บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

แรงขับการแบ่งปันในเครือข่ายสังคม (itinlife392)

 

note อุดม แต้พาณิช ตอน อินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ค
note อุดม แต้พาณิช ตอน อินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ค
sharing and clickback
sharing and clickback

คำถาม .. อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้เราแบ่งปันข้อมูลจากเว็บไซต์

ได้อ่านผลงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์พฤติกรรมการแบ่งปันเนื้อหาและคลิ๊กกลับในเว็บไซต์เครือข่ายสังคม ของ 33across.com และ tynt.com ที่เขียนใน zdnet.com โดย Eileen Brown พบว่าการแบ่งปันเนื้อหาจำแนกได้หลายกลุ่ม ในกลุ่มที่เพื่อนในเครือข่ายสังคมให้ความสนใจคลิ๊กกลับมากที่สุด คือ ข่าว กีฬา การเมือง การสรรเสริญ การเลี้ยงดู และบันเทิง ส่วนที่สนใจคลิ๊กกลับกันน้อยและแบ่งปันน้อยคือ รถยนต์ ช็อบปิ้ง และท่องเที่ยว ส่วนกลุ่มคลิ๊กน้อยแต่แบ่งปันมากคือ ธุรกิจ เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์

มี 2 คำที่น่าสนใจคือ แบ่งปัน (Share) และคลิ๊กกลับ (Clickback) พฤติกรรมของสมาชิกเครือข่ายสังคมเมื่อไปพบเห็นเรื่องราวต่าง ๆ ในเว็บไซต์ก็ต้องการแบ่งปันให้เพื่อนของตนรู้ หรือมีส่วนร่วมก็จะทำใน 2 ลักษณะคือ คัดลอกแล้ววาง หรือ ใช้ปุ่มแชร์ ดังนั้นการแบ่งปัน คือ เราส่งข้อมูลเข้าเว็บไซต์เครือข่ายสังคม เพื่อให้เพื่อนรับรู้เรื่องของเรา เป็นข้อมูลสั้นและลิงค์ (Link) สำหรับคลิ๊กไปอ่านรายละเอียด ส่วนคลิ๊กกลับ คือ เพื่อนของเราอ่านข้อมูลสั้น แล้วรู้สึกสนใจจึงคลิ๊กลิงค์เปิดดูรายละเอียดจากเว็บไซต์

ประเด็นคำถาม คือ เหตุผลที่เราแบ่งปันเนื้อหาไปนั้นมีอะไรเป็นเหตุปัจจัย แล้วพบว่า เราแบ่งปันเพราะถือมั่นต้องการแสดงตัวตน (ego) นั่นคือเราไม่ได้แบ่งปันเพราะคิดว่าเพื่อนสนใจ หัวข้อที่พบว่ามีการแบ่งปันจากเว็บไซต์มากที่สุดคือวิทยาศาสตร์ (Science) ซึ่งได้อธิบายว่าเป็นเรื่องที่ยากต่อความเข้าใจ และต้องการแสดงองค์ความรู้ของเรา ในประเด็นคลิ๊กกลับก็พบว่าเพื่อนของเราคลิ๊กดูวิทยาศาสตร์น้อยมาก แสดงว่าเราไม่สนใจว่าเพื่อนจะสนใจเรื่องของเราหรือไม่ ขอเพียงเราชอบ และอยากแบ่งปันก็พอ ส่วนข่าว (News) คือเรื่องที่เพื่อนสนใจคลิ๊กกลับมากที่สุด แต่เราจะแบ่งปันน้อย เพราะข่าวไม่ใช่เรื่องที่แสดงตัวตนของเรา ถึงตรงนี้หลายท่านอาจไม่เห็นด้วย แต่ทั้งหมดนี้เป็นผลการศึกษาในต่างประเทศ ถ้าศึกษาพฤติกรรมคนไทยอาจมีผลการศึกษาต่างไป เท่าที่สังเกตเราสนใจแบ่งปันเนื้อหาจากเว็บไซต์กันน้อย คนที่จะแบ่งปันก็จะเป็นตามอาชีพนั้น อาทิ นักข่าวก็จะแบ่งปันข่าวของสำนักของตน ส่วนราชการก็แบ่งปันกิจกรรมหรือผลงาน นักธุรกิจก็จะแบ่งปันข้อมูลสินค้าของตน แล้วท่านมีพฤติกรรมอย่างไรในเครือข่ายสังคม

 

 

http://www.thaiall.com/blog/burin/5087/

http://www.zdnet.com/new-research-highlights-that-social-sharing-is-driven-by-ego-7000013932/

นี่คือโลกของกู

ช่วงสงกรานต์ = 7 วันอันตราย

ช่วงสงกรานต์ = 7 วันอันตราย
ช่วงสงกรานต์ = 7 วันอันตราย

DATA + PROCESS = INFORMATION = UTILIZATION
ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วของ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
http://service.emit.go.th/accident/acclogin.php

ความเป็นมา .. อันตรายในที่นี้นับเฉพาะอุบัติเหตุที่เป็นช่วงของการเกิดอุบัติเหตุสูงสุดในรอบปี และหลายปีที่ผ่านมานับแต่ปี 51 ถึงปัจจุบัน สถิติอุบัติเหตุสูงสุดของ 7 วันอันตราย ก็ไม่มีปีใดที่ไม่ถึง 6000 ครั้ง และมีหลายปีที่สูงถึง 7000 ครั้ง หากเปรียบเทียบสงกรานต์ในปี 54 และ 55 พบว่ามีสถิติอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น

ความเชื่อ .. การนำเสนอข้อมูลให้ประชาชนตระหนักว่าอันตรายเกิดขึ้นบ่อยในช่วง 7 วันอันตราย และก็รู้สาเหตุที่มาจากการหลับใน และดื่มสุราเป็นส่วนใหญ่  เมื่อนำเสนอผ่านสื่อสาธารณะแล้ว ประชาชนก็จะไม่ขับเมื่อง่วง ไม่ดื่มสุรา หรือดื่มลดลง จะทำให้สถิติการเกิดอุบัติเหตุลดลงอย่างแน่นอน

ความเป็นจริง .. สถิติการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น เพราะไม่ตระหนักต่อการเกิดอุบัติเหตุ

ความพยายาม .. ให้ข้อมูลผ่านสื่อต่อไป หวังว่าสักวันประชาชนจะตระหนัก

ชีวิตดั่งละคร หรือเอาชีวิตไปสร้างละคร
ชีวิตดั่งละคร หรือเอาชีวิตไปสร้างละคร

 

สาวลาวบนปก นิตยสารมหาชน (Mahason Magazine) ของลาว
ก็งามเพราะแต่ง

 

สาวลาวในปีใหม่ลาว 2556

http://www.facebook.com/mahasonmagazine

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151362502959149&set=a.10151362502159149.1073741831.104039739148

http://www.thailandmagazinedirectory.com/LAO-MAGAZINES-DIRECTORY/MAHASON-MAGAZINE-LAO.html

 

คนลาวก็มีวัฒนธรรมดั่งเดิมไม่ต่างกันคนไทยมากนักhttp://www.thaiall.com/blogacla/burin/2797/

สาวเปิดเต้า เล่นสงกรานต์ แล้วอะไรคือความเป็นไทย

นางทั้ง 7 ในที่ที่เป็นส่วนตัว
นางทั้ง 7 ในที่ที่เป็นส่วนตัว

“.. เต้าแห่งความเป็นไทยไม่ปกปิด แล้วจิ๋มคู่ชีวิตจะอยู่ไหม ..

culture1

ผมเห็นเรื่องนี้  .. ก็ไม่ได้รู้สึกแปลกใจอะไร
เคยอ่านบทความเรื่อง “การศึกษาไทยถ้าไม่เปลี่ยนอาจบ๊วย .. แน่นอน
http://thainame.net/edu/?p=817
นำเสนอไว้ว่า ข้อเสนอแนะของเพียร์สัน
ข้อ 3 คือ มีวัฒนธรรมที่สนับสนุนการศึกษา
แล้ววัฒนธรรมไทยก็ไม่สนับสนุนการศึกษาจนเราเกือบบ๊วย
แล้วเหตุการณ์นี้ตอกย้ำว่า เกือบบ๊วยเลื่อนไปสู่บ๊วยนั้น อยู่แค่เอื้อม
เพราะกระทรวงที่จะทำให้สังคมไทยมีวัฒนธรรมการศึกษา
กลับพาเราเข้ารกเข้าพงกันไปใหญ่
.. ก็เพราะพวกเขาไม่ได้อยู่ในวงการการศึกษา
.. เรื่องการศึกษาก็ปล่อยให้กระทรวงศึกษาทำ กระทรวงนี้ไม่เกี่ยว

culture2

กระทรวงวัฒนธรรม ไม่เข็ด สาวเปิดเต้า เล่นสงกรานต์ โพสต์ลงเว็บอีกแล้ว

อีกไม่กี่วันก็จะถึง “วันสงกรานต์” อย่างเป็นทางการแล้ว “กระทรวงวัฒนธรรม” ที่ดูจะเป็นแม่งานหลักในเทศกาลนี้ก็ประเดิมรับสงกรานต์ ด้วยการใช้รูปภาพหน้าหัวเว็บของกระทรวง เป็นรูปหญิงสาวประมาณ 3-4 คน สาดน้ำไปมาดูน่าชื่นชมสวยงามด้วยขนมแบบไทย

http://www.m-culture.go.th/

แต่ที่น่าสนใจคือ พวกเธอสวมใส่โจงกระเบน แต่เฉพาะแค่ช่วงล่าง ช่วงบนของพวกเธอกลับไม่สวมใส่อะไรเลย จนกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์คว่า ถึงความย้อนแย้งของกระทรวงวัฒนธรรมในการรณรงค์เรื่องการแต่งกายให้เหมาะสมกับความเป็นไทยหรือไม่ และวกกลับมาสู่คำถามสำคัญที่ดูจะยังหาคำตอบไม่ได้ว่า “อะไรคือความเป็นไทย

โดย ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ อาจารย์จากสำนักท่าพระจันทร์ ก็ได้แสดงความเห็นว่า “อุเหม่ ไหงเป็นยังงั้นไปได้ ไปปิดเต้าทั้ง ๖ บัดเดี๋ยวนี้เลย เสื่อมเสียฟามเป็นไทยเมิด

เต้าแห่งความเป็นไทยไม่ปกปิด แล้วจิ๋มคู่ชีวิตจะอยู่ไหม กระทรวงวัฒนธรรมมาอำไทย สิ้นอำนาจอธิปไตยแล้วบัดนี้ ชะเอิงเงิงเงย

ซึ่งไม่ทราบว่าเป็นเพราะกระแสวิจารณ์หรือปรากฎการณ์เซ็นเซอร์ตัวเอง ท้ายที่สุดเว็บกระทรวงวัฒนธรรมก็ได้เปลี่ยนจากรูปหญิงสาวเปิดเต้าเล่นสงกรานต์ เป็นรูปสถาปัตยกรรมไทยที่เป็นที่รู้จัก และมีภาพหญิงสาว 2 คนเล่นรดน้ำสงกรานต์อย่างสุภาพ เพราะพวกเธอใส่เสื้อผ้ามิดชิดมาก – ใส่เสื้อแขนยาว และห่มทับด้วยสไบเฉียง

และนี่ไม่ใช่ครั้งแรก ที่กระทรวงวัฒนธรรมนำรูปดังกล่าวลงเว็บไซต์ เพราะเมื่อสองปีที่แล้ว เว็บไซต์ของกระทรวงวัฒนธรรมก็ได้ลงรูปเดียวกันนี้ในแบนเนอร์ของเวป เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กระหึ่มโลกออนไลน์ มากจนถึงกับเว็บไซต์ของกระทรวงล่มกันเลยทีเดียว

ทั้งนี้ ภาพดังกล่าวเป็นภาพวาดสีน้ำของนายสมภพ บุตรราช ศิลปินมีชื่ออีกคนของไทย ที่ได้วาดภาพบอกเล่าถึงวันสงกรานต์ ซึ่งมีหญิงสาวจำนวน 7 คนเปลือยหน้าอก ร่ายรำ เล่นดนตรี เล่นน้ำกันอย่างอย่างสนุก โดยภาพดังกล่าวเคยจัดแสดงไปครั้งหนึ่งแล้วที่หอศิลป์ฯ ก่อนที่ทางกระทรวงจะตัดทอน และนำไปไว้ในหน้าเว็บดังกล่าว

และเช่นเดียวกับปีนี้ ที่สุดท้าย กระทรวงวัฒนธรรมก็นำภาพดังกล่าวออกไปจากหน้าเว็บไซต์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

http://news.sanook.com/1179825/

การศึกษาไทยถ้าไม่เปลี่ยนอาจบ๊วย .. แน่นอน

ตอนนี้หากถามว่าภูมิใจกับอันดับด้านการศึกษาของประเทศไทยในเวทีโลกหรือไม่
ก็คงไม่มีใครไปตอบว่า “ดีกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว” ! http://bit.ly/17oaJI9

วัฒนธรรมการศึกษา (education culture)
วัฒนธรรมการศึกษา (education culture)

เพราะระบบการศึกษาของไทยอยู่อันดับที่ 37 จากทั้งหมด 40 ประเทศในปี 2555 จากผลการจัดอันดับโดยบริษัทด้านการศึกษา คือ เพียร์สัน (Pearson) และ อีไอยู (EIU = The Economist Intelligence Unit) ในทางกลับกันพบว่ากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยมีสถิติการเข้าถึงเครือข่ายสังคมอย่างเฟซบุ๊คเป็นอันดับหนึ่งในโลก เท่ากับ 12.7 ล้านคนจากทั้งหมด 7.8 ล้านคน มีบัญชีผู้ใช้เข้าถึงเกือบ 2 เท่าของจำนวนประชากร ก่อนถามคนไทยว่าภูมิใจหรือไม่กับการเป็นอันดับหนึ่ง ก็ต้องกลับไปทบทวนวรรณกรรมว่าสถิติแต่ละค่าเป็นตัวบ่งชี้ต่อการแผนพัฒนาประเทศในด้านใด แล้วการเข้าเฟซบุ๊คมากผิดปกติเช่นนี้จะทำให้การศึกษาของไทยพัฒนาไปกว่าเดิมหรือไม่ ถ้ามีผลเป็นปฏิกิริยาต่อกันจะเป็นแนวแปรผันหรือแนวผกผัน

เมื่อเข้าอยู่ในสนามประลองย่อมต้องเหลียวซ้ายแลขวา และย้อนดูตนเองไปพร้อมกับการชำเรืองดูคู่แข่งขัน เพราะระบบการศึกษาของเราอยู่ในอันดับเกือบบ๊วย แล้ว 5 อันดับแรกคือใคร พบว่าเบอร์หนึ่งคือ ฟินแลนด์ ตามด้วย เกาหลีใต้ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ หลังผลการจัดอันดับออกมาแล้วพบว่ากระทรวงศึกษาธิการขยับในหลายเรื่อง อาทิเช่น ส่งหนังสือเวียนไปยังโรงเรียนให้ยกเลิกการบังคับนักเรียนชายตัดผมเกรียน นักเรียนหญิงตัดผมบ๊อบ รวมถึงสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสั่งลดการบ้าน และหวังลดภาระนักเรียน เพื่อจะเน้นบูรณาการ ทั้งเนื้อหา เวลาเรียน การวัดผลประเมินผล และบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ไม่ให้ซ้ำซ้อน ซึ่งเป็นการปฏิรูปการศึกษาที่ทำให้เกิดข้อถกเถียงในช่วงเวลาที่ผ่านมาว่าถูกที่ ถูกทางแล้วใช่ไหม

รายงานของเพียร์สันในส่วนสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) ได้เขียนคำแนะนำสำหรับผู้จัดทำนโยบายด้านการศึกษาทั้งหมด 5 ข้อ ซึ่งขอสรุปเป็นวลีสำคัญดังนี้ ต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง สอนเด็กให้เลิศต้องสอนโดยครูที่เป็นเลิศ มีวัฒนธรรมที่ดีที่สนับสนุนการศึกษา พ่อแม่ต้องส่งเสริม สอนเรื่องที่นำไปใช้ในอนาคตได้ ซึ่ง 5 วลีนี้เป็นข้อเสนอในภาพรวมของการปฏิรูปการศึกษา หลังจากอ่านแล้วอ่านอีกหลายรอบ ก็รู้สึกอื้ออึงในสมองซีกซ้ายเป็นคำถามว่ามีเรื่องใดแก้ไขได้เร็วที่สุดบ้าง เพราะทุกเรื่องล้วนเป็นปัญหาที่พบเห็นเป็นประจักษ์ แต่ก็ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่าถ้าประเทศของเราไม่มีปัญหาดัง 5 ข้อนี้ เราก็คงไม่ได้ตำแหน่งเกือบบ๊วยเป็นแน่

สำหรับข้อที่ 3 ในคำแนะนำของเพียร์สันเป็นเรื่องกลาง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนทุกอาชีพ และทุกวัยอย่างแท้จริง เกี่ยวตรงคำว่าวัฒนธรรม ก็ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต รูปแบบของกิจกรรม ความสัมพันธ์ทางสังคม มุมมองต่อโลก และแนวการปฏิบัติของมนุษย์ ซึ่งวัฒนธรรม ความเชื่อ และค่านิยมที่กระทบต่อคุณภาพการศึกษามีมากมาย อาทิเช่น อยากเรียนต้องได้เรียน สอบได้เป็นเรื่องตลกสอบตกเดี๋ยวก็สอบซ่อม จ่ายครบจบแน่ เชื่อในสิ่งที่เห็น เห็นแต่สิ่งที่อยากเชื่อ ชิงสุกก่อนห่าม ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น ตั้งใจเรียนโตขึ้นจะได้เป็นเจ้าคนนายคน รีบเรียนให้จบนะลูกจะได้มาช่วยพ่อแม่ไถนา เรียนไปก็ตกงานจะตั้งใจเรียนไปทำไม เงินซื้อได้ทุกอย่างแม้แต่ปริญญา สาธุขอให้เจ้าพ่อเจ้าแม่ช่วยลูกช้างให้สอบผ่านทีเถอะ หมอดูในทีวีทักมาว่าราศีไม่ดีสอบปลายภาคตกแน่ ปล่อยให้หนูจบเถอะไม่งั้นอาจารย์เจอดีแน่

การเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านการศึกษาของคนไทยไม่ใช่เรื่องง่าย ดังคำว่า กรุงโรมไม่อาจสร้างเสร็จในวันเดียวฉันใด ก็ไม่อาจพัฒนาการศึกษาให้สำเร็จได้ในปีเดียวฉันนั้น เพราะการเปลี่ยนวัฒนธรรมการศึกษาต้องเริ่มต้นจากการมีต้นแบบวัฒนธรรมที่ดีที่เป็นแบบอย่างได้ ถ้ายังไม่รู้ยังไม่มีวัฒนธรรมการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับทั้งสังคม ประเทศก็คงค่อยเดินค่อยคลานไปในความมืดโดยมีเป้าประสงค์ที่เลือนรางรออยู่ เพราะในสังคมไทยมีผู้คนที่เดินสวนทางกับวัฒนธรรมการศึกษาคุณภาพอยู่มากมาย โดยเฉพาะภาคเอกชนที่จะได้รับผลกระทบทันที ถ้าคนในสังคมเริ่มคิดเป็น ทำเป็น แล้วรู้จักเลือกอุปโภคบริโภคที่ไม่ได้ไปอิงกับค่านิยม ความเชื่อ ตามอิทธิพลของสื่อ ตามคนหมู่มาก หรือแฟชั่นที่ฟุ้งเฟ้อ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2563

news paper
news paper

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=477721182295748&set=a.160162067384996.39239.100001736120394

แหล่งข้อมูล
http://thelearningcurve.pearson.com/
http://www.thairath.co.th/content/edu/325982
! http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMU56ZzJPRFl5T0E9PQ==
http://www.voathai.com/content/best-education-systems-ss/1557918.html
http://www.thaiall.com/blogacla/admin/2176/
http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsr-th/population_thai.html
http://www.socialbakers.com/facebook-statistics/cities/

ระเบียบการให้ทุนการศึกษา

ระเบียบมหาวิทยาลัยเนชั่น
ว่าด้วยการให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษา 2556

1. ทุนเรียนดี มีจิตอาสา
2. ทุนเรียนดี
3. ทุนการศึกษา 50 เปอร์เซ็นต์ ของค่าธรรมเนียมการศึกษา
4. ทุนการศึกษา 20 เปอร์เซ็นต์ ของค่าธรรมเนียมการศึกษา
5. ทุนส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
ประกาศ 4 เมษายน 2556

ทุนการศึกษาแก่นักศึกษา 2556
ทุนการศึกษาแก่นักศึกษา 2556

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=624202364260565&set=a.509861379027998.128306.506818005999002

 

 

วารสารศาสตร์ กับคอนเวอร์เจ้นท์ และความเสี่ยงสูง

จักร์กฤษ เพิ่มพูล
จักร์กฤษ เพิ่มพูล

หากเราไม่พิจารณาปรากฏการณ์ วารสารศาสตร์คอนเวอร์เจนท์ (Convergence Journalism) หรือรูปแบบการรายงานข่าวแบบหลากหลายสื่อ

ในมิติการปรับตัวของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ทั้งในแง่ทัศนคติของคนทำงาน ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี รวมทั้งการออกแบบหลักสูตร การจัดการเรียน การสอน นักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ เพื่อให้มีทักษะในการทำงานในแบบ multi-tasking skills แล้ว ประเด็นที่ไม่ควรมองข้ามไป ก็คือ ระดับจิตสำนึกความรับผิดชอบในเชิงจริยธรรมก็เป็นความท้าทายของนักข่าวในยุคมีเดีย คอนเวอร์เจ้นท์ด้วย

การร่วมกันในการวางแผน เลือกช่องทางในการส่งสาร ไม่ว่าจะผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ สื่อดิจิตอลในรูปแบบต่างๆ สื่อสังคมออนไลน์ที่มีความไวสูง แน่นอนที่สุดว่า ผู้บริโภคข่าวสารจะได้ประโยชน์ โดยสามารถเข้าถึงข่าว หรือข้อมูลในช่องทางที่ง่าย และสะดวกสบายขึ้น ในขณะที่ผู้ประกอบการก็อาจได้ประโยชน์ในการลดต้นทุนการผลิต และใช้เทคโนโลยีการสื่อสารสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อรักษากลุ่มลูกค้าในสื่อดั้งเดิม แต่ในขณะเดียวกันภาระรับผิดชอบของบรรณาธิการ และนักข่าวก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว โดยเฉพาะเมื่อมีประเด็นการฟ้องคดี ในช่องทางสื่อดิจิตอลหรือสื่อใหม่

เริ่มจากสื่อดั้งเดิม ความรับผิดชอบของบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา ตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า ขอบเขตความรับผิดตามหลักสันนิษฐานของกฎหมายเดิมนั้น ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร หรือไม่ เพราะในทางคดี บรรณาธิการหลายคนที่ถูกฟ้องคดีก็ยังต้องรับผิดในฐานะตัวการร่วมในการหมิ่นประมาท ถึงแม้ว่าฝ่ายโจทก์หรือผู้เสียหาย จะไม่สามารถนำสืบได้ว่า บรรณาธิการมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดอย่างไร

ยิ่งไปกว่านั้น ก็คือ แม้จะมีการตราพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ขึ้นใช้บังคับแล้ว ในหลายคดีโจทก์ก็ยังอ้าง พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 ที่ได้ยกเลิกไปแล้ว ในคำขอท้ายฟ้องเพื่อให้ลงโทษจำเลยอีก เช่น คดีที่นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ฟ้องบรรณาธิการ กรุงเทพธุรกิจ และเมื่อไม่นานมานี้ ข้อสอบวิชากฎหมาย ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็ยังอ้างพระราชบัญญัติการพิมพ์ เป็นคำถามในการสอบ

แต่หลังจากมีคำพิพากษาฎีกาฉบับนี้ หลักในการพิจารณาอาจเปลี่ยนไป

พิพากษาศาลฎีกา ที่ 4948/2554 คดีหมิ่นประมาท ระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โจทก์ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ที่ 1 บริษัทหนังสือพิมพ์แนวหน้า จำกัด ที่ 2 นายวารินทร์ พูนศิริวงศ์ ที่ 3 และนายจิระพงศ์ เต็มเปี่ยม ที่ 4 ยืนยันหลักการบรรณาธิการไม่ต้องรับผิด เป็นบรรทัดฐาน ซึ่งจะเป็นประเด็นข้อต่อสู้สำคัญของจำเลย ที่เป็นบรรณาธิการต่อไป

คดีนี้ โจทก์ ระบุว่าจำเลยร่วมกันหมิ่นประมาท โดยตีพิมพ์จดหมายจากผู้อ่าน ในคอลัมน์ “น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด” พาดหัวคอลัมน์ว่า “พลังเงียบ” มีข้อความบางตอนว่า มีการสร้างกระแสอย่างเป็นขบวนการ และอย่างเป็นระบบเพื่อกดดันศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องแจ้งความเท็จแสดงทรัพย์สินของนายกรัฐมนตรีผู้นำของประเทศ จนทำให้ผู้คนทั่วไปคิดว่า ผู้นำของประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่เหนือกฎหมาย และอยู่เหนือสามัญชน

จำเลยที่ 1 ตอบจดหมายผู้ใช้ชื่อว่า “พลังเงียบ” ว่า เห็นด้วยทุกอย่างครับที่เขียนมา

ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 4 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ก่อนที่ศาลฎีกา จะพิพากษากลับให้ยกฟ้อง

ศาลฎีกา วินิจฉัยว่า ข้อความที่ลงตีพิมพ์ในคอลัมน์ “น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด” เป็นการแสดงความคิดเห็น ความเป็นห่วงเป็นใยในกฎระเบียบกติกา และความถูกต้องของบ้านเมือง เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ ติชมด้วยเจตนาสุจริต ด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชน ย่อมกระทำได้โดยชอบตามสิทธิเสรีภาพของประชาชน สื่อมวลชนภายใต้รัฐธรรมนูญ มิใช่เป็นการใส่ความโจทก์ ขณะที่จำเลยที่ 1 นำข้อความในจดหมายของผู้ที่ใช้นามแฝงว่า “พลังเงียบ” เขียนถึงจำเลยที่ 1 มาลงพิมพ์ในคอลัมน์ “น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด” ซึ่งเป็นคอลัมน์ประจำของจำเลยที่ 1 ในหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้านั้น อยู่ในช่วงที่โจทก์ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

..ตำแหน่งหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถือเป็นตำแหน่งทางการเมือง โดยเฉพาะตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถือเป็นตำแหน่งสูงสุดของฝ่ายบริหาร ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และถือว่าเป็นตำแหน่งที่ได้ผ่านกระบวนการเลือกตั้งจากประชาชนทั้งประเทศ โดยสถานะของโจทก์จึงต้องมีความรับผิดชอบต่อประชาชน ในฐานะนายกรัฐมนตรีที่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชนดังกล่าว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่โจทก์ต้องประพฤติปฏิบัติอยู่ในกรอบของจริยธรรม

ศาลฎีกา ตัดสินว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ส่วนจำเลยที่ 4 ในส่วนที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษในฐานะบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ซึ่งลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์โดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา 48 ในขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ไม่ได้บัญญัติให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์เป็นผู้รับผิดชอบในข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือที่ตนเป็นบรรณาธิการ จำเลยที่ 4 ย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดในส่วนนี้

นี่เป็นการยืนยันหลักการตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ว่าไม่ได้บัญญัติให้ บรรณาธิการต้องรับผิดเป็นตัวการร่วมกับผู้ประพันธ์ บรรณาธิการจึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับผู้ประพันธ์ หากอัยการ โจทก์ หรือผู้เสียหาย นำสืบไม่ได้ว่าบรรณาธิการมีส่วนร่วมในการประพันธ์บทประพันธ์หรือมีส่วนร่วมรู้ เห็นกับการโฆษณาบทประพันธ์ในหนังสือพิมพ์ที่ตนเป็นบรรณาธิการ อย่างไร ถือว่าบรรณาธิการไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย ดังที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 บัญญัติ ว่า

บุคคลจักต้องรับโทษทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และ โทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่ บัญญัติไว้ในกฎหมาย

ศาลไม่อาจนำหลักสันนิษฐาน ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 ที่ได้ยกเลิกไปแล้วมาพิจารณาลงโทษบรรณาธิการได้

สำหรับการเสนอข่าวในรูปแบบของ วารสารศาสตร์ คอนเวอร์เจ้นท์ ยังไม่มีคำพิพากษาเป็นบรรทัดฐาน แต่มีการฟ้องคดีแล้วจำนวนมาก ประเด็นที่เป็นปัญหาอยู่ขณะนี้ คือ บรรณาธิการ หรือ นักข่าวยังต้องรับผิดชอบในทุกสื่อที่เป็นช่องทางในการนำเสนอข่าวหรือไม่ โดยเฉพาะในกรณีที่มีการอ้างอิงไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ส่งสาร เช่น กรณีการที่ผู้เสียหายไปพบข้อความหมิ่นประมาทใน google.com บรรณาธิการยังต้องรับผิดชอบอยู่ในระยะเวลายาวนาน เพียงใด นับจากวันที่นำเสนอข่าวในครั้งแรก

โอกาสในการส่งข่าวที่ฉับไว ผ่านสื่อที่หลากหลาย จึงอาจหมายถึงความเสี่ยงสูงที่ต้องรับผิดชอบในทางคดีด้วย

http://blog.nation.ac.th/?p=2555

เพราะมุ่งมั่น .. จากเด็กไร้บ้านรับจ้างถูพื้นโรงเรียน สู่ ม.ฮาร์วาร์ด

Dawn Loggins
Dawn Loggins

จากเด็กจรจัดไร้บ้านรับจ้างถูพื้นโรงเรียน
สู่รั้วมหาวิทยาลัยชื่อก้องโลก . . . . ม.ฮาร์วาร์ด
โดย Hachapan Uachotikoon

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=421295361247089&set=a.145571708819457.22782.100000998871234

ที่โรงเรียนเบิร์นส์ไฮสกูล ในเมืองลอนเดล รัฐนอร์ธแคโรไลน่า
สาวน้อยดอว์น ลอกกินส์ (Dawn Loggins)
กำลังถูพื้นอย่างขมีขมัน เพื่อหารายได้จุนเจือการเรียน
…เธอเป็นนักเรียนเกียรตินิยม A รวดทุกวิชา
นอกเวลาเรียน ดอว์นต้องถูพื้นทั่วทั้งโรงเรียน ไม่เว้นแม้ห้องน้ำ
ก่อนหน้านี้ พ่อแม่เธอติดยา และได้หนีเธอไป ทอดทิ้งเธอให้ไร้บ้าน
ครูและชาวบ้านต้องบริจาคเสื้อผ้าและข้าวของจำเป็นให้
และหางานภารโรงที่โรงเรียนให้ เพื่อหารายได้
เธอถูพื้นทำความสะอาด อย่างไม่เคยบ่นรำพัน
ซาบซึ้งที่มีงานหารายได้เล็กๆ น้อยๆ มาประทังชีวิตได้
ดอว์นเติบโตมาอย่างยากจนข้นแค้น บ่อยครั้งที่ไม่มีน้ำไฟให้ใช้
ไม่มีแสงสว่างที่จะทำการบ้านอ่านหนังสือได้
จนครูในโรงเรียนต้องหาเทียนไขให้เธอใช้ในยามค่ำมืด
….ด้วยเทียนไขนี้ เธออ่านหนังสือทำการบ้านอย่างหมั่นเพียรไม่เคยย่อท้อ
….จนผลการเรียนดีเด่น ได้รับเลือกให้เข้าค่ายศึกษาวิทยาศาสตร์ร่วม 6 สัปดาห์
ซึ่งเป็นค่ายวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนที่มีผลการเรียนระดับยอดเยี่ยมของทั้งรัฐ

แต่ระหว่างที่เข้าร่วมค่ายนี้เอง ที่เป็นเวลาที่พ่อแม่ได้ทิ้งเธอไป
เธอกลับบ้านมาพบว่าไม่มีใครอยู่บ้าน แถมมีติดประกาศไล่ที่จากเจ้าบ้าน
…..ทำให้ดอว์นไร้บ้าน ขาดพ่อขาดแม่

ตอนที่ดอว์นได้ข่าวว่า พ่อแม่ย้ายหนีไปอยู่อีกรัฐหนึ่งเสียแล้ว
เธอบอกว่า “ไม่เคยนึกคิดว่า พ่อเลี้ยงกับแม่จะทิ้งหนีหนูไปได้ง่ายๆ อย่างนั้น
แต่หนูก็ไม่ได้นึกโกรธพ่อแม่นะ
เขาคงคิดว่า ได้ทำสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ให้หนูแล้ว

ความจริงหนูก็รู้ว่า ทั้งพ่อกับแม่มีปัญหาที่ต้องแก้ไขให้ได้ด้วยตัวเอง
หนูรู้ว่าพ่อกับแม่รักหนู เพียงแต่แสดงออก เหมือนที่ชาวบ้านทั่วไปเขาทำกันไม่เป็นเท่านั้นเอง

หลังจากนั้น เธอต้องระเหเร่ร่อน ไปอาศัยนอนตามบ้านเพื่อน
….บางครั้งก็ต้องนอนกับพื้นบ้าน

ตอนนั้น ดอว์นยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงต้องมีผู้ปกครองดูแลจนกว่าอายุจะครบ 18 ปี
และเนื่องจากเธอเลือกที่จะไม่ตามไปอยู่กับพ่อแม่ที่ต่างรัฐ
แต่เลือกที่จะอยู่กับเมืองนี้ เพื่อเรียนหนังสือต่อไป
ทำให้ทั้งชุมชนและบรรดาครูโรงเรียน ต่างรับหน้าที่เป็นผู้ปกครองของเธอกันทั่วหน้า

คณะครูได้ขอให้คู่สามีภรรยาคนขับรถโรงเรียน ให้เธออาศัยพักที่บ้าน
โดยครูต่างสมทบค่าใช้จ่ายให้ทุกเดือน
ชีวิตเธอก็เริ่มเข้าที่เข้าทางโดยมีหลังคาคลุมหัว
และมีงานพิเศษทำ เพื่อให้เรียนหนังสือต่อไปได้

ย่างเข้าปีสุดท้ายในไฮสกูล ดอว์นตัดสินใจเด็ดขาด
ที่จะเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย
เธอเลือกที่จะเดินบนทาง ที่ต่างจากพ่อและแม่

เมื่อเด็ก หนูได้มีโอกาสเห็นหนทางที่เลวร้ายทั้งหลายอยู่ต่อหน้า
ทั้งยาเสพติด ทั้งชีวิตที่เลื่อนลอย และสิ่งแย่ๆ อื่นๆ
แต่หนูตัดสินใจแน่วแน่ว่า จะไม่เดินบนทางเหล่านั้นเด็ดขาด
หนูรู้ว่า การศึกษาจะพาให้หนูพ้นจากวังวนเลวร้ายทั้งหลายได้
อาจมีคนมากมายที่โทษสิ่งแวดล้อมรอบตัว
แต่หนูใช้สถานการณ์แย่ๆ พวกนั้น มาเป็นพลังใจ
ที่จะผลักดันให้หนูหลุดพ้นออกมาให้ได้

นอกจากที่ตั้งใจเรียนดีแล้ว เธอยังเลือกทำกิจกรรมต่างๆ เป็นประธานชมรมถ่ายรูป
และริเริ่มทำโครงการบริการสังคม
เพื่อรวบรวมจดหมายเขียนให้กำลังใจทหารที่อยู่ประจำการในแนวรบ
พร้อมทั้งเป็นสมาชิกสมาคมเกียรติยศแห่งชาติ และร่วมชมรมดุริยางค์
แล้วก่อนหน้านี้เธอยังวิ่งมาราธอนอีกด้วย

ในปีสุดท้ายในโรงเรียน เธอส่งใบสมัครเรียนไปมหาวิทยาลัยธรรมดา 4 แห่ง
ภายในรัฐนอร์ธแคโรไลน่า และที่ ม.ฮาร์วาร์ด รวมเป็นแห่งที่ 5
….ที่โรงเรียนของเธอ ตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนมา
ยังไม่เคยมีใครได้ไปเเรียนมหาวิทยาลัยระดับแนวหน้าสุดๆ ในอเมริกามาก่อนเลย
ดอว์นก็เลยตัดสินใจท้าทายความเชื่อ
โดยส่งใบสมัครไปที่สุดยอดมหาวิทยาลัยในฝัน คือที่ ฮาร์วาร์ด ด้วย

ครูแลรี่ การ์ดเนอร์ ครูสอนวิชาประวัติศาสตร์
เป็นคนเขียนจดหมายรับรอง เพื่อประกอบการสมัครเรียนที่ฮาร์วาร์ด
เขาเขียนในจดหมายว่า

“ข้าพเจ้าไม่ทราบจะหาสรรหาคำมาบรรยายในจดหมายรับรองนี้อย่างไร
ให้ได้ดังใจคิด
ข้าพเจ้าไม่เคยเขียนจดหมายรับรองฉบับใดเหมือนฉบับนี้มาก่อนเลย
….และคงไม่ได้เขียนอย่างนี้เป็นฉบับที่สองอีกแน่นอน

นักเรียนส่วนมาก เมื่อต้องเผชิญกับความยากลำบาก
แม้เพียงเศษเสี้ยวของที่ดอว์นต้องประสบมา ก็คงท้อถอยยอมแพ้ไม่เป็นท่า
แต่สาวน้อยผู้นี้ ที่แม้ต้องผ่านเหตุการณ์แสนสาหัส ต้องพบกับความหิวโซ
ระเหเร่ร่อนไร้บ้านอยู่อาศัย และเผชิญความลำบากอีกนานัปการ
แต่เธอก็ลุกขึ้นยืนผงาดเหนืออุปสรรคชีวิตทั้งปวงนั้น
….ยืนตระหง่านเป็นสตรีสาวน้อย ที่โดดเด่นเหนือหมู่คน”

เหตุการณ์ในเดือนต่อๆ มา
.. เธอได้รับคำตอบรับเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยในรัฐนอร์ธแคโรไลน่าทั้ง 4 แห่ง
เป็นจดหมายตอบรับที่แนบมาพร้อมกับเอกสารมหาวิทยาลัยอีกปีกใหญ่ๆ ทั้งสิ้น

แต่เมื่อมีจดหมายจากฮาร์วาร์ดส่งมา
กลับเป็นแค่จดหมายบางๆ เพียงฉบับเดียว ไม่มีเอกสารอื่นแนบมาด้วยเลย
ซึ่งเป็นลักษณะจดหมายตอบปฏิเสธที่นักเรียนไม่อยากได้รับกันเลย
เมื่อเปิดจดหมายออกอ่าน พบใจความว่า

ถึงคุณดอว์น ลอกกินส์ ข้าพเจ้ามีความยินดีจะแจ้งให้ทราบว่า
คณะกรรมการคัดเลือกนักศึกษาเข้าเรียน ได้ให้ข้าพเจ้ามาแจ้งว่า
ท่านได้รับการคัดเลือกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดของเราแล้ว
….โดยปรกติทางมหาวิทยาลัยจะส่งสัญญาณมาบอกก่อนเวลาอันควรเช่นนี้
สำหรับนักเรียนที่โดดเด่นมากๆ เท่านั้น….

นอกจากจะได้รับเลือกเข้าเรียนแล้ว….เธอยังได้รับทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอีกด้วย

เมื่อเรื่องราวของเธอได้กลายเป็นข่าว “From Homeless to Harvard
เธอได้ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ WBTV ว่า
“เมื่อคุณมีความฝัน คุณสามารถบุกบั่นให้ฝันเป็นจริงได้ โดยไม่มีข้อแก้ตัวใดๆ ทั้งสิ้น
มีแต่ตัวคุณเองเพียงคนเดียวเท่านั้น ที่จะสร้างฝันของตัวคุณเองให้เป็นจริงขึ้นมาได้”

นับแต่ที่เรื่องราวของเธอกลายเป็นข่าว มีผู้คนทั่วโลกให้ความสนใจ
และได้ส่งกำลังใจมาให้เธอมากมาย มีผู้ส่งเงินสนับสนุนให้เธอมาด้วย
ดอว์นบอกว่า ไม่ได้ต้องการเงินเหล่านั้น
เพราะเมื่อเข้ามหาวิทยาลัย หนูได้ทุนค่าเล่าเรียน ค่าที่พักและอาหาร
ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่นค่าตำราเรียน หนูสามารถหางานพิเศษทำเพื่อหาเงินมาได้
เธอตั้งความหวังไว้ว่า จะสามารถจัดตั้งองค์กรการกุศลที่จะช่วยเหลือเด็กวัยรุ่น
ที่ประสบอุปสรรคขัดขวางการศึกษา โดยใช้เงินที่มีผู้บริจาคให้เธอมาเป็นทุนก่อตั้ง
ยังมีเด็กอีกมากมายที่อนาคตยังมืดมน
และพวกเขาต้องการความช่วยเหลือมากกว่าหนูอีก
หนูอยากให้พวกเขาได้ใช้เรื่องราวของหนูเป็นแรงจูงใจ
และอยากทำให้ผู้คนทั่วไปรับรู้ว่า
ยังมีเด็กจรจัดไร้บ้านที่ต้องการความช่วยเหลืออยู่อีกมาก

เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.2012 ที่ผ่านมา เป็นวันพิธีจบการศึกษาของโรงเรียน
ตอนที่สาวน้อย ดอว์นเดินขึ้นรับประกาศนียบัตร เพื่อนนักเรียนทั้งโรงเรียน
ต่างได้ลุกขึ้นยืน ปรบมือดังกึกก้องโดยพร้อมเพรียงกัน
เพื่อแสดงความชื่นชมและให้เกียรติอย่างสูง
แก่สาวน้อย-ดอว์น ลอกกิ้นส์ผู้เด็ดเดี่ยว ที่ทอฝันให้เป็นจริง……

.. เราขอยืนขึ้นเพื่อปรบมือให้เธอ และขอส่งใจให้เธอจงสำเร็จสัมฤทธิ์ผล
ในการสร้างสานฝัน ให้ตนเอง และให้โลกต่อไป….

เรียบเรียงจากข่าว abc และ CNN โดย หัชพันธ์ เอื้อโชติคุณ
Hachapan Uachotikoon

http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2538833
http://www.pantip.com/cafe/siam/topic/F12371878/F12371878.html
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=367240450062251&set=a.292826234170340.68274.278907118895585
http://www.thefrisky.com/2012-05-07/dawn-loggins-overcomes-homelessness-to-attend-harvard/

Subject : Dawn Loggins Overcomes Homelessness To Attend Harvard
Dawn Loggins spent the summer before her senior year of high school at the prestigious North Carolina Governors School, but when the summer was over, nobody from her family came to pick her up. Her troubled parents, plagued by poverty and drug abuse, had abandoned her, and Dawn was left homeless. She was forced to rely on the kindness of friends and school faculty for a place to stay. She got a job at her high school as a janitor to support herself and continued to apply herself in school. And it paid off: Loggins was accepted to Harvard University’s class of 2016. “If there is anybody at all who has a dream,” Dawn told a local TV station,”then they can definitely make it happen. There are no excuses. It depends on you and no one else.”

http://www.dailymail.co.uk/news/article-2156881/Dawn-Loggins-Harvard-bound-teen-abandoned-parents-sets-homeless-charity-graduating-high-school.html

สกอ.ชี้ ICT ม.ศิลปากร นอกที่ตั้ง ไม่ผ่านการประเมิน ยุติรับนศ.นิเทศฯ ปี 2556

http://www.ict.su.ac.th/th/
http://www.ict.su.ac.th/th/

เกณฑ์ประเมินนอกที่ตั้ง ที่น่าจะเป็นส่วนสำคัญให้ผลคือ “ไม่ผ่าน”
โดยเกณฑ์การตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ปีงบประมาณ 2555

มี 7 ประเด็น

1. ประเด็นการเปิดดำเนินการหลักสูตร
2. ประเด็นด้านอาจารย์
3. ประเด็นด้านสถานที่
4. ประเด็นด้านสิ่งสนับสนุนทางการศึกษาและการจัดบริการนักศึกษา
5. ประเด็นด้านนักศึกษา
6. ประเด็นด้านการบริหาร การประสานงานระหว่างศูนย์กับสถานที่ตั้งหลัก
7. ประเด็นอื่นที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษาและผลประโยชน์ของนักศึกษา

นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ที่ได้พบในการตรวจประเมิน
http://www.scribd.com/doc/133785663/


ที่มา : .1009news.in.th
2 เม.ย.2556 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ลงเผยแพร่เอกสารการประกาศยุติการรับนักศึกษาเข้าเรียนต่อในหลักสูตรนิเทศศาสตร์ประจำปี 2556 โดยชี้แจงว่า สกอ.มีมติพิจารณาการประเมินให้ไม่ผ่านมาตรฐาน โดยมีรายละเอียดชี้แจงดังต่อไปนี้

แถลงการณ์จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มศก.
เรื่องการรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2556
http://www.ict.su.ac.th

ด้วยวันที่ 28 มีนาคม 2556 มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับเอกสารแจ้งเรื่อง ผลการพิจารณากรณีทักท้วงผลการประเมิน ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามหนังสือเลขที่ ศธ. 0506(5) / ว 354 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2556 กรณีมหาวอทยาลัยศิลปากร ได้ทำหนังสือทักท้วงผลการตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ณ ศูนย์การศึกษา อาคาร กสท. บางรัก ของหลักสูตรนิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร “ไม่ผ่าน” ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการด้านมาตรฐานอุดมศึกษาในการประชุมครั้งที่ 2/2556 เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2556 ได้พิจารณาวินิจฉัยผลการทักท้วงของมหาวิทยาลัยศิลปากรแล้ว มีมติยืนยันผลการประเมิน “ไม่ผ่าน” นั้น

จากมติของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาดังกล่าว มีผลให้คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ต้องยุติการรับนักศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 2556 หากยังคงเปิดรับนักศึกษาใหม่อยู่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะไม่รับทราบหลักสูตรทั้งในและนอกที่ตั้ง นับตั้งแต่วันที่แจ้งให้ทราบและประกาศต่อสาธารณะ รวมทั้งแจ้งสำนักงาน ก.พ. ต่อไป

ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการประชุมวาระด่วนที่สุด เมื่อวันอังคารที่ 2 เมษายน 2556 ได้มีการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว และที่ประชุมมีมติให้คณะฯ ดำเนินการเกี่ยวกับการรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ประจำปี 2556 ดังต่อไปนี้

1. ในปีการศึกษา 2556 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร จะยุติการรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ในระบบกลาง (Admission) นอกสถานที่ตั้ง ณ ศูนย์การศึกษา อาคาร กสท. โทรคมนาคม บางรัก กรุงเทพ ตามมติ สกอ.

2. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะเปิดรับนักศึกษาใหม่ ประจำปี 2556 ในสถานที่ตั้งหลักที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี โดยวิธีรับตรง จำนวน 100 คน ใน 2 สายวิชา ได้แก่ สายวิชาการลูกค้าสัมพันธ์ จำนวน 40 คน และสายวิชาวารสารและหนังสือพิมพ์ จำนวน 60 คน

ทั้งนี้ การคัดเลือกนักศึกษาเข้าเรียนในสายวิชาดังกล่าว คณะฯ จะใช้รูปแบบและเกณฑ์ในหการรับเข้าศึกษา เช่นเดียวกับการคัดเลือกนักศึกษา ในระบบกลาง (Admission) หากนักเรียนสนใจที่จะสมัครเข้าเรียนในสายวิชาดังกล่าวของคณะฯ ขอให้ติดตามข้อมูลต่างๆ จาก เว็บไซต์ www.ict.su.ac.th ต่อไป

ด้าน อาจารย์ศาสวัต บุญศรี อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นและสรุปมติดังกล่าวของสกอ.ว่า

1. หลักสูตรนิเทศ คณะไอซีที โดนประเมินจาก สกอ. ว่าไม่ผ่านเกณฑ์การตั้งนอกที่ตั้ง (สกอ. ทำเพื่อป้องกันผู้บริโภค มาเรียนแล้วโดนหลอก) สกอ. ได้ทำการปิดเพียบ พูดง่าย ๆ คือให้กลับเรียนเพชรบุรี (หรือวิทยาเขตอื่น ๆ)

2. สกอ.สั่งห้ามรับนักศึกษาในปีการศึกษาใหม่ หากยังรับให้ปีหนึ่งเรียนที่บางรัก จะทำการปิดหลักสูตร (ย้ำว่า หลักสูตร ไม่ใช่คณะ) และจะส่งเรื่องให้ กพ. ให้รับรองวุฒิ

3. ปี 2-4 นิเทศยังเรียนเหมือนเดิม ส่วนธุรกิจและออกแบบ ถือว่าการที่ปีสี่มาเรียนที่บางรักไม่มีปัญหา เพราะเรียนในวิทยาเขตที่ตั้งมาแล้วเกิน 50% ของหน่วยกิต

4. ทางอธิการฯและคณะได้หารือด่วน มีหลายทางเลือกมาก สุดท้ายอธิการเสนอให้ปีหนึ่งนิเทศ ปี 56 กลับไปเรียนเพชรบุรี (กลับยังที่ตั้ง) เมื่อได้สำรวจอาคารสถานที่ พบว่าหอในรับเพิ่มได้อีกราว 150 คน โดยเปิดเฉพาะสาขาลูกค้าสัมพันธ์และวารสารฯ เพราะการสร้างสตูดิโอสำหรับเอกที่เหลือยังไม่พร้อม การเรียนการสอนยังเหมือนธุกิจและออกแบบคือ ปีสี่กลับมาเรียนบางรัก

5. ทางสภามหาวิทยาลัยมีนโยบายตั้งแต่เลือกอธิการฯ ว่าใครคนใดได้เป็นต้องทำ city campus แห่งใหม่ให้ลุล่วง โดยท่านอธิการจะเปิดทำ TOR แล้วมีแผนคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณ 4 ปี เมื่อนั้น นิเทศไอซีที ก็สามารถกลับมาเต็มตัวได้ในแคมปัสแห่งใหม่

6. เหตุผลที่ไม่ผ่าน ขอบอกคร่าว ๆ คือ สกอ. ไม่นับตลิ่งชันเป็นอีกหนึ่งวิทยาเขต นอกจากนั้นยังชี้ว่าอัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษามีน้อยเกินไป บวกกับไม่มีตำแหน่งทางวิชาการและจบปริญญาเอก (ในส่วนวุฒิการศึกษาและตำแหน่งวิชาการเป็นเรื่องจริง แต่ประเด็นอาจารย์พิเศษนั้น ท่านคณบดีท่านเก่าได้วางระบบไว้เพื่อเน้นอาจารย์พิเศษ สายนิเทศจำเป็นต้องเรียนกับมืออาชีพโดยมีอาจารย์ประจำสนับสนุนทางวิชาการ ส่งผลให้เด็กได้รับความรู้จากทั้งสองด้าน) รวมไปถึงมาตรฐานการเรียนที่ยังไม่ถึงเกณฑ์ ยิ่งเทียบกับหลักสูตรแบบเดียวกันของมหาลัยอื่น (แต่บัณฑิตจบแล้วมีงานทำประมาณ 90% และได้เสียงตอบรับจากนายจ้างในระดับดี อันนี้ไม่รู้ว่าเชื่อเกณฑ์ที่วัดหรือความพึงพอใจจากนายจ้างที่ทำงานในสายวิชาชีพจริงดี)

silpakorn university
silpakorn university

http://issuu.com/ictsilpakorn/docs/20130402

http://www.isranews.org/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/item/20386-ict-silpakorn-1.html
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1364925371&grpid=01&catid=&subcatid=
http://men.postjung.com/668575.html
http://www.thairath.co.th/content/edu/336594
http://www.1009news.in.th/2013/04/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A/1270

 ———————————————

ศิษย์เก่าสาขานิเทศศาสตร์รายหนึ่ง
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มศก. ให้ข้อมูลกับ “สำนักข่าวอิศรา” ว่า เดิม หลักสูตรนิเทศศาสตร์ มีทั้งหมด 5 เอก ได้แก่ภาพยนตร์ วิทยุโทรทัศน์ โฆษณา วารสารศาสตร์ และลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งเดิมทุกเอก ทุกชั้นปี จะให้เรียนที่ตึก กสท.บางรัก แต่ล่าสุด ให้ยุบ 3 เอกแรก เหลือแค่เอกวารสารศาสตร์กับลูกค้าสัมพันธ์ และให้ย้ายไปเรียนที่วิทยาเขต จ.เพชรบุรี โดยให้เหตุผลว่า ตึก กสท.บางรักเล็กเกินไปในการจัดการเรียนการสอน ทั้งๆ ที่วาแตล (หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการโรงแรม) กับมัลติมีเดีย (หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาการออกแบบมัลติมีเดีย) ของวิทยาลัยนานาชาติ มศก. ก็เรียนที่ กสท.บางรักเช่นกัน
ที่มา http://www.isranews.org/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/item/20386-ict-silpakorn-1.html

————————————————————-

หลังจากเกิดกระแสดังกล่าวขึ้น”มติชนออนไลน์” ได้ติดต่อขอข้อมูลเบื้องต้น
จาก ผ.ศ.ชัยชาญ ซึ่งเป็นการ ถาม-ตอบ ใน 3 ประเด็น ดังนี้ 

@ คำสั่งดังกล่าว ถือว่า “มีผลสิ้นสุด” หรือไม่ หรือมีแนวทางดำเนินการต่อไปได้อีก 
 คำสั่งดังกล่าว “ถือเป็นการสิ้นสุด” ครับ ไม่สามารถขอทบทวนได้ ด้วยประการทั้งปวง
 เพราะว่าได้มีการตรวจเยี่ยมมาแล้วสองครั้ง ในแต่ละครั้งก็มีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามาตรวจ โดยในหนึ่งวันทำการ มีการสัมภาษณ์ผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษา และเข้าชมสถานที่ ตลอดจนตรวจเอกสารตามระเบียบปฏิบัติของเรื่องนี้
ส่วนรายละเอียดไม่ได้อยู่ในมือผมขณะนี้จึงไม่สามารถอธิบายได้แนะนำให้ สอบถามจากสกอ.ซึ่งจะได้รายละเอียดที่เป็นจริงมากกว่าในส่วนของผมไม่สามารถ พูดอะไรได้มากกว่านี้อย่างไรก็ตามเท่าที่อ่านจากเฟซบุ๊คนักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ ค่อยจะเห็นด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการจากสกอ.มากนัก
@ จากกรณีนี้ ส่งผลกระทบกับ เด็กนักเรียนที่เลือกคณะนี้ ในระบบรับตรงแล้ว ทางคณะหรือมหาวิทยาลัย จะดำเนินการอย่างไร 
 เท่าที่ทราบจากเฟซบุ๊คของหลายๆคนว่าทางมหาวิทยาลัยก็สอบถามไปแล้วเพื่อ หาทางเยียวยาแก้ไขในเรื่องนี้นะครับซึ่งก็เป็นขั้นตอนที่มหาวิทยาลัยจะต้อง รีบดำเนินการให้เร็วที่สุดภายหลังที่หาข้อมูลประกอบการพิจารณาทางเลือกและ แก้ไขและเมื่อได้ข้อสรุปที่ชัดเจนแล้วจากคณะวิชาและมหาวิทยาลัยเท่าที่ทราบ ปีนี้ก็มีเด็กโควตาน้อยกว่าปกติและส่วนใหญ่ก็วางแผนสมัครแอดมิชชั่นกลางอยู่ แล้ว
 @ มีผลกระทบต่อ นักศึกษารุ่นปัจจุบันที่กำลังศึกษาอยู่ที่ในบางรัก หรือไม่
 ไม่มีผลกระทบกับนักศึกษาปัจจุบันตั้งแต่ปีที่สองขึ้นไป จบแล้วก็ยังได้รับการรับรองว่าผ่านหลักสูตรที่ทั้ง สกอ.และ กพ. รับรองครับ

กสทช. ต้องตอบโจทย์สังคม

กสทช. ตอบโจทย์สังคม เรื่องทีวีสาธารณะในระบบดิจิทัล ได้ไหม
จาก กรุงเทพธุรกิจ 3 เมษายน 2556

วนิดา วินิจจะกูล
วนิดา วินิจจะกูล

มีกี่คนที่รู้และเข้าใจว่า… กสทช. มีประกาศ เรื่อง แผนการเปลี่ยนระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิทัล และ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ พ.ศ. 2555

ซึ่งทั้ง 2 ประกาศนี้ มีผลบังคับใช้แล้ว เพราะประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อปลายปีที่แล้ว

การที่ประชาชนไม่ติดตามกฎหมายก็คงไม่น่าแปลกใจ แต่สำหรับ 2 ประกาศนี้ และระเบียบอื่นๆ ที่สืบเนื่องกัน เป็นเรื่องที่ทุกคนปล่อยผ่านไปเฉยๆ ไม่ได้ เพราะจะส่งผลต่อสิทธิและผลประโยชน์ของประชาชน และลูกหลานของเราอย่างมากที่สุดเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว เพราะจะเป็นการจัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งเป็นทรัพยากรของคนทั้งประเทศ เป็นทีวีสาธารณะ ในระบบดิจิทัล จำนวน 12 ช่อง ไปให้กับผู้ประกอบการทีวีวิทยุ ทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ๆ ที่อยากจะเข้ามาแบ่งเค้กก้อนนี้ (ความจริงยังมีทีวีช่องธุรกิจอีกที่ยังต้องถกเถียงกันอีกเยอะ)

จากวงเสวนา “ปีแห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคทีวีดิจิทัล : กสทช.ควรทำอย่างไรให้บรรลุเจตนารมณ์การปฏิรูปสื่อ” และจากการประชุมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มนักวิชาการ หัวข้อ “การปฏิรูปสื่อในทีวีดิจิทัลสาธารณะ : รูปแบบที่ควรจะเป็น

มีหลายประเด็นที่ กสทช. ต้องออกมา “ตอบ
จะงุบงิบทำไป แบบค้านสายตาคนดู คงจะไม่ได้

เบื้องต้นขอให้ข้อมูลไว้ก่อนว่า กิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ ที่ กสทช. กำหนดจะให้ใบอนุญาตสำหรับกิจการบริการสาธารณะ มี 3 ประเภท

กิจการบริการสาธารณะประเภทที่ 1 ออกให้สำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการส่งเสริมความรู้ การศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การเกษตร และการส่งเสริมอาชีพอื่นๆ สุขภาพ อนามัย กีฬา หรือการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน

กิจการบริการสาธารณะประเภทที่ 2 ออกให้สำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยสาธารณะ

กิจการบริการสาธารณะประเภทที่ 3 ออกให้สำหรับกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกระจายข้อมูลข่าวสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลและประชาชนและรัฐสภากับประชาชน การกระจายข้อมูลข่าวสารเพื่อการส่งเสริมสนับสนุนในการเผยแพร่และให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข บริการข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์สาธารณะแก่คนพิการ คนด้อยโอกาส หรือกลุ่มความสนใจที่มีกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือบริการข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์สาธารณะอื่น

อ่านมาถึงบรรทัดนี้ ประชาชนอย่างเราๆ เกิดคำถาม ข้อสงสัย อะไร หรือไม่ ?

แต่ในวงเสวนา ฟันธง ตรงไปถึง กสทช. ว่าต้องตอบ อย่างน้อยในเรื่องต่อไปนี้

กสทช. จะนิยามคำว่า “กิจการบริการสาธารณะ” ว่าอย่างไร และเหมือนหรือต่างจาก “ทีวีสาธารณะ” อย่างไทยพีบีเอส อย่างไร ตลอดจนเรื่องรูปแบบรายการ สัดส่วนรายการ ผังรายการ กลไกการกำกับดูแล เป็นต้น ประเด็นเหล่านี้ส่งผลอย่างมากต่อเนื้อหาสาระ คุณภาพของรายการ และเป็นเงื่อนไขการหารายได้ของแต่ละช่อง

กิจการฯ ประเภทที่ 2 เขียนไว้ไม่เกิน 2 บรรทัด แต่ กสทช. กำหนดจะให้ใบอนุญาตถึง 2 ช่อง ซึ่งขณะนี้ กองทัพบก ช่อง 5 ประกาศตัวชัดเจนมาตั้งแต่ 2-3 เดือนที่แล้วว่า จะยื่นขออนุญาตเพื่อให้ช่อง 5 เป็นช่องเพื่อความมั่นคงของรัฐ เรียกว่า ประกาศไว้ ใครก็ห้ามแย่ง แล้วล่าสุด กสทช.ก็ให้สิทธินั้นไปแล้วโดยอัตโนมัติ

ส่วนอีกช่อง ที่บอกว่าเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ ก็คาดเดากันได้อย่างไม่น่าพลาดว่า โทรทัศน์ตำรวจ คงขอจอง

ข้อสังเกตที่คาใจมากที่สุดอีกเรื่อง คือ การที่ พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงฯ พ.ศ. 2551 มาตรา 9 และ 11 เปิดช่องให้หน่วยงานรัฐด้านความมั่นคงหารายได้จากการให้เช่าเวลาได้ไม่เกินร้อยละ 40 และการโฆษณาได้เท่าที่เพียงพอต่อการประกอบกิจการ ซึ่งสถานีวิทยุจุฬาฯ บอกว่าแค่ร้อยละ 20 เขาก็อยู่ได้สบายๆ แล้ว และถ้าสถานีจะดำเนินการเองเพียงร้อยละ 60 เช่นนี้ควรจะยังเรียกว่า “กิจการบริการสาธารณะ” อีกหรือ ?

นอกจากนี้ เรื่องที่ กสทช. ควรต้องตอบด้วยในเชิงของการปฏิรูปสื่อ คือ การจัดสรรคลื่นความถี่ทีวีสาธารณะครั้งนี้ จะทำให้เกิดการจัดสรรโครงสร้างความสัมพันธ์ของกลุ่มต่างๆ ในสังคมอย่างไร ให้ถ่วงดุลกันอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม ซึ่งเป็นหัวใจของการปฏิรูปสื่อที่เรียกร้องกันมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540

ม. เนชั่น และเหล่านักวิชาการทางสายนิเทศศาสตร์ ที่เข้าร่วมประชุมจากทั่วประเทศ
จึงทำข้อเสนอถึง กสทช. ขอให้ “ตอบโจทย์” สังคมในเรื่องเหล่านี้
ผลจะเป็นอย่างไร ต้องช่วยกันติดตาม !

http://bit.ly/10rHgYQ

http://blog.nation.ac.th/?p=2552

เกณฑ์คำนวณครูต่อนักเรียนในระดับประถมและมัธยม

teacher criteria
teacher criteria

การคำนวณอัตรากำลังข้าราชการครู
โรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษา

แบบ 1
โรงเรียนประถมศึกษาที่มีนักเรียน 120 คน ลงมา
และจัดการเรียนการสอน อ.1-ป.6 หรือ ป.1-ป.6

– นักเรียน 1 -20 คน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีครูผู้สอนได้ 1 คน
– นักเรียน 21 -40 คน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีครูผู้สอนได้ 2 คน
– นักเรียน 41 -60 คน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีครูผู้สอนได้ 3 คน
– นักเรียน 61 -80 คน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีครูผู้สอนได้ 4 คน
– นักเรียน 81 -100 คน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีครูผู้สอนได้ 5 คน
– นักเรียน 101 -120 คน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีครูผู้สอนได้ 6 คน

แบบ 2
โรงเรียนประถมศึกษาที่มีนักเรียน 121 คนขึ้นไป
และจัดการเรียนการสอน อ.1-ป.6 หรือ ป.1-ป.6

อัตราส่วน (อนุบาล) ครู : นักเรียน = 1 : 25
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 30 : 1
อัตราส่วน (ประถม) ครู : นักเรียน = 1 : 25
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 40 : 1

จำนวนบุคลากรสายบริหาร
– นักเรียน 121 – 359 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง
– นักเรียน 360 – 719 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 1 ตำแหน่ง
– นักเรียน 720 – 1,079 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 2 ตำแหน่ง
– นักเรียน 1,080 – 1,679 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 3 ตำแหน่ง
– นักเรียน 1,680 คนขึ้นไป มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 4 ตำแหน่ง

เงื่อนไข
– การคิดจำนวนห้องเรียน (โดยใช้จำนวนนักเรียน : ห้อง หารจำนวนนักเรียน) แต่ละชั้น
หากมีเศษตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ให้เพิ่มอีก 1 ห้อง
– การคิดจำนวนครูให้ปัดเศษตามหลักคณิตศาสตร์ (0.5ขึ้นไปปัดเป็น 1 , ไม่ถึง 0.5 ปัดทิ้ง)

แบบ 3
โรงเรียนประถมศึกษาที่มีนักเรียน 121 คนขึ้นไป
และจัดการเรียนการสอน อ.1-ม.3 หรือ ป.1-ม.3

อัตราส่วน (อนุบาล) ครู : นักเรียน = 1 : 25
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 30 : 1
อัตราส่วน (ประถม) ครู : นักเรียน = 1 : 25
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 40 : 1
อัตราส่วน (มัธยม) ครู : นักเรียน = 1 : 20
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 40 : 1

จำนวนบุคลากรสายบริหาร
– นักเรียน 121 – 359 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง
– นักเรียน 360 – 719 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 1 ตำแหน่ง
– นักเรียน 720 – 1,079 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 2 ตำแหน่ง
– นักเรียน 1,080 – 1,679 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 3 ตำแหน่ง
– นักเรียน 1,680 คนขึ้นไป มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 4 ตำแหน่ง

เงื่อนไข
– การคิดจำนวนห้องเรียน (โดยใช้จำนวนนักเรียน : ห้อง หารจำนวนนักเรียน) แต่ละชั้น
หากมีเศษตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ให้เพิ่มอีก 1 ห้อง
– การคิดจำนวนครูให้ปัดเศษตามหลักคณิตศาสตร์ (0.5ขึ้นไปปัดเป็น 1 , ไม่ถึง 0.5 ปัดทิ้ง)

แบบ 4 โรงเรียนมัธยมศึกษา

อัตราส่วน (มัธยม) ครู : นักเรียน = 1 : 20
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 40 : 1

จำนวนบุคลากรสายบริหาร
– นักเรียน 121 – 359 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง
– นักเรียน 360 – 719 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 1 ตำแหน่ง
– นักเรียน 720 – 1,079 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 2 ตำแหน่ง
– นักเรียน 1,080 – 1,679 คน มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 3 ตำแหน่ง
– นักเรียน 1,680 คนขึ้นไป มีผู้บริหารได้ 1 ตำแหน่ง มีผู้ช่วยได้ 4 ตำแหน่ง

เงื่อนไข
– การคิดจำนวนห้องเรียน (โดยใช้จำนวนนักเรียน : ห้อง หารจำนวนนักเรียน) แต่ละชั้น
หากมีเศษตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ให้เพิ่มอีก 1 ห้อง
– การคิดจำนวนครูให้ปัดเศษตามหลักคณิตศาสตร์ (0.5ขึ้นไปปัดเป็น 1 , ไม่ถึง 0.5 ปัดทิ้ง)

แบบ 5 การคำนวณอัตรากำลังข้าราชการครูโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
อัตราส่วน ครู : นักเรียน = 1 : 12
จำนวนนักเรียน : ห้อง = 35 : 1

จำนวนครูรวม = (35 x จำนวนห้องเรียน) / 12

จำนวนครูปฏิบัติการสอน = จำนวนครูรวม – จำนวนบุคลากรสายบริหาร

จำนวนบุคลากรสายบริหาร
1 – 2 ห้องเรียน มีผู้บริหารได้ 1 คน
3 – 6 ห้องเรียน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีผู้ช่วยผู้บริหารได้ 1 คน
7 – 14 ห้องเรียน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีผู้ช่วยผู้บริหารได้ 2 คน
15 – 23 ห้องเรียน มีผู้บริหารได้ 1 คน มีผู้ช่วยผู้บริหารได้ 3 คน
24 ห้องเรียนขึ้นไป มีผู้บริหารได้ 1 คน มีผู้ช่วยผู้บริหารได้ 4 คน

หมายเหตุ ในการคำนวณตามสูตรหากมีเศษตั้งแต่ 0.1 ขึ้นไปให้ปัดเป็น 1
! http://www.saraeor.org/Job%20school3/km.kumlungkroo.htm
http://www.kroobannok.com/14836