เลยว่าผู้ที่เรียนจบจะมีสมรรถนะเช่นใด เช่น สาขายานยนต์ วิทยาลัยในอยุธยา จะเน้นในเชิงการประกอบรถยนต์

ที่มา : มติชนออนไลน์

! http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1370859129
http://www.dek-d.com/content/education/32151/

องค์ประกอบชำรุด ผลลัพธ์ย่อมผิดรูปไป

สิ่งมีชีวิตทั้งมวลล้วนเป็นไปตามกฎวัฏสงสาร มีเกิดมีดับเปลี่ยนไปตามภพภูมิ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป แล้วก็กลับมาเกิดใหม่

องค์ประกอบนั้น สำคัญนะ
องค์ประกอบนั้น สำคัญนะ

แล้วทุกสถานะก็จะมีองค์ประกอบและค่าประจำองค์ของตน การเลื่อนไหลจากสถานะหนึ่งไปอีกสถานะหนึ่งล้วนมีที่มาที่ไป ซึ่งค่าขององค์ประกอบทั้งหมดจะถูกรวมและประเมินว่าจะไหลไปอยู่ที่ใดเป็นเวลาเท่าใด เช่นเดียวกันกับคุณภาพการศึกษาที่ต้องมีองค์ประกอบเป็นปัจจัยว่าสถาบันจะรุ่ง หรือจะร่วง

ทุกอย่างเกิดขึ้นจากการรวมกันขององค์ประกอบ เช่น ข้าวมันไก่จะประกอบด้วย ข้าว ไก่ น้ำจิ้ม น้ำซุป แต่จะมีลูกค้ามากน้อยเพียงใดย่อมมีอีกหลายองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง สำหรับข้าวมันไก่ที่มีคุณภาพก็จะมีรสชาติและปริมาณใกล้เคียงกันทุกจาน หากกุ๊กทำมานับสิบปีที่เรียกว่ามืออาชีพก็มักมีมาตรฐาน คือ ปริมาณและรสชาติใกล้เคียงกันทุกจาน ส่วนร้านใดเปลี่ยนกุ๊กบ่อยก็คาดได้ว่าไม่มีมาตรฐาน คือ รสชาติเปลี่ยนตามแม่ครัว ลูกค้าก็มักทยอยหนีหายไปร้านอื่น

การศึกษายุคโบราณที่มีวัดเป็นโรงเรียนจะมีองค์ประกอบที่ต่างกับปัจจุบัน คือ มีพระสงฆ์ มีกระดานชนวน มีปั๊บสา มีศาลาวัดเป็นห้องเรียน ซึ่งยังไม่มีใครพูดถึงคุณภาพหรือมาตรฐาน แต่ปัจจุบันโรงเรียนประกอบด้วย อาคารเรียน ครู ห้องเรียน สื่อการเรียนรู้ หลักสูตร คุณภาพและมาตรฐาน เป็นต้น แล้วองค์ประกอบที่ทำให้โรงเรียนแตกต่างกันก็มีอยู่มากมาย เพื่อแยกความแตกต่างจึงมีการจัดลำดับโรงเรียน ก็มีทั้งจัดอันดับในจังหวัด ในประเทศ และในโลก เมื่อมีโรงเรียนที่เป็นเลิศก็ย่อมมีโรงเรียนที่อยู่ท้ายสุด ผู้จัดอันดับแต่ละรายก็จะสนใจองค์ประกอบที่เป็นที่มาของคะแนนแตกต่างกัน อาจพิจารณาจากจำนวนนักเรียนที่สอบเข้าในสถาบันการศึกษาของรัฐ จำนวนนักเรียนที่เป็นตัวแทนระดับชาติ หรือคะแนนเฉลี่ยจากการสอบวัดผลด้วยข้อสอบส่วนกลาง

ในระดับอุดมศึกษามีสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนดว่าสถาบันที่มีคุณภาพต้องประเมินองค์ประกอบคุณภาพทั้งหมด 9 องค์ประกอบ นอกจากนั้นก็ยังมีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) กำหนดว่ามาตรฐานคุณภาพต้องมี 18 มาตรฐาน หากลงไปในรายละเอียดก็จะพบว่ามีตัวบ่งชี้ และเกณฑ์คุณภาพอีกร้อยกว่าตัวที่ทุกหลักสูตรต้องปฏิบัติ ไม่มีหลักฐานมาแสดงก็จะไม่ได้คะแนนในส่วนนั้น ถ้าไม่ดำเนินการตามเกณฑ์ในระดับหนึ่งก็จะถูกประเมินว่าไม่มีคุณภาพ อาจมีผลพิจารณาจากต้นสังกัดว่าไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดรับนักเรียนในปีต่อไป หากดื้อดึงยังรับนักศึกษาต่อไปก็จะไม่ส่งเรื่องให้สำนักงาน ก.พ. เป็นผลให้หลักสูตรที่มีบัณฑิตจบออกมานั้นไม่สามารถรับราชการได้

องค์ประกอบของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพต้องมี 9 องค์ประกอบ คือ แผนการดำเนินการ การผลิตบัณฑิต การพัฒนานักศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การบริหาร การเงิน และการประกันคุณภาพ จากการกำกับให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องมากว่า 10 ปีของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้นำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของทุกสถาบันเผยแพร่สู่สาธารณะผ่านระบบ CHEQA เมื่อเข้าไปสืบค้นข้อมูลผลประเมินสถาบันการศึกษาในไทย พบว่า มีสถาบันการศึกษากลุ่มหนึ่งที่มีผลประเมินต่ำกว่าระดับดี โดยองค์ประกอบที่มีคะแนนต่ำคือ การผลิตบัณฑิต และการวิจัย

เมื่อเข้าไปดูผลการดำเนินงานของสถาบันที่มีผลประเมินในระดับต่ำในระบบ CHEQA ที่ สกอ. เผยแพร่ พบว่า ตัวบ่งชี้ของการผลิตบัณฑิตที่ได้คะแนนต่ำ คือ จำนวนอาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาเอก และจำนวนอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการมีน้อย ซึ่งสะท้อนได้ว่าจำนวนอาจารย์ที่พร้อมสอนในระดับนี้ยังขาดแคลน ส่วนตัวบ่งชี้ของการวิจัยที่ได้คะแนนต่ำ คือ วงเงินสนับสนุนงานวิจัย ถ้าหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีอาจารย์ 5 ท่านจะต้องได้ทุนวิจัย 300,000 บาทต่อปี จึงจะได้คะแนนในระดับดีมาก

องค์ประกอบทั้งสองส่งผลถึงการผลิตบัณฑิตว่า ถ้าอาจารย์มีความพร้อมที่จะสอน ย่อมผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม ถ้าอาจารย์ทำวิจัยที่มีคุณภาพก็ย่อมจะได้องค์ความรู้ใหม่ และนำไปถ่ายทอดให้นักศึกษามีความรู้ใหม่ แล้วจบเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของสังคม แต่จากการติดตามข่าวเด่นประเด็นร้อนในเว็บไซต์ของกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า สถาบันการศึกษาบางแห่งไม่ใส่ใจเรื่องคุณภาพการศึกษาจนเป็นเหตุให้ต้องถอนใบอนุญาตจัดตั้งมหาวิทยาลัย หรือบางแห่งต่างเรื่องคุณภาพอาจารย์จน สกอ. มีคำสั่งให้หยุดรับนักศึกษาใหม่ในหลักสูตรที่มีจำนวนอาจารย์วุฒิปริญญาเอกน้อย และตำแหน่งทางวิชาการน้อย

เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเป็นเรื่องที่มองได้หลายมุม คนที่กำหนดเกณฑ์เป็นคนกลุ่มหนึ่ง คนที่รักษากฎเป็นอีกกลุ่ม คนที่พิพากษาเป็นอีกกลุ่ม แต่กลุ่มใหญ่ที่สุดคือคนที่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทุกข้อให้ครบถ้วน ปัจจุบันพบว่ามีนักวิชาการไทยก็ยังเห็นต่างเรื่องคุณภาพการศึกษา อาทิเช่น เน้นการกระจายโอกาสทางการศึกษาจนทำให้คุณภาพเสียไป เน้นเรียนกับมืออาชีพโดยใช้คนที่ทำงานในภาคธุรกิจมาเป็นอาจารย์พิเศษเป็นสัดส่วนที่มากเกินไปก็จะไม่เป็นตามเกณฑ์คุณภาพ

ประเทศไทยยังเป็นประเทศกำลังพัฒนา และอยู่ระหว่างพัฒนา ทั้งองค์ประกอบคุณภาพ มาตรฐานคุณภาพ และเกณฑ์คุณภาพมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาในช่วงเวลา 10 ปีนี้ และจะยังปรับเปลี่ยนต่อไป การให้ความสำคัญกับองค์ประกอบใดอย่างไรย่อมทำให้ผลลัพธ์แปรผันตามกันไป ในอนาคตการศึกษาไทยอาจให้ความสำคัญกับองค์ประกอบด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นอันดับหนึ่ง ถ้าวันนั้นมาถึงก็เชื่อได้ว่าบัณฑิตใหม่จะสวดมนต์ และฟ้อนรำเป็นทุกคน

แหล่งข้อมูล
! http://www.cheqa.mua.go.th
http://www.mua.go.th
http://www.onesqa.or.th
http://www.moe.go.th

โดย ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ ในกรุงเทพธุรกิจ
! http://bit.ly/16WbWsK

อธิการบดี ฉายภาพของ ม.เนชั่น ใน สยามสาระพา

ntu president
ntu president

คลิ๊ปรายการสยามสาระพา
ตอน เปิดโลกการศึกษากับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น
ออกอากาศวันที่ 30 พฤษภาคม 2556 ทาง Nation Channel
ดำเนินรายการโดยคุณวรรณศิริ ศิริวรรณ

ในรายการได้พบกับ ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม
ให้ความมั่นใจกับนักเรียนที่จะเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยเนชั่น

Nation University in Siamsarapa episode 5

http://www.youtube.com/watch?v=wjoCQwsjkM0


พบใน ! http://blog.nation.ac.th/?p=2698

พีอาร์กับการเปลี่ยนแปลงขององค์กร

พีอาร์กับการเปลี่ยนแปลงขององค์กร
Public Relation with Organization changing
โดย : อดิศักดิ์ จำปาทอง
! http://bit.ly/14cNz6s

องค์กรธุรกิจในปัจจุบันนี้ ต่างต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายหลายรูปแบบ ทั้งการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นใหญ่ เปลี่ยนผู้บริหาร เปลี่ยนสายธุรกิจ

adisak
adisak

จากองค์กรที่เคยอยู่กันมาอย่างสงบนับสิบปี แต่แล้ววันหนึ่งก็มีซองขาวมาวางอยู่บนโต๊ะ พร้อมกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่เข้ามาช่วยดูแลเก็บข้าวของและเชิญให้ออกจากองค์กรไปโดยเร็ว ซึ่งเป็นตัวอย่างของการจัดการกับพนักงานที่ลอกเลียนแบบมาจากฝรั่งตะวันตกที่ยังนิยมปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในเมืองไทยอยู่ทุกวันนี้ จนพนักงานส่วนที่เหลือก็ทนไม่ไหวพากันลาออกไปจนเกือบหมดในที่สุด ความสูญเสียที่ใหญ่หลวงขององค์กรก็คือ พนักงานไม่มีใจเหลือให้องค์กรอีกต่อไปแล้ว ที่ยังอยู่ก็อยู่กันแบบซังกะตาย หมดเรี่ยวแรงจะผลักดันองค์กร

ผู้บริหารคิดว่า จะยังสามารถบริหารองค์กรที่ตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ได้ต่อไปอีกหรือ

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว การสื่อสารดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เพราะถึงแม้จะไม่มีการสื่อสารอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีการแลกเปลี่ยนคุยกันปากต่อปากอยู่ดี ยิ่งมีประเด็นที่ลับมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีการซุบซิบนินทามากขึ้นเป็นเงาตามตัว ปล่อยข่าวจริงบ้างเท็จบ้าง โดยเฉพาะข่าวที่เป็นลบยิ่งแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว แต่ในทางตรงกันข้าม ข่าวดีๆ มักจะอยู่กับที่ ซึ่งเป็นอันตรายต่อองค์กรอย่างยิ่ง

การสื่อสารในลักษณะเช่นนี้ เราเรียกว่า The Grapevine หรือการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ (Informal Communication) ซึ่งเป็นเรื่องปกติขององค์กรที่พนักงานในบริษัทจะซุบซิบคุยเล่นกันในสถานที่ทำงาน การพูดคุยกันในห้องน้ำหลังอาหารมื้อกลางวันกับเพื่อนร่วมงาน การแวะแต่งหน้าหรือแปรงฟันในห้องน้ำเป็นกลุ่มๆ ในช่วงเวลาพัก หรือแม้แต่การพูดคุยกันบนโต๊ะอาหารกลางวัน ซึ่งเชื่อได้เลยว่า การสนทนาในสถานการณ์ดังกล่าว กว่า 80% ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานแทบทั้งสิ้น

ผู้บริหารที่ฉลาดจึงมักจะใช้เส้นทางของ The Grapevine นี้ เพื่อหาข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของตนเอง เพราะถ้ารู้ตัวว่า เมื่อขจัดมันออกไปจากองค์กรไม่ได้ ก็ควรใช้มันให้เป็นประโยชน์เสียเลยดีกว่า อย่างนี้เรียกว่า พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เช่น ผู้บริหารต้องการอยากจะทราบว่าพนักงานคิดอย่างไรกับการตกแต่งโชว์รูมใหม่ ก็อาจจะเปรยกับเลขาฯหรือผู้ช่วยฝ่ายประชาสัมพันธ์ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีมากๆ สักคนหนึ่ง รับรองว่าอีกไม่นานคำตอบต่างๆ ก็จะหลั่งไหลมาหาผู้บริหารท่านนั้นเอง ที่เหลือจึงเป็นเรื่องของเทคนิคการกลั่นกรองข่าวสารเพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

ผู้บริหารที่ให้ความสำคัญกับขั้นตอนการสื่อสารเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง หากยังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจาหรือมีประเด็นที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ เงื่อนไขก็คือว่าประเด็นเหล่านี้จะหลุดรอดออกมาภายนอกไม่ได้ เพราะจะส่งผลเสียหายอย่างร้ายแรง ถ้าต้องให้ผู้มีส่วนร่วมรับรู้ ก็เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องจริงๆ เท่านั้น หากเป็นความลับ ก็ต้องลับสนิทอย่างแท้จริง เพราะบางเรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อคนจำนวนมากๆ เป็นละเอียดอ่อน เช่น เรื่องการโยกย้ายตำแหน่ง หรือเรื่องการปรับขึ้นเงินเดือน เพราะข่าวนั้นจะไหลเข้าสู่กระแส Grapevine อย่างรวดเร็วและรุนแรง จนบางครั้งเราอาจจะควบคุมมันไว้ไม่อยู่เลยทีเดียว

เมื่อสถานการณ์ชัดเจนแน่นอน ค่อยชิงจังหวะสื่อสารไปยังผู้เกี่ยวข้อง พนักงาน และกลุ่มเป้าหมายก่อนที่ประเด็นดังกล่าวจะถูกปล่อยออกไปเป็นข่าวลือ เพราะหากถึงขั้นเป็นข่าวลือแล้วละก็ การสื่อสารที่ตามมาก็จะกลายเป็นการแก้ข่าว และหากข่าวลือนั้นถูกทำให้เชื่อแล้ว ยิ่งต้องกลายเป็นข้อแก้ตัวหนักเข้าไปอีก จังหวะในการสื่อสารจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น เนื้อหาที่สื่อสารออกไปต้องเป็นข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา แม้ว่าจะเป็นข้อเท็จจริงที่เจ็บปวดก็ตาม เพราะการนำเสนอแต่ข้อเท็จจริง จะทำให้พนักงานยังคงเชื่อมั่นในองค์กร

การเปลี่ยนแปลงขององค์กรย่อมมีที่มาที่ไป คงไม่มีองค์กรไหนต้องการสร้างความวุ่นวาย ดังนั้น ที่มาของการเปลี่ยนแปลงจึงน่าจะเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องถ่ายทอดไปสู่พนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ ซึ่งวิธีการถ่ายทอดนั้น สามารถทำได้ทั้งรูปแบบที่เป็นทางการ เช่น สารจากผู้บริหาร จดหมายข่าว หรือวารสารภายใน ฯลฯ หรือรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ เช่น การพูดคุยกับพนักงานอาวุโส พนักงานที่มีอิทธิพลทางความคิด หรืออาจเชิญผู้มีชื่อเสียงหรือมีอิทธิพลจากภายนอกมาให้ความรู้ตอกย้ำประเด็นของการเปลี่ยนแปลง

การสื่อสารเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ต้องไม่ละเลยที่จะดูแลกระแสจากภายนอกองค์กรด้วย ข่าวจากภายนอกองค์กรอาจทำให้พนักงานตีตนไปก่อนไข้ได้ หรือข่าวที่หลุดไปจากพนักงานที่ไม่พึงพอใจต่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งๆ ที่อาจเป็นเพียงความคิดเห็นของคนเพียงคนเดียวหรือคนกลุ่มเล็กๆ ก็อาจสร้างความเข้าใจผิดเสียหายต่อองค์กรได้

ปัจจุบันองค์กรคงจะไม่ได้เผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องๆ อย่างที่ผ่านมาในอดีตเสียแล้ว แต่ทุกองค์กรกำลังเผชิญหน้ากับ Continuous Change ที่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็หมายความว่า ทั้งผู้บริหาร พนักงาน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและไม่รู้จบเช่นกัน

โดย อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง ในกรุงเทพธุรกิจ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2696

Nation University Update #7 ตอนคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

นั่งดูคลิ๊ปเพลินครับวันนี้ .. เห็นนักศึกษาหน้าตาดี
อาจารย์ก็หล่อมาดเข้ม จึงนำมาฝากครับ

อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย
อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย

คลิ๊ปรายการ Nation University Update #7
อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย เล่าเรื่อง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
และ อ.อุดม ไพรเกษตร ผู้ดำเนินรายการ
บริเวณริมอ่างตระพังดาว มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง
ตอนเซเว่น” เห็นนักศึกษาเล่น ninja fruit ด้วยครับ

– iClassroom
– Lab Mac
– e-Learning
– Wi-Fi
– Tablet PC : Samsung Tab 10.1
– Network : Training & Co-op