Education News

ข่าวการศึกษา เน้นเกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ

การสร้างแบบฝึกหัดแบบเฉลยทันที

มีผู้ปกครองแชร์คลิปวิดีโอแบบทดสอบ หรือข้อสอบสำหรับเด็ก
เรื่อง “59002 อ่านว่าอะไร” พบว่า แบบสอบตามคลิปใช้บริการ Google form แบบ quiz ที่เฉลยทันที ซึ่งเป็นแนวคิดการสร้างแบบฝึกหัดให้นักเรียนได้ฝึกทำหลายครั้งได้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง พบว่า ตัวแบบสอบ หรือข้อสอบถูกสร้างด้วยการแปะภาพที่ตัดมาจากกระดาษข้อสอบจริง และมีตัวเลือกแบบ multiple choice จำนวน 4 ตัวเลือก คือ ก ข ค ง

https://forms.gle/Va9nrL1g8AjtHFeT8

จึงเขียนขั้นตอนเพื่อสร้างแบบสอบ internet01 แล้ว Send link เป็น Shorten URL ที่ https://forms.gle/Va9nrL1g8AjtHFeT8 โดยขอเล่าถึงขั้นตอนการสร้างแบบสอบชุดนี้ ว่ามีขั้นตอน ดังนี้ 1) สร้าง google form แล้วพิมพ์ชื่อแบบสอบเข้าไปที่ untitled form 2) Add section เพื่อให้ Section แรก เพื่อให้เป็นส่วนรับชื่อสกุล กรณีต้องการบันทึกไว้ในระบบ และส่วนที่สองเป็นข้อสอบที่มีการสุ่มทั้งตัวเลือก และคำถาม 3) ใน Section ที่สอง เพิ่มข้อสอบแบบ Multiple choice กรอกคำถาม และตัวเลือกให้ครบ สำหรับข้อแรก 4) คลิ๊ก Settings ของแบบสอบ เลือก enabled ให้กับ Make this a quiz และเลือก Immediately after each submission โดยหัวข้อ RESPONDENT SETTINGS เลือกเปิดการเฉลยซึ่งมี 3 ตัวเลือก คือ Missed questions , Correct answers , Point values 5) เลือก Suffle question order เพื่อเตรียมสภาพแวดล้อมเป็นแบบสอบ 6) กลับไปที่คำถามแรก เลือกคลิ๊ก 3 จุด แล้วเลือก Suffle option order 7) ในคำถาม กำหนดข้อที่ถูก และกำหนดคะแนน (point) ที่จะได้ถ้าถูก ผมใส่ไป 1 คะแนนทุกข้อ 8) ในหัวข้อ title form ได้ระบุคำชี้แจงก่อนลงมือทำแบบสอบ ดังนี้ 1. ตรวจคำตอบ และเฉลยหลังส่งแบบสอบ 2. สามารถทำซ้ำได้ 3. แบบสอบชุดนี้เป็นเพียงแบบฝึกหัด 4. ไม่มีการระบุตัวผู้ทำแบบสอบ 9) แบบสอบนี้ ออกแบบให้สามารถทำแบบสอบ ตอบคำถามได้ทันที โดยไม่ต้องยืนยันตัวตนด้วยอีเมล และตรวจคำตอบพร้อมเฉลยหลังส่งแบบสอบ แม้ใช้ chrome ในโหมดระบุตัวตน ก็สามารถทำแบบสอบได้ ตัวอย่างคำถาม internet01 เช่น 1. แฟ้มประเภทอีบุ๊คมีนามสกุลแบบใด 2. ข้อใดคือชื่ออีเมล 3. ภาษาใดทำงานฝั่ง Client 4. ข้อใดคือชื่อโดเมน

#เล่าสู่กันฟัง 63-010 ออกหานักเรียนไปเรียนเป็นทันตแพทย์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาล วิทยาการคอมพิวเตอร์

ปัจจุบัน โรงเรียนต่าง ๆ จะจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้สถาบันการศึกษาเข้าไปจัดบูทแนะแนวการศึกษา ว่าแต่ละอาชีพ แต่ละสถาบัน มีหลักสูตรอะไรที่น่าสนใจ นักเรียนก็ใช้ข้อมูลที่ได้มาจากบูทแนะแนว เอกสารประชาสัมพันธ์ และการซักถามจากวิทยากรที่ให้ความรู้ #tcas

การเลือกทางเดินชีวิตด้วยข้อมูลด้วยตนเอง

ย่อมดีกว่าคนอื่นเลือกให้ และไม่มีข้อมูล

พบว่า ม.เนชั่นร่วมกิจกรรม Career Shopping Day 2019 ณ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ 8 ม.ค.63 มีการจัดบูทนิทรรศการแนะแนวการศึกษาต่อ ให้ความรู้อาชีพทันตแพทย์ ในฐาน Career Expo เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้รู้จักอาชีพนำไปเป็นแนวทางการศึกษาต่อ และชวนไปเรียนเป็นหมอฟัน หมอแล็บ พยาบาล ที่ม.เนชั่น โดย งานประชาสัมพันธ์ รับสมัคร วิเทศ และศิษย์เก่าสัมพันธ์

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2616190341791368&id=228245437252549

#เล่าสู่กันฟัง 63-002 กฎการเรียน ข้อ 1

ปัจจุบันสำหรับนักเรียนแล้ว จะมีข้อมูล สารสนเทศ กฎ กติกา ระบบ ระเบียบ เงื่อนไข โอกาส ภัยคุกคาม สิ่งล่อ สิ่งเร้า ทั้งจากในตนเอง ในกลุ่มเพื่อน ในครอบครัว ในหมู่บ้าน ในโรงเรียน ในประเทศ หรือในโลก วิ่งเข้ามาหา มาชนตลอดเวลา แบบที่เรียกว่า Too fast to think แล้ว

ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ เคยโพสต์ไว้ใน AJWiriya
ทำให้ฉุกคิดได้ว่า น่านำมาตั้งเป็นกฎได้ 2 ข้อ ดังนี้

กฎข้อ 1
เรียนเพื่อทำงานได้
ไม่ใช่เรียนเพื่อของานใครทำ
เรียนเพื่อปัญญา
ไม่ใช่เรียนเพื่อปริญญา

กฎข้อ 2
ถ้ามีกฎใดชวนคิดต่าง
ก็อย่าเสียเวลาให้มากนัก
ให้กลับไปมอง กฎข้อ 1

สรุปว่า #เรียนเพื่อทำงานได้
เป็นคาถาที่อยากฝากไว้เป็น #แรงบันดาลใจ
ฝั่งอยู่ในใจ และคิดถึงบ่อย ๆ
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10157186345671171&id=284423006170

ชวนดูหนังเรื่อง
#สยบฟ้าพิชิตปฐพี (ever night)
ที่เข้ากับคำว่า #เรียนไว้ใช้ ได้ดีจริง ๆ
http://thaiall.com/handbill/

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

มหาวิทยาลัยหัวเฉียว
มหาวิทยาลัยหัวเฉียว
map_hcunew
hcu1
hcu2

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เดิมชื่อ วิทยาลัยหัวเฉียว
เติมโตจากโรงเรียนผดุงครรภ์อนามัย ก่อตั้งโดยมูลนิธิป่อเต็มตึ๊ง
โดยมีภารกิจในการบำเพ็ญทาน การสร้างสถานพยาบาลและบรรเทาสาธารณภัย
เพื่อมวลชน และทำงานด้านการศึกษา ได้เปิดสอนหลักสูตรพยาบาล
ในระดับปริญญาตรีเป็นหลักสูตรแรก แล้วเปลี่ยนประเภทเป็นมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในปัจจุบัน

http://www.hcu.ac.th/

ในปี พ.ศ. 2533 มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ครบรอบ 80 ปี
ได้ระดมทุนจากชาวไทยเชื่อสายจีน
ดำเนินการก่อสร้างมหาวิทยาลัย จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2535
และได้รับการอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัย
และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ”
ทั้งยังได้เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดมหาวิทยาลัย
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2537 โดยจัดว่า มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งเดียวในประเทศไทย
ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
เป็นประธานเปิดมหาวิทยาลัย

https://image.dek-d.com/contentimg/2012/mint/Admission/April2012/map_hcunew.gif
https://sites.google.com/site/moommai947199/contact-me

สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายของผู้สอบผ่านข้อเขียน โควตา มช.

แผนที่อาคารเรียนรวม
แผนที่อาคารเรียนรวม
แผนที่อาคารเรียนรวม
แผนที่อาคารเรียนรวม

ในวันเสาร์ที่ 28 มกราคม 2560 เวลา 8.30 – 10.30น.
นักเรียนในเขตพัฒนาภาคเหนือฯ
จะมีการสอบสัมภาษณ์ ในหลายอาคาร ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อาทิ ณ อาคารเรียนรวมหลังที่ 5
สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ก็มีหลายหลักสูตร หลายสถาบัน ที่ผ่านเข้าถึงรอบ
สัมภาษณ์ผู้สอบผ่านข้อเขียนการสอบคัดเลือกนักเรียนในเขตพัฒนาภาคเหนือฯ
หรือที่เรียกว่าโควตามหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประกาศห้องสอบสัมภาษณ์มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน
ประกาศห้องสอบสัมภาษณ์มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน

ประกาศห้องสอบสัมภาษณ์มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน
วันที่ 28 มกราคม 2560 เวลา 8.30 – 12.00 น.
1. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อาคาร RB5 ห้อง 5101
2. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ อาคาร RB5 ห้อง 5103 และ 5104
3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น อาคาร RB5 ห้อง 5201 และ 5205
4. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ อาคาร RB5 ห้อง 5202 และ 5203
5. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย อาคาร RB5 ห้อง 5301 และ 5305
6. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ อาคาร RB5 ห้อง 5302, 5303 และ 5304
7. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ อาคาร RB5 ห้อง 5401
8. มหาวิทยาลัยศรีปทุม อาคาร RB5 ห้อง 5402 และ 5403

กำหนดการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กำหนดการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กำหนดการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กำหนดการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

7 ข้อคิดสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัย ว่า เตรียมตัวตกงาน ชอบครับ จึงสรุปใหม่เพื่อนำไปแชร์ต่อ

ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์

อ.อดิศักดิ์ แชร์บทความมาในกลุ่มบุคลากร
เรื่อง “7 ข้อคิดสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ต้องเตรียมตัว-เตรียมใจตกงาน
ใน manager online 2 มกราคม 2560
ผมตามบทความของ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ ที่เพื่อน ๆ แชร์มาให้อ่านเสมอ
ครั้งนี้ท่านเล่าว่ามีเพื่อนอาจารย์ “ลาออก”
แล้วฝากคำแนะนำไว้ 7 ข้อสำหรับ “อาจารย์รุ่นน้อง” ที่อายุน้อยกว่า 40 ปี

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9600000000252https://www.facebook.com/Life101.Co.Ltd/photos/a.163584947075166.25005.163576530409341/986938344739818/

เมื่อผมได้อ่านที่ ดร.อานนท์ เขียนแล้ว
.. ก็สรุปเป็นคำพูดที่จะนำไปพูดคุยกับนักศึกษาต่อไป
หากต้องการรายละเอียดฉบับเต็ม คลิ๊กลิงค์ของ manager ด้านบนได้ครับ

1. ลดอัตตา
อย่าคิดว่าเราเป็นที่สุด ในความจริง ไม่มีใครเหนือใคร
ความรู้ของคนเราเป็นแบบ intersection
คนไม่จบ ดร. ไม่มีตำแหน่ง ผศ. ที่เก่งทั้งทฤษฎี และปฏิบัติก็เยอะ
ควรผูกมิตร และยกย่องเขา ปรับตัวเรา และ make friend และ adapt

2. เปลี่ยนจากศูนย์กลางแห่งความรู้เป็นศูนย์กระจายความรู้
ต้องเปลี่ยนจาก Knowledge Guru เป็น Knowledge Facilitator
หาของใหม่จากภายนอก มาสอนนิสิตนักศึกษา และแชร์ความรู้บ่อย ๆ
พาลูกศิษย์ และตัวเองไปเจอเวทีหรือคนข้างนอกบ้าง
สมัยนี้เวที หรือ idol หรือ group หรือ conference หรือสื่อสังคม มีเยอะ

3. อย่าขาดการติดต่อกับโลกภายนอกมหาวิทยาลัย
มีอะไรอยู่ภายนอกมากมาย โลกพัฒนาไปเร็ว
เราติดตาม ปรับตัว และเปลี่ยนแปลงเท่าทันการเพิ่มขึ้นของความรู้หรือไม่
ได้พยายามรับรู้ และมีส่วนบ้างรึเปล่า
ที่สำคัญอย่าทำตัวเป็นผู้ตามความรู้อย่างเดียว
ถ้าให้ดีต้องเขียนความรู้ เป็น primary มากกว่า secondary อย่างเดียว

4. หมั่นเช็ค Rating ของตัวเอง
สังคมนอกมหาวิทยาลัยยอมรับเราไหม เรารับงานข้างนอกบ้างไหม
ตัวเราสะท้อนถึงลูกศิษย์ ก็เหมือน แม่ปูกับลูกปู
ถ้าเราเองยังไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม แล้วลูกปูจะเดินตรงได้อย่างไร

5. อย่าเจ้ายศเจ้าอย่าง
หัวข้อนี้น่าจะเตือนเรื่องความรู้สึกเหนือคนอื่น และการเอาใจเขามาใส่ใจเรา
ความไม่มีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงาน ไม่แบ่งปันรายได้ที่ได้รับจากสังคม
แต่ไปเบียดบังเพื่อนร่วมงานที่ไม่มีรายได้เหมือนตน
ถ้ามีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงาน แบ่งปัน ความเจ้ายศเจ้าอย่างก็จะลดลง

6. ทำกิจกรรมเพื่อสังคม
ออกบริการสังคมโดยใช้องค์ความรู้ ดังคำว่า “การให้มีความสุขมากกว่าการรับ”
หรือการทำ CSR นั่นเอง ถ้าทำ 5 ข้อแรกได้ ข้อนี้ก็น่าจะหมุนไปเอง
หากเป็นอาจารย์ก็นำงานวิจัยไปช่วยเหลือสังคม

7. ให้ทุนนิสิต
หากทำ 6 ข้อได้ ก็จะมีโอกาสทำข้อ 7 คือ การแสวงหาแหล่งทุน
มาสนับสนุนนิสิต นักศึกษา หรือเพื่อนอาจารย์ และหมุนวนไปทำ 6 ข้อแรกต่อไป

ปี 2559 ให้ทุนผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 3395 ราย มาลุ่นกันว่า ปี 2560 จะได้กี่ราย

คุณครูที่ปรากฎในสื่อ
คุณครูที่ปรากฎในสื่อ

พบข่าวพัฒนาครูท้องถิ่น เป็นโอกาสสำหรับ
นักเรียน นักศึกษา ที่สนใจอยากรับราชการครู ในปีการศึกษา 2560

ตามที่แฟนสาวของผมแนะนำมาว่าให้อ่านเรื่องนี้
อ่านที่ “ครูอัพเดตดอทคอม” แล้ว รู้สึกว่าน่าสนใจดังว่าจริง
http://www.krooupdate.com/news/newid-2450.html

มีเนื้อหาประมาณว่า

เมื่อจันทร์ที่ 9 ม.ค.2560 ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
มอบให้ สพฐ. เป็นผู้รับผิดชอบโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
เพราะ สพฐ. เป็นผู้ใช้ครู จะได้จัดครูได้ตรงกับความต้องการของโรงเรียนในแต่ละพื้นที่
มีระยะเวลา 2559 – 2572 งบทั้งหมดประมาณ 3800 ล้านบาท สำหรับผลิตครู 9264 คน
– ปี 2559 เป็นรุ่นแรก ที่รับผิดชอบหลักโดย สกอ.
– ปี 2560 เป็นรุ่นที่ 2 เปลี่ยนผู้รับผิดชอบหลักเป็น สพฐ.
โครงการเปิดรับนักเรียน นักศึกษาที่เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 และรับประกันการมีงานทำ
มีรายละเอียดใน เดลินิวส์ เรื่องการต่อโครงการโดย สพฐ.
http://www.dailynews.co.th/education/547720

โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 2559
โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 2559

อ้างถึง ข้อมูลโครงการนี้ เมื่อปีพ.ศ.2559
พบ ประกาศ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง รายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ปี พ.ศ.2559
มีผู้ผ่านการคัดเลือก 3,395 ราย
พบว่า โครงการนี้ให้โอกาสรวมถึงนิสิตนักศึกษาครูหลักสูตรระดับปริญญาตรี 5 ปี
ที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 5
แต่หากผลการเรียนสะสมที่กำหนดในเกณฑ์ ต่ำกว่า 3.00
ก็จะถูกตัดสิทธิ์การได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการครู
http://www.niets.or.th/protbyohec/file/announceprocbyohec.pdf
หรือ
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/751047131712774/

โครงการในปี พ.ศ.2559 พบรายละเอียดในประกาศข้างต้น
ว่ากำหนดวันรายงานตัว 16 ตุลาคม 2559
มีสาขาวิชาที่เข้าร่วมโครงการเกือบทุกสาขา
ดังนั้นนักเรียน นักศึกษาที่สนใจเป็นครู คงต้องรอติดตามข่าวสาร
และโอกาสที่จะมีมาสำหรับปีการศึกษา 2560 ต่อไป

ประกาศของ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข รับนักเรียนเข้าหลักสูตรพยาบาล สถาบันพระบรมราชนก ปี 2560 เข้าวิทยาลัย 39 แห่งในเครือข่าย

ประกาศของ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
รับนักเรียนเข้าหลักสูตรพยาบาล สถาบันพระบรมราชนก ปี 2560
เข้าวิทยาลัย 39 แห่งในเครือข่าย

nurse pi admission
nurse pi admission

เคยเห็นข้อมูลการสมัครโควตา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เพื่อเข้าศึกษาในปีการศึกษา 2560
นักเรียนในเขตภาคเหนือเลือกพยาบาลจำนวน (2324 + 979) 3303 คน
แต่รับเพียง 125 คน ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีผู้สมัครจำนวนมากที่สุด
แสดงว่านักเรียนสนใจเรียนพยาบาลกันมาก
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/2318/

nurse announcement
nurse announcement

แล้วปีการศึกษา 2560 นี้ สถาบันพระบรมราชนก
(Praboromarajchanok Institute for Health Workforce Development)
รับนักเรียนเข้าศึกษาในหลักสูตรต่าง ๆ
มีรายละเอียดตามประกาศของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
เรื่อง การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรต่าง ๆ ของสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

โดยมีปริญญาตรี 5 หลักสูตร
1. พยาบาลศาสตรบัณฑิต
2. ประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ (เทียบเท่าปริญญาตรี) หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2557
3. สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน หรือ
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
4. สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข
5. การแพทย์แผนไทยบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย หรือสาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์

สถานศึกษาในสังกัด คือ วิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก จำนวน 39 แห่ง แบ่งเป็นกลุ่มบุคคลทั่วไป และกลุ่มพัฒนาบุคลากร

เกณฑ์ที่สำคัญ
1. ไม่ต่ำกว่า 150 เซนติเมตร
2. เกรดเฉลี่ยสะสม GPAX ไม่น้อยกว่า 2.50
3. เกรดเฉลี่ยสะสมกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ไม่น้อยกว่า 2.50
4. เกรดเฉลี่ยสะสมกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ไม่น้อยกว่า 2.50
5. ผลการทดสอบความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test: GAT รหัสวิชา 85)
ไม่น้อยกว่า 100 คะแนน
6. ผลการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการด้านวิทยาศาสตร์
(Professional and Academic Aptitude Test : PAT2 รหัส 72) ไม่น้อยกว่า 70 คะแนน

โดยองค์ปรกอบการคัดเลือก
1. ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPAX) 20%
2. ผลการทดสอบ ความถนัดทั่วไป (GAT รหัสวิชา 85) 30%
3. ผลการทดสอบ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ (PAT2 รหัส 72) 40%
4. สัมภาษณ์ (ตามแนบท้ายประกาศ) 10%
ผู้สมัครตรวจสอบ และยืนยันคะแนนระหว่าง 28 – 30 มกราคม 2560
สัมภาษณ์ที่วิทยาลัยแต่ละแห่งในวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2560
ประกาศรายชื่อผู้ที่มีสิทธิเข้าศึกษาวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560
ชำระเงินค่าบำรุงการศึกษา วันอังคารที่ 21 – 23 กุมภาพันธ์ 2560
ประกาศรายชื่อนักศึกษาใหม่วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560
หากไม่ครบตามจำนวน จะเรียกสำรองเข้าสัมภาษณ์เพิ่มเติมต่อไป
http://admission.pi.in.th/admission/
https://admission.pi.in.th/admission/document/2560-LocalSelection-AnnounceEdit.pdf

Timeline รับบุคคลเข้าศึกษาในอุดมศึกษา พ.ศ.2561 จำนวน 5 รอบ

ตามที่ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประชุมร่วมกับที่ประอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)
ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.)
และที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปอ.มทร.)
เกี่ยวกับการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยระบบใหม่ วันที่ 15 ธันวาคม 2559
ณ สำนักงานคณะกรรมการการการอุดมศึกษา

วัตถุประสงค์
1. เพื่อแก้ปัญหาให้นักเรียนต้องอยู่ในห้องเรียนจนครบหลักสูตรมัธยมปลาย
2. เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง นักเรียนไม่ต้องวิ่งรอกสอบหลายที่สามารถเลือกสาขาที่ต้องการเรียน มีความถนัด
3. เพื่อยังคงเปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถเลือกนักเรียนได้ตามความต้องการ

http://www.moe.go.th

timeline admission 2561
timeline admission 2561

แล้วพบว่า ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
ได้ออกแถลงข่าวเรื่อง การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2561
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2559

Timeline รับบุคคลเข้าศึกษาในอุดมศึกษา พ.ศ.2561 จำนวน 5 รอบ
Timeline รับบุคคลเข้าศึกษาในอุดมศึกษา พ.ศ.2561 จำนวน 5 รอบ

พบว่ารับนักเรียนเข้าศึกษาในระบบมีทั้งหมด 5 รอบ ดังนี้

รอบที่ 1 ใช้แฟ้มสะสมงาน
การรับนักเรียนโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน(Portfolio)
ไม่มีการสอบคัดเลือก เช่น การรับนักเรียนดี/ช้างเผือก
นักเรียนที่มีความสามารถด้านกีฬา ดนตรีศิลปวัฒนธรรม
โอลิมปิกวิชาการ นักเรียนกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์
หรือ เด็กดีมีคุณธรรม เป็นต้น
คัดเลือกโดยพิจารณาจากการสอบสัมภาษณ์และแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
โดยนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกและยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาแล้ว
มหาวิทยาลัยจะส่งรายชื่อให้ ทปอ. ทำการตัดสิทธิ์
การเข้าศึกษาในระบบอื่น ๆ ผ่านเคลียริ่งเฮาส์

รอบที่ 2 ใช้คะแนน ช่วง มี.ค.2561 – เม.ย.2561

ระบบโควตา หรือรับตรงโดยใช้คะแนน ที่มหาวิทยาลัยสามารถดำเนินการได้เอง

รูปแบบที่ 1 โควตา
เช่น
โควตาพื้นที่ของมหาวิทยาลัยตามภูมิภาค
โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD)
โครงการผลิตแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน(ODOD) เป็นต้น
คัดเลือกโดยข้อสอบที่มหาวิทยาลัยจัดสอบ

รูปแบบที่ 2 สอบตรงที่มหาวิทยาลัยจัดสอบ
เช่น การสอบตรงของคณะ/สาขาต่าง ๆ

รูปแบบที่ 3 รับตรงโดยใช้คะแนนที่จัดสอบโดย สทศ.
โดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน)
(O-NET , GAT/PAT , 9 วิชาสามัญ)
เช่น โครงการรับตรงของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ

ทั้งนี้ การจัดสอบโดยสทศ. หรือ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน)
เช่น O-NET ,GAT/PAT , 9 วิชาสามัญ และการจัดสอบโดยมหาวิทยาลัย
เช่น ข้อสอบโควตา ข้อสอบตรงของคณะ/สาขาต่าง ๆ
จะต้องอยู่ภายในช่วงเวลาเดียวกัน
คือ ช่วงเดือนมีนาคม 2561 – เมษายน 2561

โดยนักเรียนเลือกสมัครได้ทุกมหาวิทยาลัยที่เปิดดำเนินการคัดเลือกเอง
นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกและต้องการเข้าศึกษา
ต้องทำการยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาเพียง 1 ที่ ผ่านเคลียริ่งเฮาส์
และจะถูกตัดสิทธิ์จากการคัดเลือกในระบบเคลียริ่งเฮาส์
รอบที่ 1 และ รอบที่ 2

รอบที่ 3 ระบบเคลียริ่งเฮาส์ รอบที่ 1 (ระบบรับตรงร่วมกัน)

คัดเลือกโดยใช้ ผลคะแนนที่จัดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน)
(GAT/PAT และ/หรือ วิชาสามัญ 9 วิชา)
ผลคะแนน O-NET และผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร(GPAX)

โดยนักเรียนเลือกสมัครได้ 4 อันดับ คณะ/สาขาและมหาวิทยาลัย
ผ่านการคัดเลือกได้มากที่สุด 4 อันดับ คณะ/สาขาและมหาวิทยาลัย

นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกและต้องการเข้าศึกษา
ต้องทำการยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาเพียง 1 ที่ ผ่านเคลียริ่งเฮาส์
เมื่อนักเรียนที่ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาผ่าน ระบบเคลียริ่งเฮาส์ รอบที่ 1 แล้ว
จะถูกตัดสิทธิ์จากการคัดเลือกใน ระบบเคลียริ่งเฮาส์ รอบที่ 2

รอบที่ 4 ระบบเคลียริ่งเฮาส์ รอบที่ 2 (ระบบคัดเลือกกลาง)

คัดเลือกโดย ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร(GPAX)
ผลคะแนน O-NET และ ผลคะแนน GAT/PAT
ที่จัดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน)
โดยยังคงสัดส่วนและกระบวนการคัดเลือกเหมือนระบบแอดมิชชันเดิม
นักเรียนเลือกสมัครได้ 4 อันดับ คณะ/สาขาและมหาวิทยาลัย
ผ่านการคัดเลือกได้เพียง 1 อันดับ คณะ/สาขาและมหาวิทยาลัย

รอบที่ 5 รับตรงอิสระ

ทั้งนี้ภายหลังการรับนักศึกษาในระบบเคลียริ่งเฮาส์แล้วเสร็จ
หากมหาวิทยาลัยยังไม่สามารถรับนักเรียนได้ตามจำนวนที่ต้องการ
มหาวิทยาลัยต่าง ๆ สามารถดำเนินการได้เอง
รวมทั้ง มหาวิทยาลัย คณะ/สาขา ต่าง ๆ
สามารถเปิดสอบวิชาเฉพาะได้เองอีกด้วย

รับบุคคลเข้าศึกษาในอุดมศึกษา พ.ศ.2561 จำนวน 5 รอบ
รับบุคคลเข้าศึกษาในอุดมศึกษา พ.ศ.2561 จำนวน 5 รอบ

http://p-dome.com/new-admissions-61/
http://www.komchadluek.com/news/edu-health/247329

ตีแสกหน้าอาจารย์คอม กับความเสี่ยงของโปรแกรมเมอร์

ในความเห็นของผม

ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สะท้อนภาพความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย และอาจารย์ และหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อสร้างความตระหนัก และจัดทำแผนการจัดการความเสี่ยง เพื่อลดโอกาสที่ความเสี่ยงเหล่านั้นจะเกิดขึ้น เห็นการสะท้อนแรง ๆ ที่ของใช้คำว่า ตีแสกหน้า เพราะหวังจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นโดยเร็ว

ซึ่งเรื่องนี้หัวหน้าแชร์มา แล้วผมก็นำไปเล่าต่อ แล้วก็ repost ส่วนของ quote และ บทความ อีกหลายที่ครับ เพราะเป็นสิ่งที่ควรตะหนักกัน

เคยอ่านบทความ 2 เรื่อง เขียนโดย ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ท่านเขียนบทความลง manager online มีความสนใจในหลายเรื่อง โดยเฉพาะความเสี่ยง (Risk Management) และความเสี่ยงที่ใกล้ตัว คือ สถาบันการศึกษา และ อาชีพอาจารย์

ใครที่สนใจเรื่องความเสี่ยง คาดไว้ก่อนว่าต้องทำงานประกันคุณภาพ เคยเป็นตัวบ่งชี้หนึ่งในเรื่องการบริหารจัดการ แต่นั่นก็ไม่ใช่ประเด็นที่ทำให้ ดร.อานนท์ มาอยู่ในเว็บเพจหน้านี้ บทความ 2 เรื่องที่ท่านเขียน กระแทกเข้ามาที่อาชีพ โปรแกรมเมอร์ และวิทยากรคอมพิวเตอร์ สำหรับผมแล้ว จิ้งจกทักยังต้องเหลียวไปมอง ดังนั้นสิ่งที่ท่านกระแทกมา นักเรียน นักศึกษา หรือผู้สนใจด้าน Developer จะวางเฉยได้ไง ถ้า ดร.อานนท์ กระแทกเข้ามาซึ่งหน้าแบบนี้แล้ว แล้วอาจารย์หรือนักศึกษาที่เกี่ยวข้องยังวางเฉยได้ ก็อ่ะนะ เรียก สงบ สยบ เคลื่อนไหว ก็แล้วกัน แล้วบทความของท่านเขียนมายาว ผมคัดลอกฉบับเต็มให้นักศึกษาผมได้อ่านที่ /webmaster/responsive

จากบทความเมื่อ 25 พฤษภาคม 2559
ที่ท่านเขียนถึงมหาวิทยาลัย

ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเปิดสอนกันแทบทุกสถาบันในประเทศไทย แต่บริษัทเอกชนกลับหาคนมาทำงานด้าน Computer ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและต้องการคนเก่งคนมีความรู้ความสามารถอีกมากได้ยากมาก บัณฑิตด้าน computer sciences จำนวนมากจากหลายสถาบันไม่สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้จริงได้เลย หรือในอีกด้านเราผลิตคนที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดและมีคุณภาพไม่เพียงพอ
http://www.manager.co.th

จากบทความเมื่อ 28 ธันวาคม 2559
ที่ท่านเขียนถึงอาจารย์ในมหาวิทยาลัย

ทุกวันนี้ประเทศไทยขาดแคลนโปรแกรมเมอร์อย่างรุนแรง มีคนสมัครมาก แต่คุณภาพนั้นมีปัญหา ทำงานไม่ได้จริง ไม่ตรงตามสิ่งที่ภาคเอกชนและภาคธุรกิจใช้กันในปัจจุบัน ประกอบกับนักศึกษาก็ไม่อยากเรียนอะไรที่ยาก ชอบเรียนอะไรง่ายๆ สบายๆ ซึ่งเป็นการทำลายตนเองในระยะยาวอยู่ดี น่าเห็นใจอาจารย์ที่เทคโนโลยีเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วมาก โลกของดิจิทัลและวิทยาการข้อมูลกำลังรุกล้ำเข้ามาอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจที่ใช้ความรู้และนวัตกรรมเป็นฐานทำให้อาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากตกยุค อาจารย์มหาวิทยาลัยคงไม่สามารถสอนเรื่องเดิมๆ ที่ตนเองเคยเรียนมาเมื่อ 20-30 ปีก่อนได้อีกต่อไป
http://www.manager.co.th