Definiton and Review

รวมประเด็นเกี่ยวกับ นิยามศัพท์ (Definition) ทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) และข้อเท็จจริง (Fact)

เล่าเรื่องลีนุกซ์ไว้ใน isinthai กำลังปรับปรุง ยังไม่เรียบร้อย

isinthai in editplus
isinthai in editplus

มีโอกาสเรียนรู้เรื่อง ลีนุกซ์ (Linux) มาหลายปี
จึงเขียนสิ่งที่เรียนรู้มา เป็นการจัดการความรู้ (KM)
แบบ story telling และฝากไว้กับโดเมน isinthai.com
ต่อมาปล่อยให้โดเมนนี้หลุดไป
เนื่องจากถือครองโดเมนไว้มากแล้ว (มากเกิน)
พอโดเมนหลุด ก็เปลี่ยนบทบาทเป็นเพียงโฮมเพจ
ฝากไว้ที่ http://www.thaiall.com/isinthai
และมีเว็บเพจลูกอีกหลายหน้าที่เพิ่มมาในภายหลัง
แต่ตัวหลัก คือ โฮมเพจหน้าเดียว
ช่วงแรกทำเป็น html อย่างเดียว
ต่อมาก็เปลี่ยนเป็น php และเริ่มมีการประมวลผล
เลือกแสดงข้อมูลผ่าน query string
เนื้อหาก็แทบไม่ได้ปรับให้สมบูรณ์เท่าที่ควร
ครั้งใดที่คิดจะปรับก็จะเพิ่มเนื้อหาใหม่
แต่ก็ไม่ได้ปรับให้สมบูรณ์ หมดไฟซะก่อน
จนกระทั่ง
มกราคม 2560 มีโอกาสนำโฮมเพจลีนุกซ์มาทบทวน
จึงปรับย้ายเนื้อหาไปวางในตัวแปรแบบ array แทน
ส่วนรูปแบบการแสดงผล เขียนเป็น function box
ก็จะมีกล่องแสดงผลไม่กี่รูปแบบในโฮมเพจหน้านี้
เพราะต้องการปรับให้เป็น Responsive Web Design
ที่เปลี่ยนการแสดงผลต่างกันไปตามอุปกรณ์แต่ละแบบ
เครื่องมือที่ใช้เขียนเป็น editor คือ editplus
สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการปรับ คือ เรียงคำสั่งที่น่าสนใจ 20 คำสั่ง
จะเอาไปคุยกับนักศึกษา

linux
linux

คำสั่งที่น่าสนใจ มีดังนี้
คำสั่ง id (finger, who, w)
คำสั่ง pwd
คำสั่ง ls
คำสั่ง man
คำสั่ง netstat
คำสั่ง ping
คำสั่ง traceroute, tracert
คำสั่ง df
คำสั่ง du
คำสั่ง ps
คำสั่ง top
คำสั่ง mount, umount
คำสั่ง env set
คำสั่ง cd, mkdir, rmdir
คำสั่ง cp, rm, mv
คำสั่ง vi
คำสั่ง cat
คำสั่ง tail
คำสั่ง grep
คำสั่ง reboot, shutdown

การนำเสนอในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม

การนำเสนอในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม

การนำเสนอในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
การนำเสนอในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
การนำเสนอในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
การนำเสนอในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
การนำเสนอในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
การนำเสนอในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม

เมื่อวันนี้ 18 พฤษภาคม 2559 9.00 – 16.00 นักศึกษาทุกชั้นปี ทุกคณะ ไปรวมตัวกันที่ห้อง Auditorium แต่งตัวเรียบร้อย เตรียมการนำเสนอเต็มรูปแบบ พร้อมสำหรับวิชากิจกรรม ของ อ.ธวัชชัย แสนชมภู วิชาบริหารของ อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากข้างนอกมาเป็น Commentator อาทิ อ.สันติ เขียวอุไร ร่วมกับ Commentator ที่เป็นตัวแทนคณะวิชาต่าง ๆ รุ่นพี่แบ่งเป็นสองทีม นำเสนอได้เข้มข้น เหมือน Thailand Got Talent ซีซั่นเนชั่น ผู้นำแต่ละทีม คือ นายนิกร ชมชื่น และน.ส.รมิดา เลิศธนกร สาขาวิชาการบัญชี ช่วงบ่าย ๆ จะเป็นการนำเสนอของนักศึกษาปี 1 ในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม (LEAC 200) ที่มีกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดภาคการศึกษา อาทิ สืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามให้อยู่คู่สังคมไทย เรารักม่อนพระยาแช่

http://www.chiangmainews.co.th/page/archives/478782

ม.เนชั่นฯ สืบสานประเพณี ดำหัวอธิการ อาจารย์อาวุโส

การเรียนการสอนแบบ Active Learning คือ กระบวนการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก ที่เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ ผ่านการลงมือทำที่ต้องปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้ได้ผลการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีหลายรูปแบบ ดังนี้ แบบที่ 1) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) เช่น สำรวจ เสาะหา ค้นคว้า สร้างสรรค์ เกมการแข่งขัน แลกเปลี่ยน แสดงออก นำเสนอ โดย เน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ และทักษะเดิม มาทำให้กิจกรรมเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ แบบที่ 2) รูปแบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning) เช่น ลงมือปฎิบัติ ทดลอง ทดสอบ การพูด การอ่าน การเขียน บทบาทสมมติ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และอภิปรายผล โดย เน้นให้ผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติ ให้ได้ทักษะ ประสบการณ์ ความรู้ใหม่ หรือการเรียนรู้เรื่องใหม่ แบบที่ 3) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) เช่น การใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งสมมติฐาน หาสาเหตุ เชื่อมโยงเรื่องราว หาแนวทางการแก้ปัญหา ดำเนินการแก้ปัญหา และหาคำตอบ โดย เน้นให้ผู้เรียนกำหนดปัญหาขึ้น หาวิธีแก้ไข ดำเนินการ และสรุปผลได้ แบบที่ 4) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) เช่น กำหนดประเด็นงานตามความสนใจแล้วนำเสนอ ฝึกทำงานร่วมกันเชิงบูรณาการและวางแผน รู้จักใช้แหล่งข้อมูลแล้วจึงปฏิบัติ สร้างผลผลิตแล้วประเมินผล และนำเสนอ โดย เน้นให้ผู้เรียนต้องกำหนดประเด็น แผนงาน และดำเนินงานตามแผนอย่างเป็นระบบ แบบที่ 5) รูปแบบการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีวิจัยหรือใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL = Research-Based Learning) เช่น (1) การเรียนรู้ผลการวิจัย/ใช้ผลการวิจัยประกอบการสอน (2) การเรียนรู้จากการศึกษางานวิจัย/การสังเคราะห์งานวิจัย (3) การเรียนรู้ที่ใช้กระบวนการวิจัยเป็นกระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วย (ก) การเรียนรู้วิชาวิจัย/วิธีทำวิจัย (ข) การเรียนรู้จากการทำวิจัย/รายงานเชิงวิจัย (ค) การเรียนรู้จากการทำวิจัย/ร่วมทำโครงการวิจัย (ง) การเรียนรู้จากการทำวิจัย/วิจัยขนาดเล็ก และ (จ) การเรียนรู้จากการทำวิจัย/วิทยานิพนธ์

ขั้นตอนการสอนเชิงรุก (Active Learning) มีดังนี้ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ 2) ขั้นสำรวจและค้นหา 3) ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป 4) ขั้นสร้างผลผลิตของความเข้าใจ 5) ขั้นสะท้อนผลผ่านชุมชนแหล่งการเรียนรู้ ซึ่งคำว่า ชุมชน (Community) นั้นจำแนกได้หลายระดับ ได้แก่ ในห้องเรียน ในระดับชั้น ในโรงเรียน ในจังหวัด ในภาค ในประเทศ ในต่างประเทศ ในการประชุมวิชาการ ในวารสาร หรือในสื่อสังคม ที่เปิดให้มีการนำเสนอผลผลิต รับข้อซักถาม การโต้แย้ง ชี้ประเด็นที่น่าสนใจ หรือมีข้อเสนอเพื่อการพัฒนาต่อยอดจากชุมชน

https://www.thaiall.com/education/indexo.html

การตั้งคำถามก็มีเป้าหมายที่แตกต่างกัน

การตั้งคำถามก็มีเป้าหมายที่แตกต่างกัน
เมื่อมองจาก ภาพปัญหา กับ เจตนาของคำถาม มี 4 แบบ

1. Wide + Affirm what we know = Adjoining
ปัญหากว้าง และยืนยันสิ่งที่เรารู้ = เพื่อให้ความรู้กระชับ
ต.ย.คำถาม ภาษาคอมพิวเตอร์ ใช้ภาษาอังกฤษในการเขียนใช่ไหม
2. Wide + Discover something new = Elevating
ปัญหากว้าง และได้เรื่องใหม่ = เพื่อยกระดับความรู้
ต.ย.คำถาม ภาษาคอมพิวเตอร์ ที่กำลังเป็นที่นิยม คือ ภาษาอะไร จะได้ไปศึกษา
3. Narrow + Affirm what we know = Clarifying
ปัญหาแคบ และยืนยันสิ่งที่เรารู้ = เพื่อให้ความรู้กระจ่างชัดขึ้น
ต.ย.คำถาม ภาษา Python กำลังมาแรง ปีนี้จะขึ้นมา ด้วยสัดส่วนผู้ใช้เท่าใด
4. Narrow + Discover something new = Funneling
ปัญหาแคบ และได้เรื่องใหม่ = เพื่อให้มีความรู้ลึกขึ้น
ต.ย.คำถาม ถ้า download ภาษา Python รุ่นใหม่ จะมีฟังก์ชั่นใหม่อะไร มาให้ใช้บ้าง
https://hbr.org/2015/03/relearning-the-art-of-asking-questions
ปล. ดร.ทันฯ อ่าน hbr.org แล้วแชร์มาครับ

คุณธรรม จริยธรรม จากงานวิจัย

เห็นข่าวเด่นทางทีวีที่เล่าถึงการกระทำผิดของผู้คน เห็นได้ชัดว่าผู้กระทำความผิดไม่น้อย ขาดจริยธรรมตั้งแต่ขั้นที่ 1 ที่มักพบในเด็กอายุ 2 – 10 ขวบ ตามทฤษฎีของ Kohlberg ที่ ผศ.ดร.ดุจเดือน ได้ไปสังเคราะห์มา ก็ไม่อยากจะยกตัวอย่าง เพราะตัวอย่างมีให้เห็นแทบทุกวันในข่าวเช้าเกือบทุกช่อง วันไหนไม่มี ถือว่าผิดปกติมากมาย

Lawrence Kohlberg
Lawrence Kohlberg
อ่าน รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมในประเทศไทยและต่างประเทศ [1] ของ ผศ.ดร.ดุจเดือน พันธุนาวิน (2550) ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์กรมหาชน)
โดยเล่าเรื่องของ พัฒนาการทางจริยธรรม (Moral Development) 
ตามทฤษฎีของ Kohlberg (1969)  ในหน้า 9 ว่า ระดับจริยธรรม และอายุมี 3 ระดับ 
แต่ละระดับมี 2 ขั้นของการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม ดังนี้

ระดับที่ 1 ก่อนกฎเกณฑ์ อายุ 2 – 10 ขวบ
– ขั้นที่ 1 หลักการหลบหลีกการถูกลงโทษ (คล้ายกับคำว่า หิริโอตัปปะ) สมัยเด็ก แค่เด็กไม่ร้องไห้เอาแต่ใจ เพราะกลัวถูกตีก็เรียกว่ามีจริยธรรมได้
– ขั้นที่ 2 หลักการแสวงหารางวัล สมัยเด็ก เด็กคนไหนเชื่อฟัง อาบน้ำกินข้าว เพราะหวังขนม เรียกว่ามีจริยธรรมได้

ระดับที่ 2 ตามกฎเกณฑ์ อายุ 10 – 16 ปี
– ขั้นที่ 3 หลักการทําตามความเห็นชอบของผู้อื่น สมัยแรกรุ่น ใครว่าสิ่งไหนดี แล้วทำตาม เรียกว่ามีจริยธรรมได้
– ขั้นที่ 4 หลักการทําตามหน้าที่และกฎข้อบังคับในสังคม สมัยแรกรุ่น แต่ชุดนักเรียน ไม่ไว้ผมยาว ไม่เข้าเรียนสาย เรียกว่ามีจริยธรรมได้

ระดับที่ 3 เหนือกฎเกณฑ์ อายุ 16 ปี ขึ้นไป
– ขั้นที่ 5 หลักการทําตามคํามั่นสัญญา สมัยผู้ใหญ่ ไม่โกหก ไม่นอกใจ ไม่หักหลัง เรียกว่ามีจริยธรรมได้
– ขั้นที่ 6 หลักการยึดอุดมคติสากล สมัยผู้ใหญ่ คิดดี พูดดี ทำดี อย่างที่สังคมต้องการ เรียกว่ามีจริยธรรมได้

ต่อมา Lawrence Kohlberg ได้เขียนบทความถึงขั้นที่สูงกว่าไว้หลายบทความ
แล้วนักวิชาการได้ให้ความสําคัญกับขั้นที่ 7 มากขึ้น (Lapsley, 1996) 
โดยเรียกเหตุผลเชิงจริยธรรมในขั้นนี้ว่า “Ultimate faith” 
หรือ ขั้น “ความเชื่อศรัทธาขั้นปรมัตถ์ในความเกี่ยวเนื่องของชีวิต” 
เป็นการที่บุคคลกระทําหรือไม่กระทําสิ่งใด โดยคํานึงถึงความเกี่ยวเนื่องของผลการกระทํา
ทั้งในเชิงของสถานที่ และ/หรือ เวลา  
ซึ่งใกล้เคียงกับหลักทางพุทธศาสนาเกี่ยวกับ การเวียนว่ายตายเกิด (อเนกชาติ)    
---
คนมีจริยธรรมถึงขั้น 7 นี่ต้องดีโดยสมบูรณ์พร้อมเผื่อชาติหน้า ถึงจะเรียกว่ามีจริยธรรมในขั้นนี้
ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน
ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน

หลากหลาย ไว(วัย) และ จริยธรรม เท่ากับคนสื่อยุคใหม่

“น้ำอดน้ำทนน้อยลง หนักไม่เอาเบาไม่สู้” “สมาธิสั้น” “ทำงานไม่เป็น ไม่ค่อยฟัง เถียง” วลีสั้น ๆ ที่ได้ยินบ่อยครั้ง

เมื่อกล่าวถึงคนสื่อรุ่นใหม่จากปากคนสื่อรุ่นเก่า เหมือนคำตอบที่โยนกลับสู่นักวิชาการสื่อ คนสอนสื่อ ผู้สร้างคนสื่อรุ่นใหม่ถึงผลผลิตที่ป้อนสู่อุตสาหกรรมสื่อ ใส่เครื่องหมายคำถามตัวโตๆ “เป็นความผิดคนรุ่นใหม่หรือที่เป็นอย่างนั้น” ก็คงจะไม่ใช่เพราะเป็นเพียงมุมมองคนรุ่นหนึ่งมองคนอีกรุ่นหนึ่ง

การเปลี่ยนแปลงของตัวสื่อ ไม่ใช่กระทบต่อรูปแบบการทำงานสังคมงานสื่อเพียงประการเดียว แต่มีผลพวงวงกว้าง รวมถึงการเรียนการสอนด้านสื่อก็ด้วย ทุกวันนี้ต้องยอมรับว่าผู้สอนต้องงัดสารพัดเทคนิคมาใช้มากขึ้น เพื่อแข่งขันกับอาจารย์กู (กูเกิล) ที่สามารถรังสรรค์คำตอบให้แก่ผู้เรียนเพียงปลายนิ้วสัมผัสที่ป้อนสิ่งที่ต้องการจะรู้เข้าไป ผ่านแป้นคีย์บอร์ด ความรู้บนโลกไซเบอร์ที่กว้างขวาง ตอบได้ทุกด้านที่ผู้เรียนต้องการ จริงไม่จริง ถูกไม่ถูกต้อง ครบถ้วนหรือไม่ อีกเรื่องหนึ่ง แน่นอนว่าเทคโนโลยีเปลี่ยนวิธีคิดของคน ทำให้อดทนน้อยลงที่จะนั่งค้นหาคำตอบสิ่งต่างๆ บทบาทของผู้สอนจึงเป็นเสมือน “โค้ช” มากกว่าการเป็นครู เป็นผู้ชี้แนะแนวทางแสวงหาความรู้ สร้างบรรยากาศ กระตุ้นการเรียนรู้ แล้วคนสื่อแบบไหนที่สังคมสื่อในยุคปัจจุบันต้องการ

ประการแรก “หลากหลาย” มีทักษะอันหลากหลาย นักสื่อสารมวลชนคนรุ่นใหม่ ต้องเป็นคนที่มีความรู้ไม่จำเพาะความรู้เฉพาะด้านเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง จะเป็นคนสื่อที่รู้เพียงด้านวิทยุโทรทัศน์ สื่อใหม่ โฆษณา หรือประชาสัมพันธ์เพียงด้านใดด้านหนึ่งคงไม่เพียงพอ ควรมีความรู้รอบด้านอันเกี่ยวข้องกับบริบททางสังคม เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ร่วมด้วย การคอนเวอร์เจนซ์ของสื่อ ต้องการคนสื่อที่เข้าใจธรรมชาติของสื่อที่เปลี่ยน สามารถบูรณาการความรู้ในการทำงานเป็นนักวิชาชีพที่มีองค์ความรู้ทางวิชาการ และที่สำคัญควรเป็นคนสื่อที่รู้เท่าทันสื่อ ส่วนทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่กลายเป็นทักษะพื้นฐานที่คนสื่อยุคใหม่ต้องมี การใช้งานคอมพิวเตอร์โปรแกรมพื้นฐานในการพิมพ์งาน การนำเสนอ และการใช้โซเชียลมีเดียเป็น ไม่ว่าจะใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ทักษะด้านภาษาที่นักสื่อสารมวลชนคนรุ่นใหม่ควรจะสื่อสารได้ 2 ภาษาเป็นอย่างน้อย คือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ไม่ต้องมองไปไหนไกล เริ่มจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะมาถึงในปี 58 หรือใกล้ตัวกว่านั้น คือ การใช้ภาษาในการติดตามข่าวสาร แลกเปลี่ยนข่าวสารกับสื่อมวลชนจากทั่วทุกมุมโลก

ประการที่สอง “ไว (วัย)” ไวอันแรกคือ ปรับตัวไว วัยทำงานของคนสังคมสื่อมีความหลากหลายคนสื่อรุ่นใหม่ต้องสามารถทำงานเป็นทีม เมื่อคนหลายเจนเนอเรชั่นมาทำงานรวมกัน ความแตกต่างเรื่องวัยสัมพันธ์กับเข็มไมล์ประสบการณ์ ปัญหาและทัศนคติการทำงานที่ไม่ตรงกันเกิดขึ้นได้เสมอ ก็เหมือนองค์กรธุรกิจอื่น ที่ประกอบไปด้วยคนตั้งแต่ยุคเบบี้บูมเมอร์ ที่มีชีวิตเพื่อการทำงาน (Work for Life) คนเจนเนอเรชั่น X โตมากับพัฒนาการของสื่อ ทำงานในลักษณะสมดุลงานกับครอบครัว (Work-Life Balance) มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นตัวของตัวเองสูง และคนเจนเนอเรชั่น Y โตมากับสื่อใหม่ มีทักษะการทำงานที่หลากหลาย มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ชอบอยู่ในกรอบ การเปิดใจยอมรับ ปรับทัศนคติเข้าหากันและกัน สำคัญที่สุดคือใช้ “การสื่อสาร” เพื่อการป้องกันปัญหา ลดช่องว่างระหว่างวัยที่จะเกิดขึ้น

ไว อันที่สอง ไวต่อการเรียนรู้ ด้วยสื่อสมัยปัจจุบันที่มีการคอนเวอร์เจนซ์ เทคโนโลยีสื่อที่ปรับเปลี่ยนตลอดเวลา การเรียนรู้ ปรับตัวให้เข้ากับสื่อ สามารถหยิบเอาประโยชน์ เทคโนโลยีจากสื่อ มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเอง คนที่พร้อม คนที่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา จึงจะสามารถอยู่รอดในวิชาชีพนี้

ประการสุดท้าย “จริยธรรม” การเป็นคนสื่อที่มีจริยธรรม การประพฤติและปฏิบัติที่ดี มองเรื่องจริยธรรมสื่อแล้วก็น่าใจหายที่เป็นประเด็นที่ถูกหยิบยก มองเห็นความสำคัญกันน้อย ทั้งที่ในความเป็นจริงควรให้ความสำคัญระดับต้นๆ เริ่มที่ครอบครัวและสถาบันการศึกษา การไปแก้ไขเมื่อเข้าสู่สังคมสื่อกระทำได้ยาก ปัญหาจริยธรรมนับวันเป็นสิ่งที่ฝังรากลึกในสังคมทุกสังคม ตัวอย่างง่ายๆ ที่ประสบพบเจอในฐานะนักวิชาการ ผู้สอนทางด้านสื่อคือ การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในรูปแบบใดก็ตาม การลอกเลียนแบบผลงานคนอื่น การหยิบ หรือนำผลงานคนอื่นมาใช้ในผลงานตนเองโดยไม่ได้ให้การอ้างอิง ถึงแหล่งที่มาของข้อมูล จนผู้เรียน บุคคลที่จะก้าวขึ้นมาเป็นคนสื่อรุ่นใหม่มองว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่ได้ผิดอะไร เป็นความคุ้นชินที่ทำมาตลอด หรือการใช้เทคโนโลยีในการแก้ไข ลอกเลียน บิดเบือนข้อเท็จจริง สิ่งต่างๆ เหล่านี้ควรที่จะได้รับการแก้ไข ให้ความตระหนักจากทุกภาคส่วน ลำพังจะรอองค์กรวิชาชีพสื่อ ขับเคลื่อนกลไกเรื่องนี้คงจะไม่ได้

ไม่ว่าสังคมสื่อ ภูมิทัศน์สื่อจะเปลี่ยนไปมากเท่าใด หากเรียนรู้ที่จะปรับตัว เรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจ และคงไว้ซึ่งกรอบความคิดและจุดยืนในวิชาชีพที่เปี่ยมด้วยจริยธรรมคุณธรรม ก็สามารถเป็นคนสื่อคุณภาพได้ไม่ยาก

Tags : ชินกฤต อุดมลาภไพศาล ! bit.ly/H14kJD

ฐานข้อมูลคุณวุฒิที่ได้รับการรับรอง

ระบบรับรองคุณวุฒิ

ฐานข้อมูลคุณวุฒิ
ฐานข้อมูลคุณวุฒิ

https://accreditation.ocsc.go.th/accreditation/search/curriculum

! 203.21.42.34/acc/index.html
ได้ค้นคำว่า ระบบรับรองคุณวุฒิ พบว่า รัฐบาลไทยทำรายการให้คนไทยสืบค้นหลักสูตรว่าหลักสูตรใดได้มาตรฐาน ดูแลโดย สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
ซึ่งมีคุณวุฒิทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
ตัวอย่างนี้เป็นหลักสูตรหนึ่งในทั้งหมด 90 หลักสูตร ของ มหาวิทยาลัยเนชั่น (เดิมมหาวิทยาลัยโยนก)

! goo.gl/FONkf

การทำวิจัยระดับปริญญาเอก

research thailand
research thailand

มีเพื่อน share มาให้
ผมเก็บภาพนี้ไว้เป็น case study
ในวิชาที่สอนเกี่ยวกับการทำ project
ส่วนเนื้อหาในภาพก็ใช้คุยได้หลายวิชา
อาทิ การตลาด จริยธรรมคุณธรรม และกฎหมาย
ผมว่าการออกแบบเว็บเพจก็ยังเล่าให้นักศึกษาฟัง
เรื่อง การพัฒนาเว็บไซต์ได้อีกด้วย
แล้วก็ยังพูดถึงเรื่องการประกันคุณภาพของ สกอ.ได้

ชื่อโดเมนสวยมากครับ researchthailand.com

คนที่เกี่ยวกับเรื่องนี้
– ตัวนักศึกษาปริญญาเอก
– อาจารย์ที่ปรึกษา
– ผู้รับจ้าง
– สถาบันการศึกษา
– สกอ. ???

ความหมาย และความจำเป็น กับคำว่ามืออาชีพ

แต่งหน้า อย่างกับมืออาชีพ
แต่งหน้า อย่างกับมืออาชีพ

ความหมาย และความจำเป็น ที่ต้องใช้มืออาชีพ
1. ความหมายของมืออาชีพ ของ สุรชัย เทียนส่ง ใน blog คณะเภสัชศาสตร์ ศิลปากร
มืออาชีพ คือ มือ + อาชีพ เอาคำสองคำนี้มาประสานกัน การทำงานคงต้องใช้มือในการลงมือทำ มือทำตามสมองและจิต  การงานใดที่เรามองว่ามันคืออาชีพ เราควรจะทำมันเต็มกำลังสามารถและควรจะพยายามรักษาอาชีพที่เราทำนั้นไว้ให้ดีที่สุด เมื่อเราทำเช่นนี้ เราก็จะมีความสามารถในงานที่เราทำเหนือใคร ๆ จนสามารถสอน บอกเล่า งานการที่เราทำนั้นแก่ผู้อื่นได้ ซึ่งอาจหมายถึงคำที่เขาเรียกกันว่า ผู้มีประสบการณ์
http://blog.pharm.su.ac.th/content/%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E

2. ความจำเป็นที่ต้องใช้ มืออาชีพ มาเป็น อาจารย์พิเศษ ของ ผศ.ชัยชาญ ถาวรเวช นิเทศ ศิลปากร
ตอบคำถามเรื่อง “อะไรคือ ความตั้งใจแรกที่ คณะไอซีที ต้องอยู่บางรัก และมีอาจารย์พิเศษ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ สกอ. ประเมิน ไม่ผ่าน”
ว่า “คณะมีความตั้งใจ คือ ต้องการให้นักศึกษาจบไปแล้วทำงานเป็นเลย เพราะอย่างที่ทราบกันดี นายจ้างต้องเสียเวลาฝึกพนักงานใหม่เป็นเดือน พอเป็นงานแล้ว ก็เปลี่ยนงานใหม่ เพื่อปรับฐานเงินเดือน”
“เพราะเหตุนี้ มหาวิทยาลัยจึงต้องการผลิตบัณฑิต เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมได้ดี บัณทิตที่จบไป ต้องทำงานได้ทันที นี่คือ ความจำเป็นที่ต้องใช้ มืออาชีพ มาเป็น อาจารย์พิเศษ ”
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1365152611&grpid=03&catid=03

แถลงการณ์จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มศก.
เรื่อง การรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2556

http://thainame.net/edu/?p=708

3. ถ้าหลักสูตรมีผู้มีประสบการณ์แสดงว่าเป็นจุดขาย ของ ผศ.ดร.รุ่งรัตน์ ชัยสำเร็จ นิเทศฯ หอการค้าไทย
“ต้องยอมรับว่ามหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรจำนวนมาก แต่อาจารย์สอนมีจำนวนจำกัด ทำให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งต้องจ้างอาจารย์พิเศษมาสอน ซึ่งการจ้างอาจารย์พิเศษมาสอนถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้นักศึกษาได้เห็นมุมมอง ประสบการณ์ ความคิดใหม่ๆ จากอาจารย์พิเศษที่ส่วนใหญ่เป็นผู้เชี่ยวชาญ มีความรู้ความสามารถ อยู่ในแวดวงการทำงานธุรกิจนั้นจริงๆ”
คมชัดลึก ฉบับวันที่ 18 เม.ย. 2556 (กรอบบ่าย)
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32449&Key=hotnews


แต่งหน้าแบบมืออาชีพ

เกมออนไลน์ชื่อดัง HON และ Point Blank ตั้งเป้านักเรียน-นักศึกษา

 

ภาพจาก Neolution E-Sport
ภาพจาก Neolution E-Sport

30 มี.ค.56 ผู้จัดงาน Garena Star League 2013 จัดแข่งประชัน 2 เวทีเกมออนไลน์ชื่อดัง HON และ Point Blank ตั้งเป้านักเรียน นักศึกษา ชมงานกว่า 5 หมื่นคน เล็งขยายพื้นที่จัดงานครั้งหน้าอีกเท่าตัว รองรับเกมเมอร์ (Gamer) จากการสำรวจยังพบว่าทั้ง 2 เกม เป็นเกมที่มีสัดส่วนการเล่นกว่า 80% ของร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะเกม HON ที่มีผู้เล่นแอคทีฟกว่า 2 ล้านคนต่อเดือน

นายสกลกรณ์ สระกวี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Playinter และ Garena ผู้จัดงาน Garena Star League 2013 เปิดเผยว่า การจัดงาน Garena Star League 2013 ถือเป็นครั้งแรกที่บริษัทขยายไลน์การจัดงานมาเป็นงานใหญ่จากที่เคยเข้าร่วมกับงานเกมประจำปีมาก่อนหน้านี้ โดยการจัดงานครั้งนี้บริษัทใช้งบประมาณทั้งหมดราว 15 ล้านบาท เพื่อจัดแข่งขันหาผู้ชนะใน 2 เกมที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทยคือ Hero of Newerth (HON) และ Point Blank ซึ่งเป็นเกมแนววางแผน โดยมีผู้แข่งขันที่เป็นนักกีฬาอี-สปอร์ต จาก 9 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ยุโรป จีน และไทย เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อหาผู้ชนะในเกม HON ซึ่งทีมผู้ชนะจะได้รับรางวัลกว่า 9 แสนบาท ส่วนทีมผู้ชนะเกม Point Blank จะได้รับรางวัลราว 2 แสนบาท

สำหรับเป้าหมายการจัดงานในครั้งนี้ บริษัทคาดว่าจะมีผู้สนใจเข้าร่วมงานเกิน 5 หมื่นคน โดยเน้นกลุ่มผู้เข้าร่วมงานเป็นนักเรียนนักศึกษา และหวังให้เกิดการผลักดันวงการอี-สปอร์ตอย่างเต็มรูปแบบในประเทศไทย โดยบริษัทมั่นใจว่าการจัดงานในครั้งนี้เป็นการจัดงานที่ถือว่ายิ่งใหญ่ที่สุดงานหนึ่งในประเทศไทย นอกจากนี้ บริษัทยังวางแผนขยายพื้นที่การจัดงานในครั้งต่อไปให้ใหญ่กว่าการจัดงานในครั้งนี้อีกว่าเท่าตัว โดยคาดว่าจะแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือ เวทีจัดการแข่งขันและโซนจำหน่ายสินค้าต่างๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์การเล่นเกมออนไลน์ เพื่อรองรับความต้องการของผู้เข้าร่วมงาน

นายสกลกรณ์ กล่าวอีกว่า กระแสความนิยมเกม HON และ Point Blank ในประเทศไทยถือเป็นเกมออนไลน์ 2 เกมที่มีผู้เล่นจำนวนสูงสุดในปัจจุบัน โดยเฉพาะเกม HON ที่มีผู้เล่นแอคทีฟกว่า 2 ล้านคนต่อเดือน ส่วนเกม Point Blank ถือเป็นเกมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 2 นอกจากนี้ จากการสำรวจยังพบว่าทั้ง 2 เกม เป็นเกมที่มีสัดส่วนการเล่นกว่า 80% ของร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ทั่วประเทศอีกด้วย

ทั้งนี้งาน Garena Star League 2013 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม 2556 ณ ไบเทค บางนา ฮอลล์ 103 ตั้งแต่ 10.00-21.30 น. โดยนอกจากกิจกรรมการแข่งขันเกม HON และ Point Blank ภายในงานดังกล่าวยังมีการจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับการเล่นเกมออนไลน์และสินค้าต่าง ๆ

หนังสั้นสุจิปุลิ
http://www.youtube.com/watch?v=tvrwxbuDNeY

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=503350609701978&set=a.172813332755709.30332.164000793636963
http://download.online-station.net/view/g/1101
http://gamerdb.online-station.net/hon
http://www.thairath.co.th/content/tech/335851

 

กลไกที่ทำให้สังคมมั่นใจในคุณภาพบัณฑิต [itinlife389]

หมอรักษาเสือ
หมอรักษาเสือ

 

รมต.กระทรวงศึกษาธิการ เซ็นอนุมัติให้เพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งมหาวิทยาลัยอีสาน แม้จะมีนักศึกษาหลายพันคน อันมีจุดเริ่มต้นมาจากข่าวขายปริญญาในปี 2554 (สุชาติ ธาดาธำรงเวช, 2555) เป็นสถาบันการศึกษาล่าสุดที่ถูกเพิกถอนด้วยเหตุผลเรื่องมาตรฐานการศึกษา และผลการตรวจสอบเงื่อนไขในวิชาชีพครู ซึ่งก่อนหน้านั้นมีวิทยาลัยบัณฑิตสกลนคร ปิดเมื่อปี 2540 และวิทยาลัยศรีอีสานปิดเมื่อปี 2533 นั่นแสดงให้เห็นว่าภาครัฐมีกลไกกำกับติดตามให้สถาบันการศึกษาดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้ความสามารถไปทำงานในสังคมได้ตรงกับที่กำหนดไว้

elephant

หลักสูตรที่เปิดสอนระดับอุดมศึกษาอาจจำแนกได้ 2 กลุ่ม คือ มีสภาวิชาชีพ และไม่มีสภาวิชาชีพ หมายความว่าหลักสูตรที่มีสภาวิชาชีพรับรองจะต้องจัดการเรียนการสอนตามที่สภาวิชาชีพเห็นชอบก่อนสอน เช่น เรียนวิชาอะไร เป็นเวลาเท่าใด คุณสมบัติอาจารย์ เครื่องมือที่พร้อม เงื่อนไขการฝึกงาน เป็นต้น เพราะหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว สภาวิชาชีพจะออกใบรับรองวิชาชีพให้ไปทำงาน ถ้าไม่มีใบรับรองก็ไม่สามารถทำวิชาชีพนั้นได้ อาทิ สัตวแพทย์ วิศวะ พยาบาล แพทย์ เป็นต้น การได้ใบรับรองวิชาชีพมีกระบวนการตั้งแต่ก่อนเปิดหลักสูตร ระหว่างจัดการเรียนการสอน และภายหลังจากสำเร็จการศึกษา

dog

กลางมีนาคม 2556 พบข่าวว่าหลักสูตรสัตวแพทย์ในสถาบันหนึ่ง ที่สภาวิชาชีพไปตรวจมาตรฐานครั้งแรก หลังเปิดหลักสูตรแล้ว 5 ปี พบว่าหลักสูตรไม่ผ่านหลังเปิดสอนแล้ว 5 รุ่น รวมทั้งสิ้น 170 คน ถ้าสภาฯ ไม่ออกใบรับรองให้จริงก็จะทำให้ผู้สำเร็จการศึกษากลุ่มนี้ไม่สามารถไปรักษาสัตว์ได้ อีกหลักสูตรคือ วิศวกรรมศาสตร์ที่อาจไม่ได้ใบรับรองวิชาชีพหากสภาวิชาชีพไม่รับรอง แต่บัณฑิตกลุ่มนี้สามารถนำความรู้ และปริญญาไปประกอบอาชีพแบบไม่มีใบรับรอง ซึ่งทั้ง 2 หลักสูตรนี้เป็นอีกเหตุการณ์ที่สะท้อนความเข้มงวดเรื่องคุณภาพการศึกษา ส่วนสาขาด้านไอทีนั้น ปัจจุบันยังไม่มีสภาวิชาชีพ แต่ผู้สำเร็จการศึกษามักกรองตนเองไปทำงานด้านอื่น เพราะตำแหน่ง web developer, mobile developer, developer, network admin, server admin ก็ล้วนต้องเข้าใจในเรื่องนั้นก่อนสมัครงาน เนื่องจากงานที่ทำจะวัดกันตั้งแต่วันที่เริ่มงาน ไม่มีลองผิดลองถูก หากไม่เข้าใจก็จะเริ่มต้นไม่ได้ ต่างกับอาชีพอื่นที่ค่อยเรียนรู้และฝึกฝนกันไป

 

http://th.wikipedia.org/wiki/รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1303890331&grpid=01&catid=no